จุดกำเนิด “ธี่หยด” มาจากกระทู้พันทิปชื่อว่า “กระทู้ผีฟีเวอร์…ลองมาฟังเรื่องลึกลับของผมบ้าง” ลงไว้เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 โดยเจ้าของเรื่องคือ กิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์ ซึ่งได้รับฟังข้อมูลสุดหลอนมาจากคุณแม่ของตน

จากนั้น “ธี่หยด” ก็ถูกพูดถึงเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ถึงความหลอน จนนำไปสู่การเขียนนวนิยาย รายการผี และล่าสุดคือการนำเรื่องนี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์ ดำเนินการสร้างโดยช่อง 3 และ M STUDIO (เอ็ม สตูดิโอ)

นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ (ยักษ์), ‘มิ้ม’ รัตนวดี วงศ์ทอง (แย้ม), ‘เดนิส’ เจลีลชา คัปปุน (หยาด), ‘จูเนียร์’ กาจบัณฑิต ใจดี (ยศ), ‘เฟรนด์’ พีระกฤตย์ พชรบุณยเกียรติ (ยอด), ‘นีน่า’ ณัฐชา พาโดวัน (ยี่) ฯลฯ ฝีมือการ กำกับฯ ของ ‘คุ้ย’ ทวีวัฒน์ วันทา โดยมี ‘แป๊บ’ ณฤทธิ์ ยุวบูรณ์ รับหน้าที่โปรดิวเซอร์ บทภาพยนตร์ โดย สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ และ ธรรมณันน์ จุฬาบริรักษ์

สำหรับ “ธี่หยด” เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 2515 ได้เกิดเหตุการณ์สะพรึงขวัญเด็กสาวในหมู่บ้านห่างไกลแถบ จ.กาญจนบุรี เสียชีวิตอย่างปริศนา ข่าวเด็กสาวตายอย่างน่าสยดสยองแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่คนในครอบครัวก็สัมผัสได้ถึงความเร้นลับ

ภาพยนตร์เรื่อง "ธี่หยด"
ภาพยนตร์เรื่อง “ธี่หยด”

ทั้งนี้ คุ้ย ทวีวัฒน์ ผู้กำกับฯ ได้เปิดเผยถึงที่มาในการทำภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า “ระหว่างทำละคร มีคนเขียนบทก็คือดร.กอล์ฟ (สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์) เขาบอกนิยายเรื่องนี้ดังนะ มันเป็นกระทู้ในพันทิป แล้วถูกทำเป็นนิยายผี เขาบอกมันน่ากลัว ผมก็บอกน่ากลัวอะไรวะนิยาย ผมอ่านนิยายมาเยอะแยะ นิยายไม่เคยน่ากลัวสำหรับผม แล้วผมก็เอานิยายเรื่องนี้ไปอ่าน ผมตกใจมาก…เห้ย มันทำให้ผมขนลุกได้ ด้วยบรรยากาศ ด้วยเรื่อง ผมนี่โอ้โห เราเจอซอร์ซแล้ว คือสิ่งที่เราอยากทำเป็นหนัง”

“แต่ ณ วันที่หนังสือออก การเดินทางมันใช้เวลาอยู่ประมาณ 6 ปี กว่าจะได้ทำเป็นหนัง เพราะไปยื่นหลายๆ เฮาส์ แต่บางเฮาส์บอกไม่ได้ มันต้องเป็นไปตามสูตรฮอลลีวู้ด 1 2 โป๊ะ 1 2 โป๊ะ ผีต้องหลอกให้สะดุ้งทั้งเรื่อง แต่นิยายธี่หยดไม่ใช่แบบนั้น มันเป็นเรื่องบรรยากาศ เป็นเรื่องความน่ากลัว เพราะอีกครึ่งทางที่มันมาและพอยต์ มีผีคอมโบ มันจะไม่ได้หลอนแบบสูตรฮอลลีวู้ด ธี่หยด เป็นเรื่องของบรรยากาศ เป็นเรื่องของครอบครัวครอบครัวหนึ่ง ที่โดนสิ่งชั่วร้ายวิญญาณร้ายคุกคาม แล้วจะต้องเอาตัวรอดกับมันยังไง พอได้ทำเรารู้สึกสนุก เรื่องจะไม่เหมือนในนิยายร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เส้นเรื่องเหมือนเดิม ตัวละครเหมือนเดิม คุณเป็นแฟนคลับพี่ยักษ์ เป็นแฟนนิยาย พี่ยักษ์ก็จะโชว์ความดุเดือด เลือดพล่านให้ได้เห็น”

ภาพยนตร์เรื่อง "ธี่หยด"
ภาพยนตร์เรื่อง “ธี่หยด”

ด้าน ณเดชน์ คูกิมิยะ ที่รับบท ‘ยักษ์’ กล่าวว่า “ผมมีโอกาสได้อ่านนิยาย พอมาเป็นในรูปแบบของบทภาพยนตร์ เราต้องมาตีความตัวยักษ์อีกทีหนึ่ง ตามมุมมองของพี่คุ้ย ผู้กำกับฯ และตัวเรา ซึ่งพี่เขาบอกว่ามันเป็นคนบ้าคนหนึ่งที่สามารถจะไล่ยิงผีได้โดยที่ไม่ต้องคิดแม้แต่วินาทีเดียว มันเป็นคนมุทะลุ เป็นคนบ้าระห่ำคนหนึ่ง มันมีความแอ๊กชั่นอยู่ในเรื่องนี้ มันเลยทำให้ผมรู้สึกว่าโอเค ถ้าอย่างนั้นมันน่าสนใจแล้วแหละ เพราะถ้าจะให้ผมเล่นแบบกลัวผีอย่างเดียว หรือเป็นผีหลอกผีหลอนอย่างนี้ บางครั้งด้วยความที่ตัวละครมันเป็นเรื่องราวเยอะ พอมีอะไรให้เราแตกต่างจากแค่เรื่องกลัวผี เราเลยรู้สึกว่าน่าสนใจ ยิ่งเป็นเรื่อง แอ๊กชั่นเบาๆ อย่างเงี้ย ก็เลยตอบตกลงว่าอยากเล่น แล้วพอได้อ่านบท ก็รู้สึกว่า โห…พี่ นี่มันหนังแอ๊กชั่นชัดๆ เลย”

ณเดชน์กล่าวต่อว่า “ธี่หยด มันคือเสียง บทสวด เป็นภาษาชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ภาษา บ้านเรา ไม่ใช่บทสวดอะระหังสัมมาฯ แต่เป็นเหมือนบทสวดของคนเล่นของ ทางมอญ ทางเขมร อะไรพวกเนี้ย แต่ในบทสวดยาวๆ เนี่ยมันไม่ได้มีคำว่าธี่หยด แต่ในบทสวดยาวๆ นั้นมันจะมีสำเนียงบางอย่างที่เปล่งชัดออกมา ที่บุคคลในเรื่องตีความว่า มันออกเสียงว่า ธี่หยด มันคือบทสวดที่ทุกครั้งที่เกิดเรื่องเหนือธรรมชาติเกิดขึ้นกับครอบครัวนี้ เวลาที่รู้สึกง่วงนอน รู้สึกเหมือนหมดพลัง กำลังจะถูกมนต์สลบลง มันจะมีเสียงเนี้ยเข้ามาคลอในหู ใกล้เข้ามาๆ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ จนเรายื้อไม่ไหว และก็อาจจะสลบ หรือไม่ก็โดนสะกด มันเลยเป็นที่มาของชื่อเรื่องชื่อนิยายชื่อภาพยนตร์”

“ธี่หยด” แปลว่าอะไร? ใช่ “ภาษามอญโบราณ” จริงหรือ?

หากอ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า ธี่หยด จริงๆ แล้วมันแปลว่าอะไร และจะใช่ภาษามอญ ตามที่มีการบอกเล่าต่อๆ กันมาหรือไม่

กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม ได้สอบถามไปยัง ดร.องค์ บรรจุน อาจารย์ประจำคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมอญ ว่า “ธี่หยดมาจากภาษามอญว่า เตี๊ยะหยด ที่แปลว่า โอม ใช่หรือไม่?”

และเมื่อ ดร.องค์ ได้ฟังเรื่องธี่หยดย้อนหลังใน YouTube THE GHOST RADIO แล้วให้คำตอบถึงประเด็นนี้ไว้ดังนี้

ภาพยนตร์เรื่อง "ธี่หยด"
ภาพยนตร์เรื่อง “ธี่หยด”

“ไม่เคยได้ยิน ที่มาของคำไม่ชัด เพราะคนแวดล้อมในเหตุการณ์ไม่รู้ แค่เล่าจากความทรงจำเมื่อ 50 ปีที่แล้ว จากนั้น คนที่ฟังรายการผีนี้แล้วช่วยตีความ ‘ลากเข้าความ’ ให้ภายหลัง ซึ่งเสียง โอม แบบฮินดู มอญออกเสียงว่า อูม ถ้าจะให้ผมช่วยหาคำศัพท์มอญอะไรสักคำที่ใกล้ ‘ธี่หยด’ เท่าที่ผมมีคลังศัพท์ก็คือ ‘แตะ โหยด’ แปลว่า ยัก (เอว)”

เมื่อสอบถามอีกครั้งว่า ธี่หยดใช่ภาษามอญหรือไม่? ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมอญ ตอบย้ำว่า “เท่าที่เกิดมา จากความรู้เท่าที่มี ตอบได้ว่าไม่ใช่ภาษามอญครับ”

ด้านคุณกิตก็เคยตอบคำถามถึงข้อสงสัยของคำว่าธี่หยดในกระทู้พันทิป (ความคิดเห็นที่ 1897) ว่า “ไม่ทราบครับ เรื่องผ่านมาหลายสิบปี คนเล่ายังไม่รู้เลยว่าเป็นเสียงอะไร ผมจะไปรู้ได้ยังไงครับ”

คุณแม่ของคุณกิต ก็ไม่ทราบว่าเสียงดังกล่าวนั้นคืออะไร และเรื่องนี้ก็เกิดขึ้นมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว การที่ถอดเสียงออกมาแล้วสะกดเป็นคำว่าธี่หยดจึงอาจจะมีความผิดเพี้ยนได้

มนุษย์เรามักจับเอาเสียงที่ไม่รู้จักมาเทียบกับเสียงที่รู้จักหรือคุ้นเคย เหมืองกับ “มุกุงฮวาโกชี พีออตซึมนีดา” คนไทยก็ออกเสียงเป็น “โกโกวา…” เหมือนกับ “high all the time” คนไทยก็ออกเสียงเป็น “ต่ายยย อรทัยยย” เหมือนกับ “makeba” คนไทยก็ออกเสียงเป็น “นักเก็ตปลา” เหมือนกับ “little lion” คนไทยก็ออกเสียงเป็น “ลิตรเท่าไหร่อะ”

“ธี่หยด” จึงไม่ใช่ภาษามอญตามที่มีการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ คงจะเป็นการ ‘ลากเข้าความ’ ให้คำนี้เป็น “ภาษามอญ” เพราะจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ติดกับประเทศเมียนมา ซึ่งชายแดนด้านนั้นก็มีการติดต่อกับชาวมอญมานานนับร้อย ๆ ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก : ข่าวสดศิลปวัฒนธรรม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก