คลิป “จิงโจ้แดง” ออกมากระโดดไปมาอยู่บนถนนดอยสุเทพ เมื่อช่วงเช้าวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สร้างความตกใจให้กับประชาชนผู้พบเห็นอย่างมาก ว่าประเทศไทยมีจิงโจ้ที่ไหนออกมากระโดดอยู่กลางถนน

ต่อมามีการรายงานข่าวว่า “จิงโจ้แดง” ตัวดังกล่าวหลุดออกจากสวนสัตว์เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่สวนสัตว์เชียงใหม่และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ได้ระดมกำลังค้นหานานกว่า 30 ขั่วโมง ล่าสุดเมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (30 พฤษภาคม) พบซากของจิงโจ้แดงตายอยู่บริเวณด้านล่างน้ำตกห้วยช่างเคี่ยน ใกล้กันพบรอยเลือดและรอยเท้าของจิงโจ้ ถือเป็นข่าวเศร้าสำหรับคนรักสัตว์

ต่อมาสวนสัตว์เชียงใหม่ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรื่องพบร่างจิงโจ้แดง โดยสันนิษฐานว่าจากการพบร่างเบื้องต้น พบบาดแผลเล็กน้อยจากการขีดข่วน ไม่มีร่องรอยการถูกกัดจากสัตว์อื่น ทางทีมสัตว์แพทย์จะทำการชันสูตรซาก และสวนสัตว์เชียงใหม่จะรายงานผลให้ทราบต่อไป

สำหรับข่าวการพบจิงโจ้ออกมาวิ่งอยู่บนถนนในประเทศไทยถือเป็นเรื่องที่สร้างความแปลกใจ และตกใจให้กับประชาชนไม่น้อย ซึ่งบางส่วนตั้งคำถามว่าจิงโจ้หลุดออกมาจากกรง หรือคอกกั้น จนมาถึงถนนได้อย่างไร บางส่วนแสดงความเสียใจ และตั้งคำถามถึงการดูแลสัตว์ ถามหาความรับผิดชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

ขณะที่ นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (อสส.) เปิดเผยกับมติชนออนไลน์ ถึงประเด็นที่ว่าเรื่องนี้ต้องมีคนรับผิดชอบหรือไม่ นายอรรถพรกล่าวว่า แน่นอนอยู่แล้ว เพราะจิงโจ้เป็นทรัพย์สินของทางราชการ แต่ยังไม่อยากพูดถึงเรื่องนี้เพราะห่วงเรื่องขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ และยืนยันว่าสวนสัตว์ทุกแห่งในประเทศ มีมาตรฐานเรื่องการดูแลสัตว์ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมีสัตว์ชนิดใดหลุดออกมา และเกิดอุบัติเหตุเช่นนี้เลย

ด้านสัตวแพทย์หญิง กรรณิการ์ จันทรังษี รักษาการหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์วิจัยและสุขภาพสัตว์ สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจิงโจ้ตัวดังกล่าวไม่เคยออกไปจากพื้นที่เคยอยู่แต่คอกกัก รู้สึกเป็นห่วงเรื่องการกระโดดของจิงโจ้แดงที่จะเจอโขดหินหรือลวดหนามอาจได้รับบาดเจ็บ

ประกอบกับกังวลเรื่องความตกใจของจิงโจ้แดง ถ้าเขาอยู่ในสถานการณ์ที่ไล่ต้อนตลอดเวลาของฝูงสุนัขในพื้นที่หรือสัตว์อื่นๆ ถ้าต่อเนื่องโดยไม่ได้พักผ่อนเลยก็จะมีผลต่อร่างกายเรื่องกล้ามเนื้อสลายและอวัยวะภายใน ซึ่งสัตวแพทย์คาดการณ์ว่าตามที่เล่านั้นจิงโจ้แดงจะไม่แสดงอาการให้เห็นภายนอก แต่จะกังวลเรื่องระบบภายในซึ่งจะอ่อนแรงลงเรื่อยๆ หากเราพบขณะที่จิงโจ้อ่อนแรงขั้นตอนการกู้คืนอาจจะยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันจะเข้าสู่ภาวะของไตวายเฉียบพลัน แต่ถ้าหากเราพบเราก็อาจช่วยได้โดยใช้ทางการสัตวแพทย์เข้าช่วยเหลือทันที

ทำความรู้จัก จิงโจ้แดง

แฟ้มภาพ : จิงโจ้แดง สวนสัตว์เชียงใหม่
แฟ้มภาพ : จิงโจ้แดง สวนสัตว์เชียงใหม่

สำหรับจิงโจ้แดง องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า จิงโจ้แดงจะมีลำตัวใหญ่ ลักษณะของลำตัวคล้ายผลชมพู่ ขนาดของหัวเล็กเมื่อเทียบกับลำตัว ใบหูแหลมยาว ขาหลังใหญ่มีพลังในการเคลื่อนที่แบบกระโดด แต่ขาหน้าจะสั้น มีหางที่แข็งแรง นิ้วที่ขาหน้ามี 5 นิ้วในลักษณะที่เรียงกัน และมีฝ่ามือที่คล้ายกับมือของมนุษย์ ที่ใช้ในการจับอาหารได้ เท้าหลังมี 4 นิ้ว โดยนิ้วด้านในจะมีโครงที่เกิดจากนิ้ว 2 ชิดติดกัน ใช้สำหรับการสางทำความสะอาดขน นิ้วกลางจะยาวและแข็งแรงใช้ในการต่อสู้

จิงโจ้แดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีการกระจายพันธุ์ในทวีปออสเตรเลีย พื้นที่ตรงกลางทวีปมีประชากรจิงโจ้แดงประมาณ 15 ล้านตัว พบในพื้นที่แห้งแล้ง ทะเลทราย ที่ป่าโปร่งที่มีไม้พุ่ม ทุ่งหญ้า เนินทราย กินหญ้า รวมทั้งพืชล้มลุกอื่นๆ ตามพื้นดินและใบไม้ เป็นอาหารใช้เวลาวันละ 10 ชั่วโมงในการกินอาหารในช่วงเช้าและพลบค่ำ ส่วนช่วงเวลากลางวันที่อากาศร้อนที่หลบตามร่มไม้จะเป็นช่วงที่ย่อยอาหาร

มักจะอยู่กันเป็นฝูงโดยมีจำนวน 2 ถึง 4 ตัว แต่ไม่ได้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างสมาชิก ถ้ามีอาหารที่สมบูรณ์อาจจะพบจิงโจ้ได้มากถึง 5,000 ตัวในพื้นที่แห่งนั้น และคำที่ใช้เรียกการรวมตัวของจิงโจ้ว่า ม๊อบ ( Mob )มีวงรอบการผสมพันธุ์จะมีรูปแบบพิเศษ แม่สัตว์ทั่วไปจะตั้งท้อง คลอดและเลี้ยงลูกครั้งละหนึ่งตัวหรือหลายตัว แต่แม่จิงโจ้จะมีลูกจิงโจ้ที่กำลังเติบโตในระยะต่างๆ 3 ตัวในช่วงเวลาเดียวกัน มีตัวหนึ่งอยู่นอกถุงหน้าท้อง ตัวหนึ่งกำลังดูดนมอยู่ในถุง อีกตัวหนึ่งอยู่ในระยะตัวอ่อนที่กำลังพัฒนา โดยมีการผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี และลูกจิงโจ้จะกินนมจนกระทั่งอายุ 1 ปี

แฟ้มภาพ : จิงโจ้แดง สวนสัตว์เชียงใหม่
แฟ้มภาพ : จิงโจ้แดง สวนสัตว์เชียงใหม่

ขณะที่ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่ มีจิงโจ้แดงรวม 23 ตัว เป็นจิงโจ้เพศผู้ 3 ตัว เพศเมีย 15 ตัว มีจิงโจ้รุ่นลูกที่ไม่ทราบเพศอีก 5 ตัว เกือบทั้งหมดเกิดในประเทศไทย รวมทั้งน้องที่หลุดออกไปด้วย และสวนสัตว์เชียงใหม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ประมาณ 2-4 ตัวต่อปี

นอกจากนี้จากการค้นหาข้อมูลพบว่าเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ประเทศไทยเคยมีกรณีที่สัตว์หลุดออกมาวิ่งบนถนน และสร้างความตกใจให้กับประชาชนอย่างมาก โดยพบ “ยีราฟ” หลุดออกจากกรงในระหว่างการขนย้ายไปสถานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของสวนสัตว์ซาฟารีเวิล์ด หลังตามหาเกือบ 2 วัน พบว่ายีราฟตายในคูน้ำริมถนนสาย 304 มีน้ำลึก 2 เมตร และเมื่อนำซากกลับไปตรวจชันสูตร สัตวแพทย์พบว่ายีราฟจมน้ำตาย
.
ขอบคุณข้อมูลจาก : องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก