แนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกล เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับการจับตามากที่สุด  ด้วยความพยายามที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม การทลายทุนผูกขาด รวมทั้งการปรับแก้กฎหมายภาษีหลายฉบับ

ทีมงาน FEED มีโอกาสพูดคุย กับ “ศิริกัญญา ตันสกุล” หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ซึ่งมีแนวคิดและนโยบาย ที่น่าสนใจดังนี้

ช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลใหม่ คิดว่านักลงทุน กังวลเรื่องไหนมากที่สุด?

“คิดว่าสิ่งที่นักลงทุนกังวลมากที่สุดคือความไม่แน่นอนในการการจัดตั้งรัฐบาล ก็พยายามไปดูบทวิเคราะห์ของไทยและต่างประเทศ จุดหนึ่งที่พูดตรงกันคือสุดท้ายแล้วการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงได้หรือไม่ เพราะมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ด้วยกติกาของ รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ตาม ม. 272 ที่ให้ ส.ว. มาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ เป็นปมหนึ่งปมที่จะนำพาประเทศไปสู่ทางตันก็ได้ ไปสู่ทางออกได้ จุดนี้ ที่ทำให้นักลงทุนไม่กล้าลงทุนทั้งในตลาดทุน และการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ เพราะว่าสิ่งที่จะตามมาคือ เรื่องงบประมาณปี 2567 ที่จะออกค่อนข้างล่าช้า บวกกับมีรัฐบาลใหม่ที่ต้องเข้าไปปรับแก้งบประมาณเดิมที่ต้องให้สอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลใหม่เสนอ ทำให้ล่าช้าไปอย่างน้อย 6 เดือน  คิดว่าจะเริ่มใช้งบประมาณปี 2567 ได้ประมาณเดือนเมษายน ปี 2567  สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือแม้เราสามารถใช้งบปี 2566 ไปพลางก่อน แต่ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ที่เป็นโครงการลงทุนต่าง ๆ อาจจะยังใช้ไม่ได้ เพราะยังไม่สามารถทราบได้ว่า สภาฯ จะสามารถอนุมัติโครงการอะไรบ้าง  ทำให้เกิดการเสียโอกาสในการลงทุน”

สิ่งที่ก้าวไกลเสนอนโยบายทุนผูกขาด และที่ปรากฏในMOUด้วยคิดว่าจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่?

“คิดว่าไหนๆ ก็บรรจุในวาระร่วมกันแล้ว คิดว่าเราจะสามารถเดินหน้าจะทำได้สำเร็จอย่างแน่นอน   อย่างน้อยการแก้ไขกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้าให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับ กฎหมายการแข่งขันทางการค้า  การที่จะร่วมกันยกเลิกการผูกขาด เช่นในอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ พรรคร่วมส่วนใหญ่เห็นตรงกัน ก็สามารถเดินหน้าได้ทันที แต่อย่างเรื่องของพลังงาน  กับ กฟผ. ก็ต้องมาพูดกันในรายละเอียด ว่าการแก้การผูกขาดโดย กฟผ. จะทำให้เกิดการกระจาย และมีการแข่งขันเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง  เรื่องพวกนี้ไม่น่าจะมีอะไรน่ากังวล ทุกพรรคน่าจะเห็นร่วมตรงกัน”

ที่ผ่านมา บ้านเรามีกฎหมายป้องกันการผูกขาด เหตุใดจึงไม่ค่อยนำมาใช้หรือไม่ค่อยมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง?

“มีอยู่สองกรณี กรณีแรก แม้จะมี กฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้าอยู่แล้ว  แต่ก็มีบางส่วน ที่มีกฎหมายเฉพาะของตัวเอง เช่น กฎหมายกสทช. ประกาศของทาง กกพ. ซึ่งดูธุรกิจพลังงาน เป็นต้น แต่ละตัวก็แตกต่างกันไปอีก ไม่มีมาตรฐานเดียวกันกับกฎหมายแข่งขันทางการค้า  ซึ่งแม้จะมีกฎหมายแข่งขันทางการค้า ตัว พรบ. ฉบับนี้ ก็ไม่ใช่ว่า ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะว่าหลังจากที่ได้ลองใช้มาสักระยะหนึ่งแล้ว ก็พบว่ายังคงมีช่องโหว่ ที่ทำให้การควบรวมการค้าปลีกใหญ่ๆ  สามารถที่จะผ่านไปได้อย่างง่ายดายเช่นเดียวกัน  ดังนั้นอาจจะต้องใช้หลายส่วน นอกจากตัวกฎหมายนั่นก็คือ เจตจำนงทางการเมืองของนักการเมืองที่จะเข้ามาผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก็ส่งสัญญาณว่าเราเอาจริง ว่าเราต่อต้านทุนผูกขาดให้ได้  ต่อไปนี้ก็อาจจะทำย้อนหลัง ว่ามีตรงไหนที่เกิดการผูกขาดขึ้นแล้ว ถ้าในอนาคตถ้าจะมีการควบรวมเกิดขึ้นเพิ่มเติมอีก ก็จะมีสัญญาณที่ชัดเจนจากทางรัฐบาลว่าจะไม่ยอมให้มีการผูกขาดขึ้นอีก  น่าจะทำให้กลไกของการกำกับดูแล เป็นไปได้มากขึ้น และเหมาะสมยิ่งขึ้น

คิดอย่างไรกับประเด็นที่นักลงทุนกังวลเรื่องเกณฑ์การคิดค่าไฟ?

“แน่นอนค่ะ เราเห็นตรงกันว่าค่าไฟมันเป็นปัญหาค่าครองชีพกับประชาชนด้วย เป็นภาระต้นทุนของเอกชนด้วย เราเห็นตรงกันว่าต้องปรับแก้สูตรคำนวณเพื่อให้ค่าไฟลดลงได้ทันที  แต่ว่าค่าไฟจะลดลงตามช่วงที่เค้าประชุม ซึ่งจะประชุมกันทุก 4 เดือน กกพ.เป็นหน่วยงานหลักที่จะต้องแก้ไขสูตร ก็ได้มีการส่งสัญญาณมาแล้วว่า เห็นด้วยที่จะต้องมีการแก้ไขสูตร ก็นับเป็นสัญญาณที่ดี ที่หลังจากที่มี รัฐบาลใหม่เราสามารถที่จะแก้ไขค่าไฟให้กับพี่น้องประชาชน และผู้ประกอบการ ได้ทันที”

พรรคก้าวไกลมีแนวทางการเก็บภาษีอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ?

“จริง ๆ แล้ว พรรคก้าวไกลเอง ได้มีการนำเสนอ การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีที่มีอยู่แล้วเดิม ว่ามีช่องว่างมากมายที่ทำให้เกิดการหลบเลี่ยงการเสียภาษีในหลาย ๆ เรื่อง ถ้าเราสามารถไปอุดรูรั่ว รูโหว่พวกนี้ ขันน็อตให้แน่นขึ้น ก็น่าจะทำให้เราเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเราก็คิดว่าน่าจะเก็บเพิ่มขึ้นได้สัก 5 เปอร์เซนต์ของรายได้ที่รัฐจัดเก็บได้ทุกวันนี้ นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่าอาจจะต้องจัดเก็บภาษีตัวใหม่ ๆ เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องไม่เป็นภาษีที่จะเป็นภาระกับพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเราจำเป็นต้องไปเก็บกับคนที่เสียอยู่แล้ว ณ วันนี้ที่ยังน้อยเกินไป ต้องไปเก็บเพิ่มเติม เช่นภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดินแบบรวมแปลงที่จะมีการเก็บภาษีที่ดินตามปกติ ที่มีการเก็บรายแปลง พอเป็นรวมแปลงนี่คือรวมทุกโฉนดที่มีชื่อเดียวกัน แล้วก็มาเก็บครั้งหนึ่ง โดยที่เก็บในอัตราก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ส่วนใครที่เสียภาษีที่ดินแบบรายแปลงไปแล้ว ก็เอาไปหักจากการเก็บแบบรวมแปลง  รวมไปถึง ภาษีความมั่งคั่ง ที่จะไปเก็บจากผู้ที่มีทรัพย์สินสุทธิเกิน 300 ล้านบาทขึ้นไป โดยเริ่มเก็บจากเรท 0.5 เปอร์เซนต์ อันนี้จะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ ๆ ซึ่งเราคิดว่าการเก็บภาษีจากทรัพย์สิน เป็นสิ่งที่ประเทศไทยยังทำได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลก และกลไกแบบนี้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้เช่นเดียวกัน เพราะเป็นหนึ่งในแนวนโยบายของเราอยู่แล้ว ที่เมื่อเก็บภาษีได้แล้ว เราก็จะได้สร้างสวัสดิการ สร้างความคุ้มครองทางสังคมให้กับคนในประเทศ

พรรคก้าวไกลมีแนวทางอย่างไรกับประเด็น vat 10 เปอร์เซนต์ ที่ค้างคาอยู่?

“เราต้องยอมรับว่าตัวภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นที่กังวลใจของพี่น้องประชาชน เราก็จะรับรู้กันมาตลอดว่า เป็นภาษีที่มันไม่มีความเป็นธรรม เพราะว่าไม่ว่าคนรวยหรือจน เก็บในเรทเท่ากัน แต่ว่ามันก็มีข้อมูลใหม่ๆ เช่นเดียวกันว่า คนที่มีรายได้น้อย จ่ายที่ 7 เปอร์เซนต์ก็จริง แต่การบริโภคของเค้าก็ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไม่ต้องจ่ายภาษี เช่นอาหารสด เป็นต้น  นี่เป็นจุดที่เราจะนำมาพิจารณาว่า เราจำเป็นต้องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ต้องมีงานวิจัย มีการศึกษาที่ชัดเจนว่า ถ้าเก็บแล้ว จะต้องเป็นธรรมกับคนที่มีรายได้น้อย  ไม่ได้เป็นภาษีที่เก็บจากคนจนมากกว่าคนรวย ก็ต้องมีการศึกษาเรื่องนี้ก่อนที่เราจะตัดสินใจ แต่ถ้าถามว่ามันอยู่ในเรื่องที่เราจะทำหรือไม่ ที่กระทรวงการคลังวางแผนไว้มั้ย  อยู่   เป็นเรื่องที่เค้าจะทำอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องมีทุนทางการเมืองระดับหนึ่ง เพราะรัฐบาลที่ผ่านมาก็เลื่อนๆ  การตัดสินใจมาเรื่อยๆ

ชมคลิปเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=2jTbJ72_e7g

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก