จากกรณีที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 2.00% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม  ที่ผ่านมา  แต่ละสถาบันการเงินต่างทยอยปรับอัตราดอกเบี้ย ทั้งเงินฝากและเงินกู้

ผลกระทบตรง ๆ คือลูกหนี้รายย่อย ที่เป็นหนี้กับธนาคาร ไม่ว่าจะกู้ซื้อรถ ซื้อบ้าน และอื่น ๆ

อย่างที่ทราบกันดีว่า คนไทยเป็นหนี้กันเยอะมาก เยอะขนาดไหน?

คุณชญาวดี ชัยอนันต์ โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เขียนบทความลงใน หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2566  โดยเทียบให้ดูว่า ถ้ามีคนไทยเดินมา 3 คน อย่างน้อย  1  ใน 3 คนนี้จะมีหนี้ และกว่าครึ่งหนึ่งของคนกลุ่มนี้ มีหนี้มากกว่า 1แสนบาท

โดยข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ว่าตั้งแต่ปี 2563 หนี้ครัวเรือนของไทยมีสัดส่วนต่อจีดีพีสูงกว่า 80% มาต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มีสัดส่วนถึง 87% สะท้อนว่ารายได้ทั้งหมดของประเทศไทย จะเหลือสำหรับใช้จ่ายน้อยลง เพราะต้องรับภาระหนี้สูงขึ้น และอาจกระทบกับความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือนไทยจำนวนมาก

นอกจากหนี้ในระบบ ซึ่งหมายถึงการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ  แล้ว ยังมีหนี้นอกระบบอีกจำนวนมหาศาล โดยหากจะเปรียบก็คือ หนี้ในระบบคือหนี้ที่เราเห็นตัวเลขจริงๆ เป็นยอดภูเขาน้ำแข็ง  ส่วนหนี้นอกระบบคือสิ่งที่อยู่ใต้ผิวน้ำ และจะมีขนาดใหญ่กว่าหนี้ในระบบหลายเท่า

นอกจากนี้ คุณชญาวดี  ยังได้มีคำแนะนำสำหรับคนที่จำเป็นต้องกู้หนี้นอกระบบจริงๆ  ดังนี้

1.ให้หากู้จากคนที่รู้จักก่อน เช่น เพื่อน ญาติ เพื่อให้การเจรจาง่ายขึ้น

2.เทียบดอกเบี้ยระหว่างเจ้าหนี้แต่ละรายให้ได้ต่ำที่สุด

3.กู้ในจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เท่านั้น  โดยให้นึกเสมอว่า หนี้นอกระบบ ดอกเบี้ยแพงมาก

4.เมื่อกู้แล้ว ควรปิดหนี้ให้ไวที่สุด   โดยเอาหนี้ทุกก้อนมาดู หนี้ก้อนไหนใกล้หมด ปิดจบก้อนนั้น  เพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจ

5.หนี้ก้อนไหน ดอกเบี้ยสูง ลองหาทางลดดอกเบี้ย  ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับเจ้าหนี้ หรือกู้เงินจากแหล่งที่ดอกเบี้ยต่ำกว่ามาปิดหนี้ หากกู้จากสถาบันการเงินได้ ก็จะได้สัญญาที่เป็นธรรมกว่า  ซึ่งสถาบันการเงินหลายแห่ง ก็เริ่มให้บริการนี้ เพื่อช่วยลูกหนี้กลับเข้ามาอยู่ในระบบ  (สอบถามได้ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย  โทร. 1213)

สำหรับผู้ที่ต้องการขอคำปรึกษาหรือร้องเรียนเรื่องหนี้นอกระบบ  สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  (กระทรวงการคลัง) โทร. 1359 หรือศูนย์ดำรงธรรม (กระทรวงมหาดไทย) โทร. 1567

นอกจากนี้ ยังมีคำเตือนจาก ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) รวมทั้งที่ปรากฏชื่อเป็นแคนดิเดตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในโควตาของ “พรรคเพื่อไทย” และเป็น 1 ใน ทีมที่ปรึกษา คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจของพรรคในช่วงหาเสียง

ดร.ศุภวุฒิ พูดถึงการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจอย่างน้อยในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดยย้ำว่าสภาพคล่องจะหายากมากขึ้น

“ประการแรกในฐานะประชาชนทั่วไป คงต้องมีข้อมูลที่ดี พยายามศึกษาข้อมูล รับรู้ข้อมูลให้ดี อย่าให้อะไรมันเกิดขึ้น แล้วคุณตกใจไม่รู้เรื่อง ต้องยอมรับรู้เรื่อง ประการที่สอง ผมคิดว่าแต่ละคนต้องระมัดระวังตัวเองอยู่แล้ว เพราะประเทศไทยเรา  เห็นเลยว่าเรามีปัญหาหนี้ครัวเรือน หนี้ของเอสเอ็มอี ต้องระมัดระวังการสร้างหนี้เพราะดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น สภาพคล่องดูแลของตัวเองให้ดี  อีกทั้ง สภาพคล่องจะหายากขึ้นเรื่อยๆ”

ชมคลิปคุณศุวุฒิ สายเชื้อ กล่าวถึง การรับมือกับภาวะเศรษฐกิจอย่างน้อยในอีก 12 เดือนข้างหน้า

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก