มีนักปราชญ์เขมร ทั้งที่เป็นพระสงฆ์, กวี, อาจารย์ หลายคน เขียนถึงปราสาทนครวัด เอาไว้

เราอ่านความคิดคนอื่นโดยเฉพาะฝรั่งเศสมาตลอด แต่ไม่เคยอ่านความคิดของคนเขมรจากภาษาเขมรเลย

ทางศูนย์ข้อมูลมติชน ได้คัดบางส่วนจาก “หนังสือมัคคุเทศก์พระนคร” เขียนโดยปาง ขัต ครูสอนภาษาสันกฤตที่โรงเรียนบาลีชั้นสูง และแปลโดย ศานติ ภักดีคำ  ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือนครวัด ทัศนะเขมร รวมบทรจนาเกี่ยวกับปราสาทนครวัด โดยกวีและนักปราชญ์เขมร สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ สนพ.มติชน จัดพิมพ์เมื่อ กันยายน 2545 ดังนี้

นครวัดเป็นปราสาทงามที่สุดหลังหนึ่งในบรรดาปราสาททั้งหลายในเมืองพระนคร ก่อสร้างในสมัยที่วิทยาศาสตร์กำลังเจริญบริบูรณ์ เพราะมีทรวดทรงงดงามและแผนผังสมส่วนคล้ายกับผุดขึ้น เมื่อเข้าไปใกล้ อาจนำไปเทียบกับวิศวกรรมในประเทศตะวันตกได้

ปราสาทนี้มีขนาดรูปร่างทรวดทรงงามเลิศ เหมือนอยู่ในราชวงศ์ (ของพระเจ้า หลุยส์ที่ 14 ของประเทศฝรั่งเศส ในราชวงศ์เขมรมีการเล่นสวนปลูกดอกไม้ ปลูกหญ้า สระ สัณฐานงามเมื่อดูจากไกลๆ และมีทางใหญ่กว้าง

พระบาทสูรยวรมันที่ 2 ทรงก่อสร้างปราสาทนครวัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1693) เพื่ออุทิศถวายพระวิษณุเมื่อเสด็จทิวงคตไป มีการถวายพระนามพระองค์ว่าพระบรมวิษณุโลก

คนโดยมากเข้าใจว่า ปราสาทนี้สร้างขึ้นสำหรับพระเจ้าแผ่นดินประทับ แต่ตามการพินิจดูรูปร่างทรวดทรงทำให้เข้าใจว่า พระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงประทับอยู่ในที่นั้น หากเป็นศาสนสถานเห็นจะเหมาะสมกว่า อาจสรุปได้ว่าเป็นเจติยสำหรับบรรจุพระอัฐิของพระเจ้าราชาธิราช

จากการตีความของนักประวัติศาสตร์ชื่อโจวต๋ากวาน เรียกปราสาทนครวัดว่า เจดีย์หลู่ปั่น แต่ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เขียนว่า “ปราสาทนครวัดนี้  อุทิศถวายแด่พระวิษณุ”

ปราสาทนครวัดตั้งอยู่ทางใต้ของปราสาทนครธม ประมาณ 1,500 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีทางเข้าจากข้างตะวันตก ผิดจากแบบแผนก่อสร้างปราสาททั้งปวง ตามท่านมาชาส์เขียนไว้ใน หนังสือของท่านว่า “เนื่องมาจากมีสระอยู่ด้านตะวันออก และปราสาทนี้ตั้งอยู่ทางใหญ่ไปสู่นครธมด้วย”

ตามธรรมเนียมเขมร การฝังศพหรือตั้งศพบนเชิงตะกอนสำหรับฌาปนกิจโดยมากมักหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก หันหน้ามาทางทิศตะวันออกทั้งหมด ปราสาทที่อุทิศถวายพระบรมวิษณุโลกจึงต้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเหมือนกัน

ปราสาทนี้มีสระโบกขรณีกักน้ำทั้งฤดูแล้งฤดูฝนหล่อเลี้ยง ปูหินสลักลวดลายจัดเรียงเป็นชั้นล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ ยาว 1,500 เมตร จากด้านตะวันออกไปตะวันตก กว้าง 1,300 เมตรจากด้านเหนือไป ด้านใต้

ถัดจากสระเล็กน้อยมีที่ดินเรียบเสมอไปจนถึงกำแพงชั้นนอกทำจากศิลาแลงล้อมรอบยาวประมาณ 1,000 เมตร กว้าง 814 เมตรมีทางใหญ่ทางเดียวที่ปูหิน ยาว 200 เมตร เข้าทางทิศตะวันตก ตัดข้ามสระไปถึงโดปุระ (ซุ้มประตูใหญ่) ของกำแพงชั้นนอกด้านเหนือและด้านใต้ไม่มีทางเข้า ด้านตะวันออกมีทำนบดินตัดเข้าไปยังกำแพงชั้นนอก

ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ มีโคปุระ (ซุ้มประตู) เป็นตัวปราสาท มียอดสูงขึ้น แต่ลวดลายแกะสลักบางแห่งทำไม่เสร็จ ส่วนโคปุระ (ซุ้มประตู) ทั้ง 3 ทิศมีทางเข้าไปถึงปราสาทใหญ่ตรงกลางได้ สะพานหินใหญ่เข้าจากทิศตะวันตกตัดข้ามสระโบกขรณีตลอดไปถึงประตูใหญ่ด้านทิศตะวันตก มีราวสะพานนาคและสิงห์ใหญ่ยืนเงยหน้า แต่ปัจจุบันนี้หักพังไปหมดแล้ว

เมื่อเข้าถึงโคปุระใหญ่ทิศตะวันตก  รูปลักษณ์ที่มีฤทธิ์เดชะของปราสาทนี้ อาจทำให้นักเดินทางสงบสงัดในใจ ทิศตะวันตกนี้มีระเบียงหนึ่งยาวมีหลังคาติดเรียงกัน ประดับด้วยโคปุระ 3 มีบันได 3 ขึ้นไปบันไดกลางยื่นออกมาข้างหน้าเล็กน้อย มีรูปพระวิษณุสององค์อยู่ข้างใน อ้อมสองข้างประตูนั้น ที่โคปุระหนึ่งๆ ล้วนแต่มียอดสูงขึ้น ซุ้มประตูใหญ่กลางมียอดสูงที่สุด ที่ปลายระเบียงทั้งสองข้างมีประตูช้างอีกสองข้าง สำหรับพาหนะต่างๆ  ของกระบวนเสด็จพระราชดำเนิน

ทุกวันนี้มักขึ้นตามโคปุระใหญ่กลาง เพราะโคปุระนี้ตรงไปสู่ปราสาทใหญ่ ที่ผนังระเบียงมีลายจำหลักดอกไม้วงกลมๆ ใหญ่ๆ เป็นลายจีน และรูปยักษ์ เทวดาออกหรือขี่โค ม้า ช้าง ที่มุมมีรูปสตรีอัปสรมีมวยผมลวดลายงดงามแปลกควรจับใจ หยุดดูรูปสักครู่แล้ว เดินลงตามบันไดไปสู่ลานด้านตะวันออกเล็กน้อย แล้วหยุดเงยหน้าหันมาทางด้านหลัง จะเห็นรูปสตรีอัปสรแบบอ่อนช้อย จำหลักผู้ขี่สัตว์ต่างๆ ที่ฝาผนังและรูปทรงทั้งปวงควรให้ชมไม่ขาดปาก

ต่อไปต้องเดินไปตามทางปูศิลาประมาณ 350 เมตร จะเห็นธรรมมณเฑียร (บรรณาลัย) สองแห่ง วัดสองแห่ง และสระอีกสองสระ ไปถึงปราสาทนครวัดมีลานสูงประกอบด้วยบันไดนาค หน้านาคกับราชสีห์น่ากลัวยืนวางท่า มีบันไดไปทิศเหนือ ทิศใต้ และตะวันตก

ที่มีลานออกมาข้างนอกนี้ สำหรับเป็นที่รับนาหมื่นสรรพมุขมนตรี หรือสำหรับทอดพระเนตรกระบวนแห่พิธีบุญต่างๆ เดินต่อไปเล็กน้อยจะถึงประตูใหญ่ของปราสาท ตรงนี้ทำเป็นตัวปราสาทมีหลังคาสูงขึ้นเล็กน้อย และมีหลังคาย่อออกมาข้างตะวันตก ที่หอมีลายแกะสลักศาสนาพราหมณ์

ผู้ชมเมื่อมาถึงที่นี้ก็นึกเกรงขามอย่างแสนสะดุดใจ ไหนจะนึกเสียดายเพราะรูปนาคราวบันได สิงห์ใหญ่น้อยเป็นเครื่องประดับแตกหักไปหมด ทำให้หมดความงามเป็นอันมาก

การชมปราสาทนี้ โปรดรำลึกว่าต้องดูเวลาเช้าและเวลาเย็น เวลากลางวันร้อน มองไปบนกองหินสะท้อนแสงทำให้ตามัว และเดินดูจากซ้ายไปขวาเพราะการแกะสลักทั้งหมดล้วนมีทำนองจากซ้ายไปขวา ให้สมเป็นเจติยอุทิศถวายพระบรมวิษณุโลก

นครวัดมี 3 ชั้น คือ ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 2 ที่มุมทิศครบทั้ง 3 ชั้นล้วนมียอดแหลมสูงเป็นปรางค์คู่ มีบันไดสองด้านประกอบด้วยสิงห์ไปสู่ทิศของตนทุกๆ มุม ตรงชั้นที่ 3 ข้างบนชื่อบากาน มียอดแหลมสูงไปสู่อากาศ มองจากที่ไกลจะเห็นสูงใหญ่กว้างใหญ่ดุจพนมพระสุเมรุ เห็นแต่ยอดระเกะระกะเหมือนวิมานลอย

อ่านเพิ่มเติมได้ใน

📖 นครวัด ทัศนะเขมร

✍ ศานติ ภักดีคำแปล/ สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ

💴 ราคา E-Book  129 บาท

📲 E-Book :http://bit.ly/3YWkz2q

สามารถอ่านได้ทั้งระบบ ios และ Android ผ่าน Application

Ookbee, MEB, SE-ED, NAIIN, Hytexts, Google Play Books, Google PlayBooks, Storylog, Bookcaze, Chulabook, Pinto E-book

.

#นครวัด #เขมร #EBook #ศูนย์ข้อมูลมติชน #MatichonMIC

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก