ข้าวสรรพสี คือ ข้าวหลายสี ที่ได้จากงานวิจัย ของ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวต่างในเมืองไทยและการใช้ประโยชน์

ข้าวสรรพสี  หรือ (Rainbow Rice)  เป็นข้าวที่ต่างจากข้าวทั่วไปตรงที่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เมล็ดกินได้ ใบมีประโยชน์ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง นำไปบดเป็นส่วนผสมของขนมปังได้เลย รวมทั้งไปปลูกเป็นไม้ประดับได้สวยงาม

ข้อมูลจาก  ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ระบุว่า เหตุผลเริ่มต้นของงานวิจัย คือต้องการข้าวพันธุ์ที่เพาะปลูกง่าย และเป็นการสร้างมูลค่าให้กับข้าวไทย

เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2553  จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง พันธุ์พ่อ ‘ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว’ กับ พันธุ์แม่ ‘ข้าวก่ำหอมนิล’ จนเกิดเป็น “ข้าวสรรพสี” ประกอบด้วย สายพันธุ์ใบสีชมพูทับทิมต้นสูง (สรรพสี 01), ใบสีชมพูทับทิมต้นเตี้ย (สรรพสี 02), ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นสูง  (สรรพสี 03), ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นเตี้ย (สรรพสี 04) และใบสีขาว (สรรพสี 05) ซึ่งข้าวสรรพสีทั้ง 5 สายพันธุ์ อยู่ในระหว่างขั้นตอนการยื่นจดคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่

ทั้งนี้ ใบข้าวโดยทั่วไปมีสีเขียวเกิดจากการสะสมรงควัตถุที่เรียกว่า Chlorophyll ซึ่ง Chlorophyll ถือว่าเป็นรงควัตถุที่มีมากที่สุดในโลก เนื่องจากพืชและจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ต่างก็มีรงควัตถุชนิดนี้ ข้าวบางชนิดมีสีใบที่แตกต่างอย่างชัดเจน เช่น พันธุ์ข้าวเหนียวพื้นเมืองที่เรียกว่า ข้าวก่ำ มีใบสีม่วงอมเขียว บางสายพันธุ์อาจมีใบและลำต้นสีม่วงเข้มสวยงามมาก รงควัตถุที่ทำให้ใบข้าวเกิดสี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ คลอโรฟิวส์ (Chlorophyll) ให้สีเขียว แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ให้สีเหลืองถึงแดง แอนโทไซยานิน (anthocyanin) ให้สีแดงม่วงไปจนถึงน้ำเงิน

 (อ้างอิง https://dna.kps.ku.ac.th/index.php/news-articles-rice-rsc-rgdu-knowledge/29-2015-03-27-02-04-15/264-rainbow-rice )

นอกจากนี้ ที่แปลงของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว กำแพงแสน ยังมีพันธุ์ข้าวอื่นๆ ให้เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจได้เลือกชม เพื่อดู ว่าข้าวพันธุ์ไหนที่อยากปลูก   เพื่อว่าวันหนึ่ง ถ้าต้องการปลูกในที่ไร่นาของตัวเอง ก็สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ได้เลย

สำหรับการเดินทาง ไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ซึ่งมีแปลงนาข้าวสรรพสี ที่ปลูกโชว์ในช่วงงานเกษตร กำแพงแสน จ.นครปฐม วันที่ 1-10 ธันวาคม 2565  : เข้าประตูฝั่งถนนหมายเลข 346 (พนมทวน-กำแพงแสน) ผ่านถนนสายชมพูพันธุ์ทิพย์ ประมาณ 2.5 กิโลเมตร จะมองเห็นนาข้าวสรรพสีอยู่ทางด้านขวามือ

ขอขอบคุณภาพจาก คุณสุมน ห้อยมาลา  ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

ข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว https://dna.kps.ku.ac.th/

นอกจากไฮไลท์ในเรื่องข้าวสรรพสีแล้ว ช่วงวันงานเกษตร กำแพงแสน ครั้งที่ 25 ภายใต้ธีมงาน” เกษตรศาสตร์อัจฉริยะ สุขภาวะคนไทย สู้ภัยเศรษฐกิจ” ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  ระหว่างวันที่  1-10 ธันวาคม 2565 ในงานจะพบกับพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และนวัตกรรมสุดล้ำ ช็อปปิ้งสินค้าและผลิตภัณฑ์นานาชนิดจากชุมชน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก