วันที่ 18 มิ.ย. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา มีพล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ … ) พ.ศ. … หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว พิจารณาเสร็จแล้ว

ภายหลังให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นครบทั้ง 69 มาตรา โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ที่ประชุมลงมติเห็นชอบกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม ด้วยคะแนน 130 ไม่เห็นด้วย 4 และงดออกเสียง 18 เสียง และมีมติให้ส่งไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาอีกครั้ง เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้สามารใช้บังคับได้หลังประกาศในราชกิจจาฯ 120 วัน

แต่อย่างไรก็ตาม มติเห็นชอบกฎหมายสมรสเท่าเทียม พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ได้ออกมาค้านขอเปลี่ยนนิยามกลับมาเป็น “ชายหญิง” แทน “บุคคล” อ้างเซาะกร่อนบ่อนทำลายครอบครัว ชี้แก้กฎหมายแบบนี้ เป็นการกดเพศ “ชาย-หญิง” ลงไปอยู่กับกลุ่ม LGBTQ

โดยพล.อ.วรพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับวิธีการ และหลักการในการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้ การเอาคำว่า สามีภรรยา เพศชาย เพศหญิงออกไป และใช้คำอื่นมาแทน เช่น คู่สมรส คู่หมั้น ซึ่งไม่ได้ระบุเพศที่ชัดเจนมาแทนโดยอ้างว่า เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม การแก้ไขแบบนี้ ตนถือว่า เป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันครอบครัวอย่างรุนแรงที่สุด เพราะสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญของสังคมไทย และอยู่ในสภาพที่เปราะบาง การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สถาบันครอบครัวพังทะลายลงเร็วขึ้น

“ถ้าถามว่า ครอบครัวประกอบด้วยใครบ้าง ถามเด็ก ถามใคร ถามผู้ใหญ่ ถามที่โรงเรียน ก็จะบอกว่าประกอบด้วยพ่อแม่ ลูก พ่อคือผู้ชายแม่คือผู้หญิงหรืออาจจะบอกว่า ประกอบด้วยสามีภรรยาและบุตร สามีคือผู้ชายภรรยาคือผู้หญิง บุตรก็ว่าไป คำพวกนี้ เขามีความหมาย และระบุเพศไว้ชัดเจนว่า เพศอะไร เพศกำเนิด ที่สำคัญคือคำว่า สามีภรรยา จะปรากฏอยู่ในกฎหมายฉบับนี้เป็นที่แรก เพราะเกิดจากการสมรส ถ้าเอาออกไปจะหายไปจากสารบบภาษาไทย จะสะเทือน ถึงสถาบันครอบครัว ไปถึงเรื่องเพศชาย เพศหญิง” พล.อ.วรพงษ์กล่าว

พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร

พล.อ.วรพงษ์กล่าวต่อว่า การแก้ไขตรงนี้ จะบานปลายต่อไปอีก เพราะฉะนั้นต้องคิดให้ดี ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ตนจึงบอกว่า การแก้กฎหมายแบบนี้ ไม่ได้เป็นการยกระดับ LGBTQ ขึ้นมาให้เท่าเทียมกับเพศชายเพศหญิง แต่เป็นการกดเพศชายเพศหญิงลงไปให้เข้ากับ LGBTQ จะทำให้ภาพเบลอไม่ชัด เพราะใช้คำว่าคู่สมรส คู่หมั้น

“ทำให้ผมมั่นใจว่า หากกฎหมายฉบับนี้ออกไป ทางกลุ่ม LGBTQ ก็จะไปเรียกร้องให้แก้ไขโครงสร้างทางสังคม องค์ประกอบของสถาบันครอบครัว ของแบบเรียน ของมหาดไทยต่างๆ เพื่อให้เข้าไปในกลุ่มของท่าน ทะเบียนสมรสก็ออกแบบใหม่อีกแล้ว ไม่มีผู้ชายชื่ออะไร ผู้หญิงชื่ออะไร มันก็แปลกๆ แล้วสังคม จะเป็นอย่างไรผมติดใจการแก้ไขกฎหมาย ทำไมกมธ.ถึงไม่เอะใจ ว่า กฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง การแก้ไขกฎหมายแบบนี้ได้ 10 เสีย 90 สังคมและสภาพครอบครัวถูกเซาะกร่อนทำลาย ถ้าไม่ตั้งใจก็ถือว่าดี แต่ถ้าตั้งใจก็ถือว่า แย่มาก ผมขอให้พอยังกลับตัวทัน และขอให้เพื่อนสมาชิกฟังผมอธิบายด้วยความรอบคอบก่อนที่จะลงมติ” พล.อ.วรพงษ์กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก