ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นผู้หนึ่งที่ได้โพสต์ข้อความเตือนเกี่ยวกับ สารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 มาตั้งแต่แรกๆ ที่พบว่าแท่งเหล็กบรรจุสารหายไป
ล่าสุด ทางผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้ออกมาแถลงข่าวว่าพบแล้ว และแท่งบรรจถสารนี้ได้เข้าเตาหลอมไปเรียบร้อยแล้วนั้น
อ่านรายละเอียดต่อที่ ผู้ว่าฯ ปราจีนบุรี แถลง “ซีเซียม137” ถูกหลอมแล้ว คาดมีคนได้รับผลกระทบไม่ต่ำกว่า 4-5 คน https://feedforfuture.co/feed-news/27643/
ทางด้าน ดร.สนธิ คชวัฒน์ ได้โพสต์ข้อความเตือนดังนี
“หายนะแท่งซีเซียม ถูกหลอมในโรงงานหลอมเหล็ก มีทั้งฝุ่นที่ปล่อยออกจากปล่องควัน ฝุ่นแดงในถุงกรองอากาศ ขี้เถ้าหนัก รวมทั้งฝุ่นในโรงงาน คืออนุภาคซีเซี่ยมที่ปล่อยรังสีแกมมาและเบต้าออกมา คือสารสารก่อมะเร็ง ในอากาศ ในพืช ผัก ผลไม้ แหล่งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน รัศมีอย่างน้อย 5 กม.ระยะยาวอาจมีคนป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ”
โดยก่อนหน้านี้ ดร.สนธิ ได้โพสต์อธิบายกระบวนการและผลกระทบ ว่า
“ถ้าแท่งโลหะที่บรรจุซีเซียม137 ถูกหลอมรวมกับเศษเหล็กในโรงงานหลอมเหล็กแล้ว ผลกระทบที่ตามมาคือ
1.ฝุ่นขนาดเล็กของ ซีเซียม137 ที่ปล่อยออกมาจากปลายปล่อง จะกระจายสู่บรรยากาศและตกลงสู่แหล่งน้ำ ดินที่อยู่รอบๆโรงงานและเกิดการปนเปื้อนเข้าสู่วงจรอาหารได้แก่ ผัก ผลไม้ อา หารจากแหล่งน้ำใกล้เคียงและอาหารแปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร เป็นต้นรวมทั้งอาจมีบางส่วนที่ประชาชนหายใจเข้าไปด้วย
สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะและบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ,ตับ,ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมคือเป็นมะเร็งนั่นเอง
2.หากโรงงานหลอมเหล็กมีอุปกรณ์ควบคุมมล พิษทางอากาศ เช่น Baghouse Filter โดยจะทำการกรองฝุ่นเหล็กขนาดเล็กที่ปนเปื้อนสาร ซีเซียม137 หรือที่เรียกว่าฝุ่นแดงไว้ในถุงกรองในปริมาณมาก ซึ่งโรงงานหลอมเหล็กจะขายฝุ่นแดงดังกล่าวให้กับโรงงานประเภท106 นำไป Recycle เพื่อสกัดเอาธาตุสังกะสีไปใช้ ซึ่งจะทำให้สาร ซีเซียม137แพร่กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้น และเกิดอันตรายต่อประชาชนและระบบนิเวศ
3.เมื่อเข้าเตาหลอมแล้วส่วนหนึ่งจะกลายเป็นขี้เถ้าหนัก(Bottom ash)โดยจะมีอนุภาคของ สารซีเซียม137ปนเปื้อนในเถ้าหนักด้วย หากโรงงานนำไปฝังกลบใต้ดินก็อาจปนเปื้อนน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารและน้ำต่อไป
4.เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย(PPE)เพื่อป้องกันการได้รับรังสีและทำการตรวจการปนเปื้อนของสารซีเซียม137 ภายในโรงงานทุกบริเวณ เช่น เถ้าหนัก ฝุ่นแดง กองเหล็ก เตาหลอม ดินและแหล่งน้ำและฝุ่นละอองในโรงงาน เป็นต้น รวมทั้งต้องตรวจหารังสีปนเปื้อนที่ตัวพนักงานทุกคนด้วย”
ทางด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กัมมันตรังสีซีเซียม -137 ทำให้เซลล์ของมนุษย์เกิดความผิดปกติขึ้น ปัจจัยความรุนแรง ขึ้นอยู่กับระยะเวลา วิธีที่สัมผัส และปริมาณสารที่ได้รับ เดิมซีเซียม137 มีประโยชน์ใช้รักษามะเร็งโดยการฝังแร่ซีเซียม แต่ค่าครึ่งชีวิตนานไปกำจัดยาก จึงเปลี่ยนเป็นโคบอลต์ ที่มีครึ่งชีวิต 5 ปี และการแพทย์ก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าที่หลาย รพ. ใช้อยู่ในปัจจุบัน การใช้รังสีทางการแพทย์ไม่มีปัญหา มีการจัดการเอาเข้าออกอย่างดี
แต่ที่เกิดขึ้นใน จ.ปราจีนบุรี เกิดจากการถูกขโมยไป ซึ่งหากถูกหลอมไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ก็ต้องดูว่า ลักษณะความร้อนที่สูงมากก็ไม่น่ากังวล สารก็สลายไป แต่ที่น่ากังวลคือ เศษที่มีซีเซียมติดอยู่อาจกระจายออกไป ต้องให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติตรวจสอบและวัดสารดังกล่าวในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารดังกล่าวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าร่างกายได้รับสารนั้นมาแล้ว แต่สังเกตได้จากอาการป่วยที่มีประวัติสัมผัสสารดังกล่าว ต้องพบแพทย์เพื่อสอบสวนโรค โดยต้องติดตามตั้งแต่เส้นทางการขนย้ายภายในโรงงาน กับพื้นที่โรงงานด้วย
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนการรักษาต้องดูว่า สารนั้นถูกอวัยวะสำคัญหรือไม่ ซึ่งอาจเสียชีวิตได้ทั้งในระยะสั้นและยาว เหมือนโคบอลต์ 60 ที่ซาเล้งขายของเก่าเก็บโคบอลต์และได้รับสารพิษ หากถูกอวัยวะสำคัญก็มีผลกระทบ และยังรวมไปถึงเซลล์และกระดูกไขสันหลัง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย รวมไปถึงการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ส่วนที่ข้อกังวลของคำแถลงที่สำนักปรมาณูฯ ระบุว่า ฝุ่นในโรงงานหลอมมีซีเซียมปน หากมีปริมาณโมเลกุลที่เล็กมาก ซีเซียมก็มีผลน้อย แต่เนื่องจากสารไม่สีไม่มีกลิ่นก็ต้องเฝ้าดู
ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลผลกระทบจากกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ไม่เทียบเท่ากับ เชอร์โนบิล ที่ยูเครน ดังนั้น ไม่ต้องกังวลมาก อย่างไรก็ตาม คนที่สัมผัสในโรงงานหลอมต้องเฝ้าระวังต่อไป ส่วนคนภายนอก ต้องเฝ้าระวัง หากป่วยสงสัยเข้าข่ายมีอาการทางผิวหนัง หรือความผิดปกติอื่น ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อสอบสวนโรค เนื่องจากตามข้อปฏิบัติการป้องกัน เฝ้าระวังสารกัมมันตรังสีไทยปฏิบัติตาม พ.ร.บ. พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และขั้นตอนปฏิบัติตามมาตรฐานสากล