ปัจจุบันหลายภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ กำลังพูดถึงภาวะโลกร้อน ซึ่งนำมาสู่การแปรปรวนของสภาพอากาศ อันมีผลต่อทุกการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ด้วยเหตุที่การแปรปรวนนี้ ทำให้เราคาดการณ์  วางแผน  ทำธุรกิจหรือการดำเนินชีวิตยากขึ้นรวมทั้งในการค้าระดับโลก  ก็ไม่แน่ว่า ต่อไปจะมีการนำสิ่งนี้มาเพื่อกีดกันการค้าหรือไม่

ขณะนี้ ภาคธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรม จะต้องหันมามองถึง คำว่า “ภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจก ความยั่งยืน และคาร์บอนเครดิต” เพื่อนำไปสู่ความสง่างามในเวทีการค้าระดับประเทศและระดับโลก

“คุณสุมน สุเมธเชิงปรัชญา” ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและแผนกลยุทธ์ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้เผยข้อมูลว่า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทยเอง โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ก็ต้องรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเอง เพื่อแสดงความรับผิดชอบทางสังคม รวมทั้งได้ประหยัดพลังงานไปด้วย ซึ่งทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก็แจ้งไว้ว่า นอกจากมีรายงานแล้วจะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบด้วย

โรงงานปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเดรดิต
ภาพโดย Chris Leboutillier / Unsplash

“ปัจจุบันราว 500 องค์กรทั่วโลก ประกาศว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี ค.ศ.2065 ซึ่งประเทศไทยมี  48 องค์กรที่เข้าร่วมและเป็นองค์กรในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด” คุณสุมน กล่าว

การที่ ก.ล.ต. ได้เข้ามามีส่วนร่วมก็เป็นการตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจที่มีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมุ่งเน้นความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งผลให้เกิดการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในองค์กร

ดังที่กล่าวข้างต้น ภาวะโลกร้อน มีผลต่อเนื่องมาจาก “ก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งในเว็บไซต์สำนักงานโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอธิบายว่า ก๊าซเรือนกระจกมีทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ (Natural Greenhouse Gas) เช่น ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากหายใจของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น และก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมของมนุษย์หรือเรียกได้ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น (Anthropogenic Greenhouse Gas) เช่น ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินในกระบวนการการผลิตไฟฟ้า การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ กระบวนการหมักของจุลินทรีย์จากน้ำในนาข้าว กระบวนการในภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตปูนเม็ด กระบวนการทางเคมีต่างๆ สารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ แอร์รถยนต์และระบบทำความเย็นในอาคาร เป็นต้น

มลพิษทางอากาศ ควันดำ
ควันดำจากรถยนต์ส่วนหนึ่งของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ก่อขึ้น

คุณสุมนกล่าวอีกว่า การที่องค์กรต่างๆ ประกาศว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero นั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ปล่อยเลย จึงนำมาสู่การชดเชยด้วยการซื้อ คาร์บอนเครดิต ซึ่งเดิมอยู่ภายใต้ CDM หรือ Clean Development Mechanism ซื้อขายในต่างประเทศได้แต่อยู่ระหว่างตกลงว่า จะได้ไปต่อไหมหลังมี “ความตกลงปารีส” (ความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ความตกลงดังกล่าวเจรจากันในช่วงการประชุมภาคีสมาชิกของ UNFCCC ครั้งที่ 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส)

กระนั้นทางการไทยก็ปรับตัวมาตั้งแต่ปี 2556 โดยคิดมาตรการภายในที่เรียกว่า T-Ver หรือการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เป็นโครงการที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต ไปขายในตลาดคาร์บอน

ป้ายรณรงค์สิ่งแวดล้อม
ภาพโดย Markus Spiske / Unsplash

คาร์บอนเครดิตคือ ใบรับรองปริมาณความสำเร็จในการลด การกักเก็บก๊าซเรือนกระจก จากการดำเนินโครงการ T-Ver มีหน่วยเป็น “ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า”  ที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบจากผู้ประเมินภายนอก และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

สรุปง่ายๆ คาร์บอนเครดิตคือ การลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากการโครงการลดก๊าซเรือนกระจก เปรียบเทียบระหว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะที่ยังไม่ได้เข้าโครงการเทียบกับช่วงที่เข้าโครงการแล้ว ลดได้เท่าไหร่ นำมาหักลบ คิดเป็นคาร์บอนเครดิตที่นำไปซื้อขายได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก