หลังเลือกตั้ง ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลใหม่ หรือช่วงที่กำลังจะมีรัฐบาลใหม่ แน่นอนว่านำมาสู่ความกังวลของนักลงทุนในความไม่นิ่งของสถานการณ์ต่างๆ


นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เผยว่า สิ่งที่นักลงทุนกังวลมากเป็นอันดับหนึ่งขณะนี้ คือการตั้งรัฐบาลไม่ได้ หรือการตั้งรัฐบาลที่ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างมาก การตั้งรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพคือการตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย รวมทั้งประสบการณ์ร้ายของประชาชนที่ถูกนักการเมืองหักหลังในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้จึงได้เห็นการสั่งสอนของประชาชน


นอกจากนี้ นายจาตุรนต์ ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ประชาชนให้ความสำคัญ กับประเด็นที่พรรคการเมืองหรือนักการเมือง มีการสืบทอดอำนาจเผด็จการหรือไม่ เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องอ่อนไหว ที่พรรคการเมืองต้องให้ความสำคัญมาก ถ้าผิดคำพูดตรงนี้ มันจะส่งผลกระทบรุนแรง ในระดับที่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองคาดไม่ถึง


FEED มีโอกาสสัมภาษณ์แนวคิดทางการเมืองของ นายจาตุรนต์ โดยมีประเด็นต่างๆที่น่าสนใจดังนี้

ช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลใหม่ คิดว่านักลงทุนกังวลทางด้านไหนเป็นพิเศษ
“ผมคิดว่าที่กังวลมากเป็นอันดับหนึ่ง คือการตั้งรัฐบาลไม่ได้ ถัดมาซึ่งไม่แน่ใจว่าเค้าคิดไปถึงหรือยัง คือการตั้งรัฐบาลที่ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างมาก การตั้งรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพอย่างมากคือการตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย ส่วนเรื่องนโยบายผมยังคิดว่า ถ้าจะมีนโยบายอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วจะมีผลเสียต่อเศรษฐกิจ ผมดูจากMOU ไม่น่าเป็นห่วง เพราะMOU ก็พยายามทำให้มันจูนกันได้ระหว่างพรรคการเมือง และก็ไม่เขียนให้เฉพาะเจาะจงลงไป เป็นคำกว้าง ๆ กว่าที่ใช้ตอนหาเสียง ดูแล้ว ถ้าพรรคที่กำลังตั้งแล้วตั้งสำเร็จ น่าจะเข้าใจภาคเอกชนได้ดี ในแง่นี้ไม่น่าเป็นห่วง แต่ถ้าไปตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย ความเป็นน่าเป็นห่วงจะไม่ได้อยู่ที่นโยบายแล้ว เพราะรัฐบาลเสียงข้างน้อยนั้น เราจะไม่รู้เลยว่า นโยบายเค้าคืออะไร ไม่มีใครจำได้ และที่เค้าทำงานกันมา 4 ปี บางคนก็ย้อนไป 8-9 ปี ก็ไม่มีนโยบายอะไรที่ชัดเจน ฉะนั้นความน่าเป็นห่วงอยู่ที่การขาดความชอบธรรม และขาดเสถียรภาพ”

“แต่ว่าอันดับหนึ่งที่ภาคเอกชนควรจะคิด ถ้าตั้งรัฐบาลไม่ได้นานๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเหมือนกัน จะเกิดผลเสียอย่างไร และภาคเอกชนควรจะมีบทบาทอย่างไรให้รัฐบาลเกิดให้ได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะมีรัฐบาลยังไงก็ได้นะ เพราะนาทีนี้พิสูจน์แล้วว่า สักแต่ว่ามีรัฐบาลน่ะไม่ได้ เพราะมีตัวอย่างที่ผ่านมา การลงประชามติ ลงไปเถอะ ขอให้มีการเลือกตั้งแล้วก็มีรัฐบาล มี ส.ว. เค้าตั้งได้ก็ดีแล้ว 9 ปีมานี้ เสียหายยับเยินมาตลอด”

ถ้ายังตั้งรัฐบาลไม่ได้ หรือใช้เวลานานเกินไปในการตั้ง จะเกิดผลเสียหายขนาดไหน
“มหาศาลแน่นอน งบประมาณก็ชะลอไป รัฐบาลรักษาการก็ตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ ไม่ได้ อย่างที่บอกว่า จะตั้งนายทหารชั้นผู้น้อย เพราะไม่ใช่ ซี 10 ซี 11 ตามมารยาทก็ไม่ควรตั้งแล้ว แล้วเรื่องใหญ่ๆ จะทำอย่างไร คือโลกกำลังผันผวน เศรษฐกิจกำลังผันผวน แล้วประเทศไทยกำลังต้องการตั้งศูนย์(ถ่วงล้อ)ใหม่ เพื่อให้มันแล่นต่อไปได้ ถ้าไม่มีรัฐบาลหรือถ้ารัฐบาลไม่มีอำนาจอะไร ก็จะเกิดสุญญากาศ เสียโอกาส นักลงทุนจากต่างประเทศก็จะต้องรอ ยิ่งนานก็ยิ่งรอ บางทีก็รอไม่ได้ เพราะเค้าต้องการการเปิดการลงทุนใหม่ ต้องการไปแก้ปัญหาซัพพลายเชน เค้าจะต้องเปิดดีลกับเอกชน หรือในประเทศนั้นประเทศนี้ให้ได้ ไม่งั้นมันผลิตไม่ได้ แล้วพอคุณตัดสินใจไม่ได้ เค้าก็ต้องไปประเทศอื่น”

คิดว่าควรจะต้องตั้งรัฐบาลให้เสร็จภายในเมื่อไหร่
“คือจริง ๆ ถ้าเป็นรัฐบาลโดยพรรคการเมือง เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี จริงๆ เค้าสองวันก็ต้องเสร็จกันแล้ว นี่เค้าก็ได้นะ สองวันเค้าก็ได้ 310 เสียงแล้ว แต่ขณะนี้ต้องมี ส.ว. ส.ว.โหวตได้ด้วย ถ้า ส.ว. งดออกเสียงกันหมด มันก็ยังตั้งรัฐบาลไม่ได้ ส.ว.เองก็ไม่อยู่ในจุดที่พร้อมจะเปิดตัว หรือถูกบีบให้งดออกเสียงกันไปหมดแล้วก็ไม่รู้ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเค้าจะโหวตแบบไหนก็ตาม ก็ไม่มีประเพณี หรือไปเรียกร้องว่า ช่วยประกาศเปิดเผยตัวเองก่อนได้มั้ย พอ ส.ว.ไม่ประกาศอะไร เค้าก็ไม่ได้บอกว่าเค้าจะงดออกเสียง หรือ จะออกเสียง พรรคการเมืองที่รวมเสียงได้มันไม่พอ สภาพที่อยากเห็นว่าประกาศกันเลย ตั้งรัฐบาลได้แล้ว เร็วเท่าไหร่ คำตอบก็กลายเป็นว่า อาจจะต้องรอไปถึงวันลงคะแนนเลือกนายกฯ หรือเห็นภาพคร่าว ๆ ตอนเลือกประธานสภาฯ แต่ว่าก็ยังไม่เห็นชัดอยู่ดี เพราะแม้จะได้ประธานสภาฯ มาแล้ว ก็อาจจะยังตั้งรัฐบาลไม่ได้อยู่ดี ก็อาจจะยืดเยื้อไปจนโหวตนายกฯ แล้วพอโหวตไม่ได้ ก็ต้องมาดูกันว่า จะแก้ปัญหาได้เร็วมั้ย ถ้าแก้ได้ไม่เร็วอีก มันก็จะยือเยื้อไป”

การไปรื้อโครงการเก่าๆ สัญญาต่างๆที่ รัฐบาลเก่าทำเอาไว้ หรือการมีนโยบายที่จะไปแก้ทุนผูกขาด จะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างไร
“ความจริงก็เป็นนโยบายที่เห็นร่วมกัน ในMOUไปแล้ว ตอนนี้ ก็เป็นนโยบายร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาล ถามว่านโยบายที่จะไปแก้ทุนผูกขาด แล้วจะไปกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจยังไง ถ้าทำจริงจังก็จะกระทบ แต่จะกระทบในทางดี ต่อคนส่วนใหญ่ ต่อธุรกิจใหญ่(แม้ไม่ได้ไปแชร์กับธุรกิจผูกขาดเหล่านั้น ) ลงมาจนถึงเอสเอ็มอี พ่อค้าแม่ค้า ก็จะได้ประโยชน์เพราะปัญหาเศรษฐกิจไทย เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งคือการผูกขาดในหลายอุตสาหกรรม การแก้ปัญหาทุนผูกขาดได้ มันจะดีต่อคนที่ทำธุรกิจในปัจจุบัน และมันจะดีมากต่อสตาร์ทอัพ และพวกที่จะเริ่มธุรกิจใหม่ๆ”

ที่มีผลกระทบแน่ๆ อย่างค้าปลีก สุรา พลังงาน หรือไม่
“มีผลแน่ๆ ถ้าทำได้จริง เค้าคงพยายามทำกัน อย่างที่เรามี กฎหมายป้องกันผูกขาดทางการค้า ไม่เคยใช้ได้ผลอะไรเลย ฉะนั้น ถ้าจะแก้ปัญหา ต้องใช้ความพยายามอยู่พอสมควร”

“ที่ไม่เคยได้ใช้ อาจเป็นว่า พอจะบังคับใช้ ก็ไปตีความว่า ไม่เข้าข้อกฎหมายอะไรบ้าง ไม่เอาจริงเอาจัง กฎกติกามันก็อาจจะไม่ชัดเจนพอ”

มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่พรรคเพื่อไทยจะเข้าไปแตะในภาคเศรษฐกิจใหญ่ ๆ หลังจากตั้งรัฐบาลแล้ว
“เห็นเค้าแบ่งกระทรวงกันนี่ พรรคเพื่อไทยคงรับกระทรวงทางด้านเศรษฐกิจมามาก แต่ว่าเนื่องจากเรื่องการแบ่งกระทรวงเป็นประเด็นยังไม่ได้คุยกันชัดเจนเท่ากับMOU ก็ต้องคอยดูว่า ถ้าชัดเจนแล้วจะเป็นอย่างไร แล้วจะทำงานอย่างไร ในแง่ที่มีพรรคการเมืองขนาดค่อนข้างใหญ่ การจัดกระทรวง รองนายกฯ คุมงานน่าจะดีกว่ารัฐบาลที่แล้วที่มีรองนายกฯ คนหนึ่ง แต่ไปคุมสองกระทรวง แล้วก็ไปคนละทิศคนละทาง แต่รัฐมนตรีเป็นของพรรคนั้น เช่นคมนาคม กับสาธารณสุข มาอยู่กับรองนายกฯ คนนึง มันไม่ไปด้วยกัน มันไม่ใช่เศรษฐกิจด้วยกัน มันเป็นอะไรก็ไม่รู้อยู่ด้วยกันเนื่องจากรัฐมนตรีของพรรคนั้น รัฐมนตรีที่คุมกระทรวงเป็นของพรรคนั้น มันก็เลยเกิดภาพ ไปฉีดวัคซีนที่สถานีรถไฟ อันนี้มันผิดฝาผิดตัว พออันนี้เป็นสองพรรคหลัก การจะจัดรองนายกฯ คุมอะไร เรื่องที่เป็นคลัสเตอร์เดียวกัน น่าจะง่ายขึ้น”

ภาคประชาชนเค้าฝากความหวังเศรษฐกิจไว้กับ พรรคเพื่อไทย แก้ไขเศรษฐกิจปากท้อง
“คือพอเป็นรัฐบาลผสมก็ต้องพูดจาหารือกันพอสมควร พรรคเพื่อไทยก็มีโจทย์ข้อใหญ่ ถ้าได้คุมเศรษฐกิจและผลักดันนโยบายรัฐบาลในเรื่องเศรษฐกิจใกล้เคียงมาจากพรรคเพื่อไทยให้ได้มากที่สุด แน่นอนว่าอาจจะ 100 เปอร์ไม่ได้ ต้องหาจุดพอดี เมื่อได้จุดพอดีนั้น ผมว่าพรรคเพื่อไทยก็มีโจทย์อยู่คือทำให้ไม่ให้เสียเรคคอร์ด เมื่อได้บริหารเศรษฐกิจ ก็แก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ได้เกิดผลจริงๆ จัง ๆ ผมว่าก็ต้องพยายามเต็มที่”

การจัดการกับ io ทางเพื่อไทยตั้งรับ หรือรับมืออย่างไรบ้าง
“ก็ติดตามข่าว รีบวิเคราะห์ รีบชี้แจง ช่วงเลือกตั้งมันชุลมุน บางทีคนที่มีหน้าที่ต้องวิเคราะห์ ต้องตอบโต้ ต้องไปอยู่ภาคสนาม การชี้แจงอาจจะช้า ช่วงนี้ก็ต้องทำให้ชัดเจน ยกตัวอย่างที่ว่า พรรคพลังประชารัฐ จะยุบพรรคแล้ว สส.จะมารวมด้วย ล่าสุด ก็หัวหน้าพรรคก็พูดมาชัดเจน ก็เกิดจากการตามข่าว หารือกัน และตัดสินใจ คือเรื่องแบบนี้ไม่ต้องรอว่าแมสมั้ย เรื่องแบบนี้ตัดไฟแต่ต้นลมไปเลย ว่าเพื่อไทยไม่มีคิดอย่างนี้เลย ส่วนว่า ถ้าเป็นเรื่องต่างชาติมาตั้งฐานทัพหรืออะไร ถ้าไม่มีคนเชื่ออยู่แล้วก็คงปล่อยไป”

ภาคประชาชน มีประสบการณ์ร้ายที่เจอนักการเมืองหักหลัง หาเสียงอย่าง ทำอีกอย่าง คุณจารนต์ คิดดอย่างไร
“ประชาชนก็สั่งสอนไปเยอะ พรรคการเมืองที่มีปัญหาระดับพรรค มันเสียศูนย์ เสียความเชื่อถือไปตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว มีบางพรรคที่เจอชะตากรรมแบบนั้น identity lose คือเคยเสนอตัวเองไว้แบบหนึ่ง พอถึงเวลาก็เป็นอีกแบบหนึ่ง มันก็หาเอกลักษณ์ของตัวเองไม่เจอ มันก็เป็นบทเรียน เรื่องใหญ่มันมาอยู่ระดับพรรคการเมือง โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นประชาธิปไตยไม่เป็นประชาธิปไตย สืบทอดอำนาจเผด็จการหรือไม่ อันนี้ เป็นเรื่อเซนซิทีฟมาก และเป็นเรื่องที่พรรคการเมืองต้องให้ความสำคัญมาก ถ้าผิดคำพูดตรงนี้ มันจะส่งผลกระทบรุนแรง ในระดับที่พรรคการเมือง หรือนักการเมืองคิดไม่ถึง อันนี้ความคิดผมนะ”

ชมคลิปต่อที่ https://www.youtube.com/watch?v=maFMbfGOMig

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก