“จริงๆ ไม่ได้ตั้งใจจะมาเป็นสื่อ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสื่อมวลชน นักข่าวต้องทำอะไรบ้าง ข่าวเขียนยังไงยังไม่รู้เลย”

“จอม” บูรณิจฉ์ รัตนวิเชียร คอลัมนิสต์ชื่อดังฝีปากกล้าแห่งสยามสปอร์ต เจ้าของนามปากกา “บอ.บู๋” ย้อนความทรงจำถึงจุดเริ่มต้นในการทำงานด้านสื่อมวลชน จากที่ตอนแรกไม่ได้มีความคิดว่าจะมาทำงานเป็นนักข่าวเลย แต่เพราะความบ้าบอลล้วนๆ จึงทำให้เขาคนนี้โลดแล่นอยู่ในวงการสื่อมานานกว่า 30 ปีแล้ว นับตั้งแต่เริ่มทำงานกับ บริษัท สยามสปอร์ต ซินติเคท จำกัด (มหาชน) ครั้งแรกเมื่อช่วงปี 1993

บูรณิจฉ์ รัตนวิเชียร สมัยเป็นเด็กน้อย
บูรณิจฉ์ รัตนวิเชียร สมัยเป็นเด็กน้อย
ภาพจาก : Facebook Bouranij Abbjom Rattanavichien

บอ.บู๋ เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 48 และระดับปริญญาตรี ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ภาพพิมพ์) จากมหาวิทยาลัยรังสิต

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บอ.บู๋ สะสมประสบการณ์ในวงการสื่อมาอย่างโชกโชน ทั้งการเป็นผู้สื่อข่าว คอลัมนิสต์ประจำ นสพ.สตาร์ซอคเก้อร์ รวมทั้งเคยไปประจำการทำข่าวที่ประเทศอังกฤษ 2 ปี ผ่านการทำข่าวทั้งฟุตบอลโลก, ฟุตบอลยูโร, พรีเมียร์ลีก, ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก ฯลฯ ไม่เพียงแค่นั้นเจ้าตัวยังเคยเป็นหนึ่งในทีมพากษ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกกับทาง “ซีทีเอช” มาแล้วอีกด้วย

ถ่ายรูปกับเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
ถ่ายรูปกับเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
ภาพจาก : Facebook Bouranij Abbjom Rattanavichien

นอกจากจะเขียนคอลัมน์ลงตีพิมพ์ในสื่อกระดาษกับทางต้นสังกัดอยู่เป็นประจำแล้ว บอ.บู๋ ยังบุกตะลุยโลกออนไลน์ด้วยการเปิดเพจกีฬาที่ใช้ชื่อเดียวกันกับนามปากกาตัวเอง เน้นเสิร์ฟคอนเทนต์ฟุตบอลในสไตล์กวนๆ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพจเฟซบุ๊กของเขาผู้ติดตามสูงกว่า 5.5 แสนคน รวมทั้งเปิดช่องยูทูบ “บอ บู๋ Channel” มียอดซับสไครบ์อีกว่า 4.5 แสนคน

ใส่เสื้อลิเวอร์พูลหน้าสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด
ใส่เสื้อแซวลิเวอร์พูลฉลองแชมป์ หน้าสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด
ภาพจาก : Facebook Bouranij Abbjom Rattanavichien

FEED ชวน บอ.บู๋ คุยทั้งเรื่องฟุตบอลโลกในความทรงจำ ชีวิตและประสบการณ์ในวงการสื่อ เขาเล่าว่า ตัวเองเป็นคนบ้าฟุตบอล ชอบทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สุดหัวใจ ช่วงที่ทำงานแรกๆ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอาชีพนักข่าวเขาทำงานอย่างไร แม้กระทั่งเขียนข่าวก็ยังทำไม่เป็นเลย

“จริงๆ ไม่ได้ตั้งใจจะมาเป็นสื่อ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสื่อมวลชน นักข่าวต้องทำอะไรบ้าง ตอนเข้ามาทำงานวันแรก ผมยังไม่รู้เลยนะ ผมรู้แค่ว่าผมบ้าบอล ผมชอบฟุตบอล ผมชอบแมนฯ ยูฯ ผมไม่รู้จะทำงานอะไรอย่างอื่น เขาเรียกว่าบ้าบอลแบบทุกหม้อข้าว”

“คือกูมาทางนี้ทางเดียว จะให้ไปทำอย่างอื่นไม่ได้ จะให้ไปเป็นพนักงานออฟฟิศทำไม่ได้ หรือไปทำบัญชี เป็นทหาร เป็นตำรวจ ก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว เพราะไม่ได้เรียนมา ผมรู้แค่ว่าผมบ้าบอล ผมอยากทำฟุตบอล”

ภาพจาก : Facebook Bouranij Abbjom Rattanavichien

“ซึ่งในยุคของผม ตอนนั้นยังไม่มีโลกโซเชียล รู้กันอยู่แล้ว มันก็จะมีสื่ออยู่เจ้าเดียวที่เปรียบเสมือนตักศิลาของฟุตบอล คือสยามกีฬา และสตาร์ซอคเก้อร์ ผมก็มุ่งมาทางนี้ทางเดียว โดยที่ว่าไม่รู้เลยว่าต้องทำอะไรบ้าง ข่าวเขียนยังไงยังไม่รู้เลย เพราะไม่ได้เรียน ไม่ได้จบมาทางด้านนี้”

“พูดง่ายๆ ว่ามาฝึกหัดเอาจากตอนที่เข้ามานั่นแหละ มาเรียนรู้ มาฝึกหัด เอาง่ายๆ เปรียบเทียบเป็นนักฟุตบอล ผมไม่ได้ลงสนามเลย ผมเริ่มตั้งแต่ฝึกจับบอล ฝึกส่งบอล จับบอล จ่ายบอล ฝึกจับบอล จ่ายบอล เป็นปีๆ”

“จากฝึกจ่ายบอล จับบอลเสร็จ ไปฝึกเดาะบอลต่อ ฝึกเดาะบอลต่อ ไปฝึกโหม่ง จากฝึกโหม่งไปฝึกเปิดบอล จากฝึกเปิดบอลไปฝึกยิงประตู ค่อยได้ลงสนาม ผมผ่านมาแบบนี้ ผ่านหลายขั้นตอนในการพิสูจน์ กว่าจะมีผลงานที่ใช้นามปากกาของเราลงอยู่บนหน้ากระดาษก็ร่วมๆ 2 ปี”

ภาพจาก : Facebook Bouranij Abbjom Rattanavichien

เป็นที่ทราบกันดีว่าการเป็นนักข่าวสมัยก่อนต้องผ่าน “ขั้นตอน-กระบวนการ” ต่างๆ มากมาย แต่ในยุคปัจจุบันใครๆ ก็สามารถสถาปนาตั้งตัวเองเป็นสื่อมวลชนได้ เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต

แต่คอลัมนิสต์คนดังวัย 53 ปี เชื่อว่า ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในโลกโซเชียล คนอ่านจะต้องใช้วิจารณญาณให้สูงมาก เพื่อกลั่นกรอง “ความถูกต้อง-ข้อเท็จจริง” อย่างละเอียดถี่ถ้วน

“พอมาเปรียบเทียบกับยุคนี้แล้ว โอ้โหเดี๋ยวนี้ใครมีมือถือสามารถที่จะตั้งตัวเองเป็นสื่อมวลชนได้เลย ไม่ต้องผ่านกระบวนการอะไรเลย ไม่ได้ว่าสมัยนี้นะ แต่ในความรู้สึกถ้าคุณอ่านอะไรก็ตามที่แม่งลอยอยู่ในโลกโซเชียล มึงต้องเอารังมดแดงหารเยอะๆ มึงต้องใช้วิจารณญาณให้สูงมาก คุณต้องใช้ความคิด ใช้ความไตร่ตรอง ตรึกตรอง ต้องเยอะมาก”

“เพราะว่าตอนนี้มันอนุญาตให้ใครก็ได้มาเขียน แต่ในยุคผมเนี่ยเขาไม่อนุญาตให้เป็นแบบนั้น ผมเริ่มจากเขียนข่าว กว่าจะมาเป็นคอลัมนิสต์ กว่าจะเป็นผู้ดำเนินรายการ กว่าจะมาพากษ์บอลหรืออะไรก็ตามแต่”

“จุดเริ่มต้นเลยก็คือเขียนข่าว เขียนข่าวแค่ 3 ย่อหน้า ข่าวสั้นๆ แค่ 2-3 ย่อหน้า ผมผ่านการถูกขยำทิ้งแล้วแก้ใหม่ 10 กว่ารอบ แค่ข่าวแรก 10 กว่ารอบ กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ผมเลยรู้สึกว่าตัวเองเหมือนผ่านกระบวนการมาพอสมควร”

ภาพจาก : Facebook Bouranij Abbjom Rattanavichien

“ขนาดผ่านมาเกือบๆ 30 ปี มันก็ยังมีข้อผิดพลาด ผมก็เลยอยากพูดให้เป็นข้อคิด เดี๋ยวนี้ทุกอย่างมันอยู่ในโลกโซเชียลหมด ไม่ต้องมีพิสูจน์อักษร ไม่ต้องอะไร อย่าว่าแต่เนื้อข่าวถูกหรือผิดเพี้ยนหรือไม่ผิดเพี้ยนเลย แค่ใช้ภาษาไทยยังใช้กันผิดเยอะแยะมากมายเลย”

“ของผมใช้คำผิดไม่ได้นะ เพราะใช้คำผิดมันเสียเวลา มันต้องให้ปรู๊ฟเขาตรวจ เสียเวลาอีก คือทำข่าวมันต้องใช้ความเร็ว พยายามช่วยให้มันเร็วขึ้นด้วยการเขียนหนังสือ พิมพ์หนังสือให้มันถูกต้อง”

“ทุกคนอาจจะมองว่ามันไม่ใช่เรื่องที่สำคัญอะไร แต่ผมมองว่าก็มึงเป็นคนไทย มึงยังใช้ คะ/ค่ะ ผิด มึงยังใช้ตัวอักษรผิดอยู่เลย”

บอ.บู๋ กับ ระวิ โหลทอง
บอ.บู๋ กับ ระวิ โหลทอง
ภาพจาก : Facebook Bouranij Abbjom Rattanavichien

ส่วนที่มานามปากกา บอ.บู๋ เจ้าตัวเล่าว่า สมัยก่อนตอนเรียนประถม เพื่อนๆ จะเรียกชื่อจริง หรือไม่ก็เรียกชื่อพ่อ และไม่รู้ว่าเด็กสมัยใหม่ เขายังเรียกชื่อพ่ออยู่เปล่า สมมติพ่อชื่อฉลอง เขาก็เรียกไอ้หลอง เพราะชื่อจริงยาวเกินไป เขาก็จะไม่เรียกกัน

“ผมชื่อ บูรณิจฉ์ รัตนวิเชียร ชื่อเล่นจริงๆ ชื่อจอม แต่ตอนที่ผมเรียนเขาไม่เรียกชื่อเล่นจริงๆ สมมติคนชื่อวีระชัย ไม่ชื่อไอ้ชัย ก็ชื่อไอ้วี นึกออกไหมฮะ ของผมก็เหมือนกัน บูรณิจฉ์ เขาไม่เรียกไอ้นิด เขาก็เรียกไอ้บู”

“ตอนแรกเขาก็เรียกไอ้บูๆๆ มันก็เพี้ยนไปเรื่อยๆ บู บู่ บู้ บู๊ บู๋ ตั้งแต่ ป.1 ก็จะชื่อบู๋ จนถึง ม.3 ผมเรียนอยู่ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ผมก็ย้ายออกไปเรียนเตรียมอุดม ม.4-ม.6 ผมไม่ได้บอกนะว่าผมชื่อบู๋ แม่งตลกนะ เพื่อนที่เตรียมฯ ก็เรียกผมบู๋”

ภาพจาก : Facebook Bouranij Abbjom Rattanavichien

“เฮ้ย here ไรวะ แม่งรู้ได้ไงวะว่ากูชื่อบู๋ โอเคไม่เป็นไร จากเตรียมอุดม ผมเข้ามหาวิทยาลัย เรียนอีก 4-5 ปี เขาก็เรียกไอ้บู๋หมดเลยนะ พอมาทำงานที่สยามกีฬา จนถึงช่วงที่ บก. เขาอนุญาตให้เรามีนามปากกา”

“เราไม่ใช้ชื่อจอม ใช้ชื่อบู๋นี่แหละ เป็นชื่อที่ทุกคนคุ้นเคย ใช้คำว่าบู๋ก่อน แต่ยังไม่ได้ลงหนังสือพิมพ์นะ ตอนนั้นคิดว่าบู๋แล้วมันจะอะไร บู๋มันห้วนไปหน่อย มันสั้น มันทื่อไปหน่อย”

ภาพจาก : Facebook Bouranij Abbjom Rattanavichien

“นักข่าวคอลัมนิสต์ที่ผมนับถือมากที่สุด เอาเป็นต้นแบบคือคุณ ย.โย่ง เอกชัย นพจินดา เขาเรียกว่าตั้งนามปากกาแบบบูชาครู พี่โย่งแม่งดังว่ะ here กูตั้งแบบนี้ดิวะ เขียนหนังสือ ก็เลยใช้คำว่า บอ.บู๋ นี่แหละคือที่มา”

บูรณิจฉ์ รัตนวิเชียร กล่าวทิ้งท้ายพร้อมเสียงหัวเราะ

อ่านเพิ่มเติม : ฟุตบอลโลกในความทรงจำ “บอ.บู๋” บูรณิจฉ์ รัตนวิเชียร

เด็กฝั่งธนฯ ที่บ้านเลี้ยงแมว 2 ตัว เชียร์ทีมชาติไทย ชอบสะสมหุ่นจำลอง แต่ยังไม่ได้แกะออกมาจากกล่องสักที!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก