ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) และที่ปรึกษาคณะกรรมการเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยในช่วงหาเสียง  ได้รับการจับตามองว่าเป็นตัวเต็ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากทางฝั่งพรรคเพื่อไทย 

ทว่า ดร.ศุภวุฒิ ได้ให้สัมภาษณ์ ปฏิเสธตำแหน่งนี้ไปเรียบร้อยแล้ว  

นอกจากนี้ ดร.ศุภวุฒิ ยังได้พูดถึง การศึกษาของธนาคารโลกที่วิเคราะห์เศรษฐกิจของไทย รวมทั้งทางออกหากจะทำให้ประเทศไทยมีสถานะการคลังที่ยั่งยืน

โดยระบุว่า นับจากปัจจุบันถึงอนาคต ในภาวะที่รัฐต้องมีค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ด้อยโอกาส การปฏิรูปการศึกษา รวมไปถึงสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงหรือ climate change  ภารกิจเหล่านี้ สิ่งที่ตามมาคือรัฐต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งแนวทางที่รัฐจะมีความยั่งยืนทางการคลัง จะต้องทำอย่างไร รวมไปถึงการให้ความเห็นว่าการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าการเก็บภาษีด้านอื่น

ทีมงานเว็บไซต์ฟีดฟอร์ฟิวเจอร์ ได้สัมภาษณ์พูดคุยกับ คุณศุภวุฒิ  ในประเด็นต่างๆ ข้างต้น มีรายละเอียดดังนี้

เพื่อให้มีความยั่งยืนทางการคลัง ภารกิจของรัฐบาลมีอะไรบ้าง?

ดร.ศุภวุฒิ : “เริ่มจากจุดที่ว่า ประเทศไทยถ้าต้องการให้มีความยั่งยืนทางการคลัง จะต้องทำอะไรในภาวะที่ต้องมีค่าใช้จ่ายของรัฐมากขึ้น  ค่าใช้จ่ายที่ว่าคือการดูแลผู้สูงอายุ ที่เป็นต้นทุนหลักของประเทศ  ในขณะที่จะมีคนทำงานน้อยลง   สิ่งที่ตามมาคือการปฏิรูปการศึกษา  การดูแลผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่มีรายได้น้อย  และเรื่องสุดท้ายคือรัฐบาลต้องมีบทบาทสำคัญในการจัดการในเรื่อง climate change โลกร้อนต้องทำอะไรบ้าง  สรุปเร็วๆ ก็คือ ภารกิจเหล่านี้รัฐบาลจะต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น คือ 3-4 เปอร์เซนต์ของจีดีพีต่อปี  ถ้าอย่างนั้นแล้ว ก็จะต้องหารายได้เพิ่มขึ้น  ก็ไปดูว่าจะต้องเพิ่มภาษีอะไรบ้าง ภาษีหลักที่เค้าเสนอแนะคือ ภาษีแวท(ภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มจาก 7 %  เป็น 10 % ตรงนี้ จะเก็บภาษีได้เป็นกอบเป็นกำ ประมาณ 2.5 %  ที่เหลือก็จะต้องมีการขึ้นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และภาษีที่ดิน ซึ่งภาษีที่ดินจะได้น้อยมาก แค่สักประมาณ 0.3 %ของจีดีพี 

คำถามคือ ทำไมไปเก็บภาษีแบบนี้ เพราะคนจะโวยวายว่าเก็บแวทไปทำไม เพราะว่าการเก็บแวทคือการเก็บภาษีที่เรียกว่าภาษีการบริโภคมันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ  แต่ระยะยาวมันกระทบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจน้อยกว่าภาษีที่ได้มากจากกำไร เพราะกำไรคือผลพวงจากการลงทุน และการลงทุนนี่ล่ะคือตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เราถึงพูดไงว่าอยากให้เศรษฐกิจโตต้องมีการลงทุน  และการลงทุนมักจะมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ  ที่จะทำให้ประเทศแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจด้วย  เนี่ยถึงมีการพูดกันว่าต้องมีการขึ้นภาษีแวท  ทั้งที่เป็นสิ่งที่ในทางการเมือง ไม่มีใครกล้าพูด กล้าแตะเลย  แต่ในความจริงทางด้านเศรษฐกิจ ดูเหมือนมันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เป็นเรื่องที่นักการเมืองไม่มีใครกล้าพูด”

นโยบายการเก็บภาษีของพรรคก้าวไกล จะมีผลกระทบต่อการลงทุนหรือไม่? อย่างไร?

ดร.ศุภวุฒิ : “ก้าวไกลก็ต้องรับผิดชอบตรงนี้ และต้องรับรู้ว่าต้องมี trade off ต้องมีได้ มีเสีย ถ้าคุณต้องการรายได้ตรงนี้ มันจะมากับการที่เศรษฐกิจอาจจะขยายตัวต่ำกว่าที่เค้าคาด สำหรับผมเป็นสิ่งที่สำคัญ คือต้องรับรู้ว่า ทุกอย่างมีต้นทุน และต้องศึกษาให้ถ่องแท้ว่า ทำแล้วมีผลกระทบอย่างที่ว่า”

“เวลาเราจะเชื้อเชิญใครเค้ามาลงทุนมันจะยากขึ้น แต่ถามว่า ประเทศไทยเรามีอะไรที่เค้าพอจะสนใจมั้ย มันก็มี   และเราก็มีคู่แข่งเสมอ เช่นเรารู้ว่าในช่วงต้นศตวรรษนี้ คือ ช่วง ค.ศ. 2001-2005 เงินทุน FDI (หมายถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ Foreign Direct Investment: FDI) ที่เข้ามาในภูมิภาคนี้ ตอนนั้น 40% เข้ามาที่ประเทศไทย แต่ช่วงหลังก่อนโควิด FDI ที่เข้ามาในอาเซียน 5 ประเทศหลักนี่ เข้ามาประเทศไทย แค่ 9%เท่านั้นเอง เรากำลังถูกเค้าแย่ง เพราะสภาวการณ์ของเราไม่เอื้ออำนวยเหมือนเมื่อสมัย 20 ปีที่แล้ว มันยากไง ทุกอย่างไม่มีของฟรี”

การตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า มีผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างไร?

ดร.ศุภวุฒิ : แน่นอนว่าในช่วงที่ไม่มีรัฐบาลทุกอย่างจะหยุด แล้วกลายเป็นว่าคนที่คุมนโยบายเศรษฐกิจคือ กกต. ผมก็ไม่แน่นใจว่า ใน กกต.มีนักเศรษฐศาสตร์อยู่หรือเปล่า ทุกอย่างที่เค้าทำคือให้มีความต่อเนื่อง แต่ไม่มีอะไรใหม่ๆ เลย มันต้องเกิดภาวะทางด้านสุญญากาศทางเศรษฐกิจแน่ๆ  ยิ่งมีสุญญากาศนานก็ยิ่งไม่ดี  ทีนี้ช่วงนี้ จริงๆ ภาพของเศรษฐกิจโลกมันดูแย่กว่าที่คิดเอาไว้เดิม  จริงอยู่เศรษฐกิจอเมริกาขยยายตัวค่อนข้างดี แต่ก็ยังคุมเงินเฟ้อไม่อยู่  ฉะนั้นก็ยังต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก  การขึ้นดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ มันก็เกิดอุบัติเหตุได้เสมอ อย่างเช่นที่อเมริกา แม้กระทั่งแบงก์เล็กๆ ก็ยังล้ม เพราะว่า ดอกเบี้ยสูง  ประการที่ 2 การฟื้นตัวของจีน ก็ยังฟื้นตัวไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งประเทศเรายึดโยงกับจีนค่อนข้างมาก ฉะนั้นนักท่องเที่ยวจีนอาจจะเข้ามาต่ำกว่าเป้าก็ได้ ประการที่ 3 ที่ยูเครนเตรียมรบกับรัสเซีย เราไม่ทราบว่าผลกระทบจะรุนแรงแค่ไหน  อะไรพวกนี้ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับประเทศไทย เพราะเราส่งออกสินค้าและบริการ 58%จีดีพี  ประเทศนี้จริงๆ ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ของต่างประเทศ เราขายของให้เค้า  แล้วเค้ามาเป็นนักท่องเที่ยวที่ประเทศไทย”

ถ้าถามในฐานะประชาชนทั่วไป ควรจะรับมือทางเศรษฐกิจอย่างไรในอีก 12 เดือนข้างหน้า ?

ดร.ศุภวุฒิ : “คงต้องมีข้อมูลที่ดี พยายามศึกษาข้อมูล รับรู้ข้อมูลให้ดี อย่าให้อะไรมันเกิดขึ้น แล้วคุณตกใจไม่รู้เรื่อง ต้องยอมรับรู้เรื่อง อันที่สอง ผมคิดว่าแต่ละคนต้องระมัดระวังตัวเองอยู่แล้ว เพราะประเทศไทยเราเห็นเลยว่าเรามีปัญหาหนี้ครัวเรือน  หนี้ของเอสเอ็มอี เราต้องระมัดระวังการสร้างหนี้เพราะดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น สภาพคล่องดูแลของตัวเองให้ดี  สภาพคล่องจะหายากขึ้นเรื่อยๆ”

คุณศุภวุฒิ มีชื่อเป็นตัวเต็ง ตำแหน่ง รมว.คลัง ด้วย คิดอย่างไรกับประเด็นนี้?

ดร.ศุภวุฒิ : “ใช่ครับ ผมปฏิเสธไปแล้ว ไม่สนใจ ไม่เคยสนใจ  เพราะอยู่อย่างนี้ดีแล้ว เพราะว่า ผมช่วยเค้าในฐานะที่ปรึกษา ผมก็ช่วยเค้าในฐานะที่ปรึกษา แล้วผมก็พูดตรงไปตรงมา อย่างเช่นพูดว่า แวทต้องขึ้น อย่างนี้ เค้าไม่เอาหรอก เพราะว่ากระแสคนส่วนใหญ่จะไม่เอา ฉะนั้นผมคิดว่าผมมีบทบาทที่ให้ความรู้ ให้ข้อมูล อย่างตรงไปตรงมาดีกว่า  ทำอย่างที่เราทำ ทางการเมืองเค้าคงรับไม่ได้”

สรุปว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเผือกร้อนของทุกรัฐบาลหรือเปล่า?

ดร.ศุภวุฒิ : มันไม่ใช่เผือกร้อนครับ มันเป็นกบต้ม ถ้าคุณไม่ขึ้นแวทเนี่ย เวลาผ่านไปคุณจะมีปัญหาด้านงบประมาณอยู่เรื่อยๆ  คือแวทเป็นภาษีที่ฐานกว้างมาก เราเก็บแวทได้ปีละประมาณ 9 แสนล้านบาท แวทนี่ 7%  ถ้าหักเอาการบริโภคของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วเราคืนเค้า  อย่างน้อย 1% ของการขึ้นแวท ได้เงินตั้ง 8 หมื่นล้านบาท  ถ้ารัฐบาลมีภารกิจที่จะต้องเอาเงินไปใช้ทำโน่นทำนี่แล้วจะต้องขึ้นภาษีนี่  นักเศรษฐศาสตร์ทุกคนจะบอกว่า ไปขึ้นแวทเถอะ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั้งระยะปัจจุบันและระยะยาวน้อยที่สุด เพราะแค่ 1%ได้เงิน 8 หมื่นล้านบาท แต่ภาษีอื่นที่รับรองว่า คุณจะต้องไปขูดเค้าเป็นเปอร์เซนต์ค่อนข้างสูงมาก และไม่แน่ใจว่าจะได้หรือเปล่า 8 หมื่นล้านบาท”

พอพูดถึงแวท ทุกคนจะตกใจ

ดร.ศุภวุฒิ : “ก็ทุกคนนะครับ คิดอย่างนี้  ถ้ารัฐบาลให้ประโยชน์ผม แต่เก็บภาษีคนอื่นผมโอเค  แต่ถ้าบอกเก็บภาษีผม ผมไม่เอาทันที  ฉะนั้นมันถึงยาก ผมเถียงว่ายาก  เพราะฉะนั้น ประเทศประชาธิปไตย เค้าจะไม่พูดเลยเรื่องขึ้นภาษี แต่ถึงเวลาก็หักดิบเลย ว่าต้องขึ้น”

“คืออย่างนี้ ครับ มันจะกลายเป็นว่า เศรษฐกิจต้องแย่มากๆ รัฐบาลมีปัญหามากๆ แล้วพรรคการเมืองหนึ่งบอกว่า โอเค ผมต้องเข้ามาแก้ปัญหา โดยการหาเสียงว่าผมต้องเข้ามาแก้ปัญหาวินัยการคลังนะ และต้องขึ้นภาษีด้วย แล้วยังได้รับเลือกตั้งด้วย ถึงจะเป็นแมนเดท (ฉันทานุมัติ) แต่ตอนนี้ ไม่ได้มีใครหาเสียงแบบนั้น ฉะนั้น ขืนเข้ามาถึงปั๊บ มาขึ้นภาษีแวท คงโดนประชาชนถล่ม ก็เลยไม่มีใครกล้าทำ ผมกำลังบอกว่าจริงๆ เรื่องนี้ เรื่องขึ้นแวท ไปถามกระทรวงการคลัง ไปถามเจ้าหน้าที่คลัง ทุกคนบอกว่าต้องขึ้น  ไปถามไอเอ็มเอฟ ไปถามธนาคารโลก  ไปถามนักเศรษฐศาสตร์หลักๆ ไหนๆ ก็บอกว่าต้องขึ้นในระยะกลาง  ถามว่าในระยะสั้น คุณ kick the can หรือเลี่ยงปัญหาไปก่อนได้มั้ย  มันก็ได้  แต่เลี่ยงไปแล้ว รัฐบาลจะไม่มีเงินที่จะมาแก้ปัญหา ที่ผมเล่าให้ฟัง ว่าต้องแก้ปัญหา สาธารณสุข  ผู้สูงอาอยุ ปัญหาผู้ด้อยโอกาส    และปัญหาของ climate change รวทั้ง ปัญหาการศึกษาด้วย”

พรรคก้าวไกล เสนอการเก็บภาษีความมั่งคั่ง คุณศุภวุฒิ คิดอย่างไร ?

ดร.ศุภวุฒิ : “ผมไม่แน่ใจว่าจะเก็บได้ง่ายขนาดนั้น  ภาษีมั่งคั่งที่เค้าพูดหมายความว่า ภาษีที่เค้าคำนวณ สุทธิแล้ว มีสินทรัพย์ ลบด้วยหนี้สิน  ซึ่งถ้าถึงจุดหนึ่ง เวลาคำนวณแล้ว คำนวณได้ง่ายแค่ไหน แล้วทำไปแล้ว อาจจะลำบาก เช่น มีที่ดินเยอะๆ  แต่โดนเก็บภาษี  0.5%  แต่ที่ดินมันไม่ได้ใช้ประโยชน์ เค้าก็จะมีทาง เช่นให้ที่ดินมันใช้ประโยชน์  หรือกู้เงินมาทำเพื่อให้ทรัพย์สินสุทธิลดลงหรือเปล่า แล้วทุกคนจะปรับ มันจะป็นอะไรที่ใหญ่มาก เพราะว่าสุทธิ 300 ล้านบาท 0.5%   คือ 1.5 ล้านบาท เค้าก็จะเพ่งเล็งแล้ว ทำอย่างไรไม่ให้โดน 1.5 ล้านบาท เงินมันเยอะ จะมี incentive มีความตั้งใจ  คนที่มีทรัพย์คิดได้สองอย่างจะลงทุนอย่างไร จะลดภาษีอย่างไร  ถ้าทุกคนมานั่งคิดว่าจะลดภาษีอย่างไร ไม่คิดว่าลงทุนอย่างไร เศรษฐกิจมันก็ไม่โต เวลาคิดก็จะมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคิด  และผมเชื่อเลยว่าถ้ามันเยอะ เช่นเงินพันล้าน   คูณ 0.5%    นั่นคือ 50 ล้านนะ รับรองจะมีคนไปช่วยไปดูตามกฎหมายเยอะเลย แทนที่จะเอาเวลาไปคิดว่า จะเอาทรัพย์สินไปลงทุนอย่างไร มันถึงมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”

ชมคลิป การให้สัมภาษณ์ของคุณศุภวุฒิ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=Cc-wXxqMkxU&t=9s

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก