จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทย ออกระเบียบการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2566 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 นั้น  โดยเพิ่มเกณฑ์การได้รับเบี้ยตัวนี้ ว่าต้อง ” เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด “

นั่นหมายความว่า การจ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะไม่อัตโนมัติแล้ว  (เดิมถ้าอายุครบ 60 ปี และไม่ใช่ข้าราชการบำนาญ และไปขึ้นทะเบียนไว้ ก็จะได้เบี้ยตัวนี้อัตโนมัติ)

เพราะจะต้องมาพิจารณาว่า  “เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ”  หรือไม่? ซึ่งต้องรอคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ  กำหนดหลักเกณฑ์ออกมา ว่า แค่ไหน เพียงไร จึงจะเข้าข่าย

ทีนี้มาถึง ผู้ประกันตน (ที่ส่งเงินประกันสังคมไปทุกเดือน)  เริ่มกังวล และต้องการหาคำตอบว่า ระเบียบนี้ จะกระทบกระเทือนสิทธิ์เดิมที่ได้รับหรือไม่

เพราะตามระเบียบเดิม    ไม่กระทบ สามารถรับได้ 2 ทาง ทั้ง บำนาญประกันสังคม และเบี้ยผู้สูงอายุ

แต่พอมีระเบียบใหม่ ก็เริ่มไม่มั่นใจ

เพราะ  ปัญหาที่ว่า  “เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือไม่มีรายได้เพียงพอ แก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด”   จะมีความหมายว่าอย่างไร

เอาเป็นว่า จะชัดเจน ก็ต่อเมื่อ คณะกรรมการผู้สูงอายุกำหนดออกมา

ทีนี้ในเบื้องต้น เราลองมาไขคำตอบ จากระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ไปพร้อมๆ กันดังนี้

คำถาม  :  เดิมก่อนการแก้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2566 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 นั้น ผู้รับบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคม สามารถรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และ บำนาญชราภาพประกันสังคมได้ทั้ง 2 ทางหรือไม่

คำตอบ : คือ สามารถรับได้ทั้ง 2 ทาง  ทั้งเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และบำนาญชราภาพประกันสังคม

 คำถาม  :   ทำไมถึงรับได้ทั้ง 2 ทาง เพราะระเบียบเดิม ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตาม (4) บัญญัติไว้ว่า “ต้องไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่

(ก) ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน

(ข) ……..

(ค) ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทน อย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ”

คำตอบ : เพราะว่า บำนาญชราภาพประกันสังคมนั้น ไม่ใช่บำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน หรือเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ

เงินบำนาญชราภาพนั้น เป็นเงินจากกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีที่มาจากการจ่ายสมทบของลูกจ้างผู้ประกันตน และนายจ้าง  (แม้มีเงินสมทบของรัฐด้วยก็เป็นส่วนน้อย)  กับผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้จากนำเงินกองนั้นไปลงทุน

เงินที่นำมาจ่ายเป็นบำนาญชราภาพ แก่ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตน จึงไม่ใช่เงินจากรัฐที่จัดมาให้ 

ดังนั้น แม้ผู้รับบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคม จะได้รับบำนาญเป็นรายเดือนจากสำนักงานประกันสังคม แต่ก็ไม่ใช่เงินตามข้อ 6 (4) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ใช่เงินจากงบประมาณของรัฐ

คำถาม  :  เมื่อมีการแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2566 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 แล้ว  จะมีผลต่อผู้รับบำนาญประกันสังคม อย่างไรหรือไม่  เนื่องจากระเบียบใหม่ ข้อ 6 ได้ตัด ความใน(4) เดิมออกไปทั้งหมด แล้วแก้ไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่ เป็นว่า

ข้อ 6 (4) ” เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด “

คำตอบ : ในเบื้องต้นผู้รับบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคมในแต่ละเดือนก็นับว่าเป็นผู้มีรายได้

อย่างไรก็ตาม  รายได้บำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคม ที่ได้รับมาแต่ละเดือนนั้น จะเป็นรายได้ที่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนดหรือไม่ ตรงนี้ต้องรอ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กำหนดเป็นระเบียบออกมา

คำถาม  :  คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ อาจกำหนดเกณฑ์รายได้ที่เพียงพอแก่การยังชีพ เช่นเดียวกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงทะเบียนเพื่อได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นไปได้หรือไม่?  หากเป็นเช่นนี้จะกระทบกระเทือนต่อผู้รับบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคมหรือไม่?

คำตอบ : เรามาดูคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กำหนดไว้ว่า

” 1.รายได้ของผู้ลงทะเบียนต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี

2.ไม่มีทรัพย์สินทางการเงินได้แก่เงินฝากธนาคาร สลากออมสินสลากพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ หรือมีทรัพย์สินทางการเงินดังกล่าว จะต้องมีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

3. ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายหรือ ถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

 3.1 ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านและที่ดิน)

1) กรณีที่อยู่อาศัยอย่างเดียว

1.1 บ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา

1.2 ถ้าเป็นห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร

2)กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่

3.2 ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย

1)ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรต้อง  มีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่

2)ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่”

ในเรื่องของทรัพย์สินต่างๆ น่าจะไม่เกี่ยว น่าจะเป็นคนละส่วนกัน เพราะผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดเฉพาะเรื่องรายได้ว่า “เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ”

ดังนั้น ถ้าคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ จะกำหนดเกณฑ์สำหรับผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คงจะได้กำหนดเรื่องรายได้เป็นสำคัญ  คงไม่ได้คำนึงถึงเรื่องทรัพย์สินที่มีอยู่

มีปัญหาว่า บำนาญชราภาพประกันสังคม ต่อเดือนนั้นเป็นจำนวนเท่าใด และเมื่อคิดรวมตลอดทั้งปี จะเป็นจำนวนเกินกว่า 100,000 บาทหรือไม่

ต่อไปนี้  เป็นบำนาญชราภาพประกันสังคม รายเดือนขั้นสูง (สำหรับที่ส่งเงินสมทบมาครบ 180 เดือนและมากกว่า โดยผู้ประกันตนอายุเกิน 55 ปี  ไม่ได้ทำงานประจำที่จะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือไม่ส่งเงินสมทบเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แล้ว)

ส่ง 15 ปี 180 งวด                 บำนาญ 3,000 บาท/ด

ส่ง 16 ปี 192 งวด                                 บำนาญ 3,225 บาท/ด

ส่ง 17 ปี 204 งวด                                 บำนาญ 3,450 บาท/ด

ส่ง 18 ปี 216 งวด                                 บำนาญ 3,675 บาท/ด

ส่ง 19 ปี 228 งวด                                 บำนาญ 3,900 บาท/ด

ส่ง 20 ปี 240 งวด                                 บำนาญ 4,125 บาท/ด

ส่ง 21 ปี 252 งวด                                 บำนาญ 4,350 บาท/ด

ส่ง 22 ปี 264 งวด                                 บำนาญ 4,575 บาท/ด

ส่ง 23 ปี 276 งวด                                 บำนาญ 4,800 บาท/ด

ส่ง 24 ปี 288 งวด                                 บำนาญ 5,025 บาท/ด

ส่ง 25 ปี 300 งวด                                 บำนาญ 5,250 บาท/ด

ส่ง 26 ปี 312 งวด                                 บำนาญ 5,475 บาท/ด

ส่ง 27 ปี 324 งวด                                 บำนาญ 5,700 บาท/ด

ส่ง 28 ปี 336 งวด                                 บำนาญ 5,925 บาท/ด

ส่ง 29 ปี 348 งวด                 บำนาญ 6,150 บาท/ด

ส่ง 30 ปี 360 งวด                                 บำนาญ 6,375 บาท/ด

โดยเป็นการคิดจากฐานเงินเดือนสูงสุด เพื่อการเรียกเก็บเงินสมทบประกันสังคม   15,000 บาทต่อเดือน (ในอนาคตหากมีการปรับฐานเงินเดือนสูงสุดเพิ่มขึ้นและเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน     เงินบำนาญชราภาพต่อเดือนย่อมสูงขึ้น)

ณ ปัจจุบัน  (เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566) บำนาญชราภาพสูงสุดอยู่ที่ 5,025  บาทต่อเดือน รายได้ปีหนึ่งเป็นเงิน 60,300 บาทเท่านั้น ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ารายได้ผู้มีคุณสมบัติทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพราะเกณฑ์รายได้นั้นกำหนดว่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

หมายเหตุ   เกณฑ์การกำหนดบำนาญชราภาพ เริ่มต้นที่ปี 2542 (เพราะฉะนั้น บำนาญชราภาพสูงสุดจนถึงปัจจุบันปี 2566 จึงคิดที่ 24 ปี)

สรุป

 แม้คณะกรรมการผู้สูงอายุจะใช้เกณฑ์ ของผู้มีคุณสมบัติรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาเป็นเกณฑ์ว่าเป็น  “ผู้ไม่มีรายได้ หรือ ผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ”   ผู้รับบำนาญชราภาพประกันสังคม น่าจะยังไม่กระทบกระเทือนจากระเบียบเรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแต่อย่างใด   แม้รับบำนาญชราภาพประกันสังคมอยู่   ก็สามารถรับเบี้ยยังขีพผู้สูงอายุได้ไปพร้อมๆกันได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก