ช่วงเวลาที่รู้สึกมีความสุขมักจะผ่านไปไวเสมอ วันหยุดก็เช่นกัน สำหรับเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2566 แม้บางแห่งจะมีการจัดงานวันไหลอยู่ แต่หลายคนก็ต้องเตรียมตัวกลับมาทำงานตามปกติแล้ว หลังจากหยุดยาวไปพักผ่อนกับเพื่อนๆ ครอบครัว หรือเดินทางไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ อย่างสนุกสนานและเพลิดเพลิน เมื่อจะต้องกลับมาทำงานก็จะรู้สึกไม่อยากทำ หรือรู้สึกเบื่อหน่ายขึ้นมาเพราะอารมณ์ยังค้างอยู่

การกลับไปทำงานต่อหลังจากวันหยุดยาวนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนแค่คิดเรื่องงาน ก็รู้สึกเหนื่อยหรือหดหู่แล้ว เพราะยิ่งเรามีความสุขกับวันหยุดพักผ่อนมากเท่าไร โอกาสเผชิญหน้ากับภาวะ Post Vacation Blues ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

โดยผู้ที่ตกอยู่ในภาวะนี้จะรู้สึกไม่สดชื่น อาจมีปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว มีความกังวลเรื่องทุกอย่างจนเกินเหตุ เหนื่อยง่าย พักผ่อนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ไม่ค่อยมีสมาธิ หงุดหงิดง่าย หรือบางคนอาจรู้สึกจมดิ่งไปกับอารมณ์เศร้าหมอง

ตามหลักจิตวิทยา ภาวะ Post-Vacation Blues ไม่ใช่โรคทางจิตเวช แต่อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาวจะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะหายไปเอง เพราะคนปกติจะปรับตัวได้หลังจากเริ่มต้นใช้ชีวิตตามปกติ

วิธีรับมือกับภาวะ Post-Vacation Blues เมื่อต้องกลับมาทำงานหลังวันหยุด

1.หางานอดิเรกทำ
ในช่วง 2-3 วันแรก หลังจากกลับมาทำงาน ถือเป็นช่วงที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับสภาพจิตใจ วิธีรับมือคือการทำงานอดิเรกที่ชอบ หรือทำแล้วมีความสุข จะได้ไม่เบื่อ และไม่ซึมเศร้าจนเกินไป เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำอาหาร วาดภาพ เล่นกับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

2.นับถอยหลังวันหยุดครั้งหน้า
แม้จะหมดสงกรานต์แล้ว แต่วันหยุดยาวในโอกาสอื่นยังมีอีกหลายวัน เพราะฉะนั้นแทนที่จะกังวลกับความหยุดที่ผ่านมาแล้ว ลองนึกถึงวันหยุดที่กำลังจะมาถึงในวันข้างหน้า แล้ววางแผนว่าจะไปท่องเที่ยวที่ไหน หรือทำกิจกรรมอะไรในช่วงนั้นดี การทำเช่นนี้จะช่วยให้เรามีความสุข สนุกกับการวางแผน และตื่นเต้นกับอนาคตที่รอเราอยู่

3.ออกกำลังกาย
ขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอนโดรฟิน ให้เรามีความสุข ลืมความทุกข์ไปชั่วขณะ นอกจากนั้นยังทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย การเพิ่มความกระฉับกระเฉงเพียงเล็กน้อย สามารถกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและเผาผลาญแคลอรีด้วยการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ โดยเราอาจทำแค่วิดพื้น แพลงก์ สควอช ฯลฯ ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

4.ฟื้นฟูร่างกาย
สำหรับผู้ที่ยังรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย ควรมองหาอาหารจำพวกโปรตีนปราศจากไขมัน เช่น เนื้อสัตว์ ไก่ ปลา ผลไม้และผักสดที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ในปริมาณสูง รวมทั้งไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอกและถั่วในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนอาหารเสริมที่จะช่วยให้ปรับตัวได้เร็วยิ่งขึ้น ได้แก่ วิตามินบีรวม วิตามินซี วิตามินอี สารแคโรทีน สารไลโคพีน โคเอนไซม์ Q10 และ N-acetylcysteine (NAC) เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างพลังงานภายในเซลล์ร่างกายและกล้ามเนื้อ

5.สมดุลการนอนหลับ
ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา หลายคนออกไปเล่นน้ำกันอย่างเมามัน หรือปาร์ตี้กันสุดเหวี่ยง ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ การนอนหลับให้เพียงพอในช่วง 2-3 วันแรกหลังกลับจากไปเที่ยวเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะขณะหลับร่างกายจะมีการซ่อมแซมและปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง เพื่อกลับมาสู่โหมดภาวะปกติ ดังนั้นจึงควรนอนในเวลาที่เหมาะสมประมาณ 22.00 น. ทุกคืน และควรนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูกลับสู่สภาวะเดิมได้รวดเร็ว

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก :โรงพยาบาลสมิติเวช , ประชาชาติ , ข่าวสด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก