รศ.ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวในการประชุมวิทยาศาสตร์การเสพติด ปี 2566 ในประเด็นของ กัญชาและกระท่อม ว่านโยบายยาเสพติดและการนำสู่การปฏิบัติ (Thailand Addiction Scientific Conference 2023: Drug Policy and Implementation) หัวข้อประเด็นเชิงสุขภาพและสังคมภายหลังปลดล็อก กัญชาและกระท่อม ว่า

กัญชาและกระท่อม

จากการวิจัยการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าสารเซโรโทนินจากใบกระท่อมออกฤทธิ์ส่งผลต่อการทำงานของสมอง สามารถตอบโจทย์บำบัดรักษาภาวะโรคอ้วน และภาวะซึมเศร้าได้ แต่การนำใบกระท่อมมาใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยติดยาเสพติด ประเภทมอร์ฟีน เฮโรอีน และยาบ้า ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ และไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนการบำบัดรักษาทางการแพทย์ปัจจุบันได้

รศ.พญ.พิมพ์ศิริ ศรีพงศ์พันธุ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์​ นำเสนอผลการศึกษาผลกระทบของกัญชาต่อระบบการทำงานของตับและทางเดินทางอาหารพบว่า ทั้งสารออกฤทธิ์ THC และ CBD ในกัญชาส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาท ทำให้การทำงานของทางเดินอาหารช้าลง ส่งผลให้ค่าตับสูง ผลการศึกษาวิจัยยังบ่งชี้อันตรายทางสุขภาพอื่นที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองและหัวใจวายเฉียบพลัน ความจำเสื่อมชั่วขณะ

กัญชาและกระท่อม

“สำหรับกระท่อม มีรายงานการศึกษาว่าหากใช้ในรูปแบบค็อกเทลอย่าง “สี่คูณร้อย” ซึ่งเป็นสารเสพติดที่เกิดจากการนำยาน้ำแก้ไอมาผสมกับใบกระท่อม และน้ำอัดลม ติดต่อกันเป็นเวลานานจะ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ และยังมีรายงานการเสียชีวิตจากการเก็บข้อมูลของศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วงปี 2553-2560 จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้กัญชาและใบกระท่อมในระยะยาวต่อไป” รศ.พญ.พิมพ์ศิริ

พญ.สรสพร จูวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ดูแลกลุ่มงานสังคมเคราะห์ งานสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน กล่าวว่า ภาคใต้ของไทยมีการใช้ใบกระท่อมสูตรค็อกเทล “สี่คูณร้อย” สูงสุดในไทยคือ 178,116 คน คิดเป็น 25.4 ต่อประชากรพันคน รองลงมาคือ กรุงเทพฯ 159,296 คน คิดเป็น 37 ต่อประชากรพันคน สำหรับสูตร 4×100 มาจาก 100 บาท เสพได้ 4 คน การเสพใบกระท่อมในรูปแบบน้ำผสมจะได้รับสารเสพติดมากกว่าการเคี้ยวใบสด เพราะปริมาณการเสพมากกว่า มีรายงานพบผู้ป่วยไส้เน่า อาเจียนเป็นเลือดจากการเสพสี่คูณร้อยปริมาณมากเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง

กัญชาและกระท่อม

อย่างไรก็ตาม ใบกระท่อมมีประโยชน์ช่วยลดความดัน ไขมัน น้ำตาลได้ แต่การใช้ใบกระท่อมผลที่ได้มีทั้งด้านบวกและลบ ไม่สามารถใช้ได้ปลอดภัย 100% แต่หากมีการวิจัยรับรองประโยชน์ทางการแพทย์ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ได้” พญ.สรสพร กล่าว

กัญชาและกระท่อม

ด้าน ศ.วิกนาสิงงาม บาราสิงงาม จาก มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ มาเลเซีย (Prof. Vicknasingam Barasingam, UniversitiSains Malaysia) กล่าวว่า มาเลเซียมีกฎหมายควบคุมการใช้ใบกระท่อม เนื่องจากใบกระท่อมยังเป็นสารเสพติดอันตราย ปัจจุบันยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับการใช้ใบกระท่อมและกัญชาในทางการแพทย์จากองค์กรในระดับนานาชาติที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงและเป็นแนวทางในการควบคุมและใช้ใบกระท่อมและกัญชาเพื่อการบำบัดรักษาทางการแพทย์โดยเฉพาะงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชนที่น่าเชื่อถือพอ ทั้งนี้ ไทยและมาเลเซียในฐานะประเทศที่มีผลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ใบกระท่อมมากกว่าประเทศอื่นในขณะนี้ จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ติดตาม ผู้ป่วยและศึกษาวิจัยผลกระทบเชิงสุขภาพจากการใช้สมุนไพรทั้งสองชนิดเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป

แหล่งที่มาและข้อมูล : ข่าวสด

Straight roads are for fast cars, turns are for fast drivers.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก