ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete- Aged Society ) และคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super- Aged Society) ในปี 2574 ส่งผลให้ความรุนแรงของปัญหาซึ่งเกิดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ฯลฯ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ลดการมีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาวะ รวมถึงสร้างความสูญเสียต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

โดยแนวทางจัดการปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค รวมถึงกรณีที่โรคเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตควบคู่กับการใช้ยาไปด้วยกัน ก็ทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดการใช้ยาที่ไม่จำเป็น และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ดังนั้นเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) จึงนับเป็นทางออกเพื่อสุขภาพที่ดี และยั่งยืนในปัจจุบัน

ทำความรู้จัก เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine)
การวางแผนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) โดยมีแพทย์และทีมสหวิชาชีพเข้ามาร่วมดูแลอย่างใกล้ชิด (Health and wellness coaches; HWCs) เช่น นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด เทรนเนอร์การออกกำลังกาย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เป็นต้น

เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ


1.โภชนาการ –
รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป จำกัดปริมาณน้ำตาล ไขมัน เกลือ เน้นอาหารที่มาจากพืชผักผลไม้ เน้นรับประทานข้าวกล้อง และปลาเป็นหลัก กินตับ กินผัก ผลไม้เป็นประจำ และดื่มน้ำให้เพียงพอ กินอาหารสดใหม่สะอาดอยู่เสมอ

2.กิจกรรมทางกาย – ออกกำลังกายให้เพียงพอ ทั้งการออกกำลังเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ เช่น เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ หรือโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 30 นาที/วัน และออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ควบคู่กับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ รวมถึงการเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ การทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม เป็นต้น

3.การนอนหลับ – นอนหลับอย่างมีคุณภาพให้เพียงพอ เป็นเวลา และต่อเนื่อง เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย ส่งผลให้ระบบเผาผลาญอาหารดีขึ้น อารมณ์สดใสอีกทั้งยังช่วยให้การควบคุมอาหาร และออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การนอนหลับยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาการของร่างกาย สมองระบบประสาท การเรียนรู้ ความจำวัยผู้สูงอายุมีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการนอนหลับไม่เพียงพอนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะภูมิต้านทานต่ำ

4.ลดเลิกการใช้สารเสพติด – การใช้สารเสพติดทุกชนิดสัมพันธ์กับการเสียชีวิตและความพิการจากโรคทางกาย โรคทางจิตเวช และอุบัติเหตุ เวชศาสตร์วิถีชีวิตจะมุ่งเน้นการลด ละ เลิก สารเสพติดที่ใช้กันแพร่หลายและก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดคือบุหรี่และแอลกอฮอล์

5.การจัดการกับความเครียด – จัดการกับความเครียด สร้างสภาวะทางอารมณ์ที่ดี มองโลกในเชิงบวก ข้อดีของความเครียดคือทำให้มนุษย์พัฒนาศักยภาพของตนเอง และข้อเสียของความเครียด คือ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทำให้เป็นโรคซึมเศร้าวิตกกังวล โรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็ง ฯลฯ ได้ง่ายขึ้น ความเครียดจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสม

6.ความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง – การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเป็นความต้องตามธรรมชาติของมนุษย์ ความเหงาและสภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคซึมเศร้า สมองเสื่อม โรคหัวใจ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ

ซึ่งการปฏิบัติตนตามแนวทาง Lifestyle Medicine หรือเวชศาสตร์วิถีชีวิต จะส่งผลให้ทุกเพศ ทุกวัยรวมถึงผู้สูงอายุสุขภาพดี มีความสุข พร้อมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

ทำไม Lifestyle Medicine จึงเป็นการแพทย์แนวใหม่ที่ทุกคนต้องใช้

หลักการพื้นฐานของการดูแลสุขภาพ คือ “การป้องกันไว้…ดีกว่าแก้” เพราะการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีความสุข ดีกว่าการทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย แล้วค่อยมารักษา การแพทย์แผนปัจจุบันนั้น มีเวชศาสตร์ป้องกันที่ช่วยป้องกันก่อนการเกิดโรค และการแพทย์มีการพัฒนาไปไกล มีทางเลือกต่าง ๆ ที่เข้ามาเติมเต็มในส่วนของการดูแลสุขภาพ หลักสำคัญที่จะทำให้เวชศาสตร์ป้องกันสมบูรณ์ก็คือ การดูแลสุขภาพของตัวเราเอง (Self-care) หรือ เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) เป็นการแพทย์ที่เน้นการจัดการที่ต้นเหตุของโรคที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไข้ ด้วยแนวทางที่อยู่บนพื้นฐานของหลักฐานทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันและรักษาโรค ทั้งนี้ เวชศาสตร์วิถีชีวิต Lifestyle Medicine ไม่ได้มุ่งแค่รักษาโรคหรือควบคุมโรคที่เรื้อรังเท่านั้น ในบางกรณีอาจทำให้โรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตย้อนกลับไปสู่ภาวะปกติได้ โดยอาจไม่ต้องพึ่งการใช้ยา

ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Skateboarding is the soul Sugar is addictive

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก