หลายคนน่าจะเคยได้ยินวลี “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” แต่ทว่าจริงหรือ ในเมื่อมีข่าวพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “งานหนักทำให้คนตายได้” โดยเฉพาะข่าวล่าสุด ที่มีพนักงานออฟฟิศคนหนึ่งฟุบหลับเสียชีวิตคาโต๊ะทำงานข้ามวัน เนื่องจากโหมงานหนัก พักผ่อนน้อย ร่างกายทรุด จนนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน สร้างความตื่นตัวให้กับสังคมไทยไม่น้อย พร้อมตั้งคำถามมากมายถึงคุณภาพชีวิตในการทำงาน

โรคคาโรชิ (Karoshi Syndrome) คืออะไร

โรคคาโรชิ หรือ ภาวะทำงานหนักจนตาย (Death from overwork) นิยามถึงอาการเหนื่อยหรืออ่อนเพลียจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียดสะสม อันเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของวัยทำงาน โดยเฉพาะความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตใจนำไปสู่การกดดันตัวเอง การไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง (Low self-esteem) สภาพจิตใจหดหู่ สุดท้ายตัดสินใจจบชีวิต

โรคนี้พบบ่อยในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เนื่องจากมีวัฒนธรรมทำงานหนัก (Overwork Culture) และการแข่งขันสูงทำให้หลายองค์กรสร้างความกดดันต่อพนักงานบางส่วน ด้วยการตั้งเป้าหมายและเร่งทำยอดในรูปแบบ KPI หรือดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ที่สูงเกินกว่าจะสามารถเอื้อมถึง รวมถึงชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไป

ความเครียดจากการทำงานหนัก
ภาพประกอบจาก Unsplash

โดยเฉพาะนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันปี 1973 การปรับโครงสร้างแรงงานของประเทศหล่อหลอมให้เกิดมุมมองการทำงานมากกว่า 70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์กลายเป็นเรื่อง “ปกติ” มิหนำซ้ำยังกลายเป็นสิ่งที่ “น่ายกย่อง”

ซึ่งในอีก 30 ปีต่อมาปรากฏการณ์นี้กลายเป็นความจริงอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศเตือนว่า การทำงานลากกะเป็นเวลานานเพิ่มอัตราความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งตามรายงานของ WHO ระบุว่า การทำงานหนักมากเกินไปและความเครียดสะสมจากการทำงานนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจขาดเลือดมากถึง 745,000 ราย เมื่อปี 2016

รายงานดังกล่าวยังระบุอีกว่า การทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นถึง 35% และมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 17%

ความเครียดจากการทำงานหนัก คาโรชิ karoshi
ภาพประกอบจาก Unsplash

สัญญาณเตือนของโรคคาโรชิ

1.หมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา เหมือนสมองไม่ได้พักผ่อน บางครั้งอาจจะเก็บไปฝัน

2.ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน

3.เริ่มงานเร็ว เลิกงานช้า ชั่วโมงการทำงานเยอะ

4.ไม่มีโอกาสลางาน หรือแทบไม่ได้ใช้วันลา ไม่ว่าจะเป็นลาป่วย ลาพักผ่อน และลากิจ

5.เคร่งเครียดจากการทำงาน และทำงานภายใต้ความกดดัน

6.พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่มีเวลาดูแลตัวเองและคนรัก

วิธีรับมือและป้องกันโรคคาโรชิ

1.จัดสรรเวลาสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ

2.พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

3.ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและมีความสุข เช่น ดูหนัง ฟังเพลง และอ่านหนังสือ เป็นต้น

4.พบปะเพื่อนฝูง ครอบครัว หรือคนรัก

5.ปล่อยวางความคิด

6.ไม่ควรนำงานกลับมาทำที่บ้าน หรือคิดต่อที่บ้านมากจนเกินไป

สุดท้ายนี้หากเราเริ่มรู้สึกว่าสุขภาพทางกายและจิตใจแย่ลง เกินกว่าจะรับมือไหว ขอเพียงเปิดใจเข้าพบนักจิตวิทยาเพื่อขอรับคำปรึกษาและการรักษาอย่างถูกต้องตรงจุด สามารถปรึกษาสุขภาพจิตฟรีได้ที่

  • สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โดยกรมสุขภาพจิต
  • สายด่วนคลายทุกข์ 02-113-6789 โดยสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย
  • Hear to Heal หรือระบบแชทพูดคุย โดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : เป็นวัยรุ่นมันเหนือย มุมมองนักวิชาการ ต่อปัญหาที่คนรุ่นใหม่ต้องแบกรับ , รู้จักกับ “Academic Burnout” ภาวะหมดไฟในการเรียน

แหล่งที่มาของข้อมูล

ทาสนก เสพติดคาเฟอีน คลั่งรักป๋าแมดส์ สิ่งเดียวที่ทำให้ใจเต้นแรงได้คือวันที่ 1 และ 16

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก