ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช
โรงงานคัดแยกขยะ
พนักงานคัดแยกขยะ จากสายพานลำเลียงขยะ

ปัญหาขยะในประเทศไทย เป็นปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นวิกฤตการณ์ขยะ แม้ที่ผ่านมาเราจะเริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น งดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้วตามร้านสะดวกซื้อ

แต่สถานการณ์ขยะปัจจุบันข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษพบว่าทุกวันนี้การใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยมีแนวโน้มสร้างขยะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับความสามารถในการจัดเก็บขยะ แล้วขยะจำนวนมหาศาลที่พวกเราทิ้งไป ปลายทางมันไปอยู่ที่ไหน?

ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ถือเป็นหนึ่งในสถานที่กำจัดขยะแห่งใหญ่ของกรุงเทพมหานคร สถานที่แห่งนี้มีเนื้อที่หลายสิบไร่ มองจากที่ไกลๆ แอบคิดว่ามีภูเขาโผล่อยู่กลางกรุงฯ แต่มันคือกองภูเขาขยะ ภาพที่เห็นมาพร้อมกับกลิ่นขยะที่ส่งกลิ่นคละคลุ้ง

ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช
โรงงานคัดแยกขยะ
ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช

บริเวณทางเข้าเราพบรถเก็บขยะจอดเรียงเป็นแถวตาม บ้านเรือนประชาชนรวมไปถึงพื้นที่รกร้างข้างทางมีชาวบ้านมาจับจองทำธุรกิจคัดแยกขยะ และรับซื้อขยะรีไซเคิลหลายเจ้า

ศูนย์กำจัดมูลฝอย อ่อนนุช ถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ ประกอบด้วย พื้นที่สำนักงาน, จุดรับขยะจากรถเก็บขยะมูลฝอย, จุดคัดแยกขยะมูลฝอย, จุดหมักขยะมูลฝอย และจุดฝังกลบขยะมูลฝอย  โดยมีพนักงานทำหน้าที่คัดแยกขยะกันตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช
โรงงานคัดแยกขยะ
สายพานลำเลียงขยะ

สถานที่แห่งนี้ทำให้เราได้พบกับ พี่ต่าย (สงวนชื่อ – นามสกุล) ผู้ควบคุมงานคัดแยกขยะ เล่าให้เราฟังว่าที่ศูนย์ ฯ แห่งนี้มีพนักงานหลากหลายทั้งเพศชาย และหญิง วัยรุ่น ไปจนถึงคนสูงวัย แบ่งกันทำหน้าที่หลายส่วน ตั้งแต่รับขยะจากรถเก็บขยะของกรุงเทพมหานคร, คัดแยกขยะ และส่วนงานกำจัดขยะ

พนักงานทุกคนต้องปรับตัวให้ชินกับกลิ่นขยะ หากเป็นพนักงานใหม่ๆ บางคนถึงขั้นอาเจียน เวียนศีรษะ กินข้าวไม่ได้ก็มี และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับขยะ หลายคนมองว่าเป็นอาชีพที่ใครก็ไม่อยากทำเพราะมันต้องทนกับกลิ่นเหม็น สกปรก และไม่ได้แต่งตัวสวยๆ เหมือนคนที่ทำงานอื่น

พนักงานคัดแยกขยะ จากสายพานลำเลียงขยะ

พี่ต่าย ยังเล่าเส้นทางชีวิตของตัวเอง ที่เข้าสู่อาชีพคัดแยกขยะตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น เพราะตัวเองไม่ยอมเรียนหนังสือ

“สมัยเป็นวัยรุ่นพี่ไม่รักเรียน เรียนไม่จบ ม. 3 คิดแต่เล่นสนุกไปวันๆ จากนั้นพ่อแม่ได้มาเป็นคนงานก่อสร้างศูนย์กำจัดมูลฝอย อ่อนนุช พี่ก็เลยตามมาด้วย เมื่อศูนย์ ฯ แห่งนี้ก่อสร้างเสร็จพี่เริ่มทำงานคือการคัดแยกขยะ เริ่มจากคัดขวด กระป๋อง แก้ว ได้เงินวันละ 20-30 บาท ทำๆ ไปไม่ได้คิดอะไรมาก แต่คนอื่นๆ เขาได้เงินวันละหลายร้อยบาท”

เมื่อไม่รักเรียนพ่อแม่จึงดัดนิสัยให้ “พี่ต่าย” ทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเอง ทำให้พี่ต่ายเริ่มเข้าใจว่าการทำงานมันเหนื่อยแค่ไหน กว่าจะหาเงินได้ จึงตัดสินใจกลับบ้านไปเรียนหนังสือจนจบ และนำวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. กลับมาสมัครเป็นผู้ควบคุมงานคัดแยกขยะ

ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช
โรงงานคัดแยกขยะ
กองขยะรอลำเลียงส่งสายไปตามสายพาน

หลังจากพี่ต่ายเรียนจบเธอก็ตัดสินใจกลับมาทำงานที่เดิม เพราะพี่รู้สึกคุ้นเคยกับที่นี่ และเข้าใจกระบวนคัดแยกขยะ และการรีไซเคิลขยะ ว่ามันสามารถสร้างเงินได้เป็นอย่างดี ทุกคนที่ทำงานภายในศูนย์ฯ แห่งนี้ ไม่มีใครมองขยะว่าไร้ค่า แต่พวกเขามองมันเป็นสินค้า และคิดเสมอว่าอาชีพที่หลายคนรังเกียจนี้คืออาชีพที่น่าภาคภูมิใจ เพราะพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งช่วยกำจัดขยะให้กับบ้านเมืองของเรา

“เราไม่เคยมองขยะว่าเป็นขยะ แต่เรามองขยะเป็นสินค้า มันทำรายได้ให้กับทุกคน ขยะมันทำให้พวกเรามีรายได้จริงๆ เราทำเงินจากมันได้ บางคนอาจจะรังเกียจเพราะไม่เคยสัมผัสมันมากกว่า และพี่จะทำงานที่นี่ไปเรื่อยๆ เพราะขยะ มอบชีวิต รายได้ และครอบครัวให้กับพี่ และบางครั้งพนักงานหลายคนก็มีโชคจากงานคัดแยกขยะ เจอของมีค่าปะปนมา เช่น เพชร ทอง เงิน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นโชคใครโชคมัน”

สำหรับศูนย์กำจัดมูลฝอย อ่อนนุช มีขยะถูกส่งมากำจัดประมาณ 4,300 ตันต่อวัน ซึ่งขยะส่วนใหญ่ที่พบมากที่สุดคือขยะพลาสติก และขยะครัวเรือน เมื่อเจ้าหน้าที่รับขยะมาแล้วขยะทั้งหมดจะถูกนำมากองรวมกัน ก่อนส่งขึ้นไปตามสายพานมีพนักงานคอยคัดแยกตลอด 24 ชั่วโมง แบ่งเป็นกะ พนักงานจะแบ่งหน้าที่กันทำโดยแยกชนิดของขยะที่สามารถส่งรีไซเคิลได้ เช่น พลาสติก กระดาษ และขวดแก้ว

ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช
โรงงานคัดแยกขยะ
กองขยะรอลำเลียงส่งไปตามสายพาน

จากนั้นขยะที่เหลือทั้งหมดจะถูกส่งเข้าเครื่อง Arttrition Drum Scrubber ใช้เวลาประมาณ 8 ถึง 12 ชั่วโมง เพื่อลดขนาดของขยะให้เล็กกว่า 80 มิลลิเมตร ซึ่งขยะส่วนนี้จะถูกนำไปหมักบ่มประมาณ 40 วัน ก่อนนำไปร่อนเพื่อใช้เป็นสารปรับปรุงดิน คิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของขยะทั้งหมด ส่วนขยะ 80 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือจะถูกนำไปอัดก้อนและฝังกลบ

ผู้ควบคุมงานคัดแยกขยะ ยังฝากถึงประชาชนซึ่งเป็นต้นทางทิ้งขยะ ขอให้คัดแยกขยะครัวเรือน เพื่อลดปริมาณที่จะนำขยะเข้าสู่กระบวนการกำจัดให้เหลือน้อยที่สุด และสิ่งสำคัญคือไม่ทิ้งสิ่งปนเปื้อนลงในถังขยะ เพราะมันก่อให้เกิดอันตรายกับเจ้าหน้าที่จัดเก็บและคัดแยกขยะได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก