ผ่านพ้นไปแล้วเรียบร้อยสำหรับงานซีรีส์ Y แห่งปีกับ FEED Y Capital ที่จัดขึ้นเป็นปีแรกโดยเพจ FEED และได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม ทั้งจากผู้อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมซีรีส์ Y ผู้จัด ผู้กำกับ ศิลปิน โดยเฉพาะแฟนๆ ที่มางานเดียว ได้ทั้งความรู้ ความบันเทิง เต็มอิ่มบรรยากาศความจิ้น ความฟินตลอดทั้งงาน

จากผลตอบรับที่ดีเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า อุตสาหกรรมซีรีส์ Y ไทย ไม่ใช่เรื่องเฉพาะกลุ่มเหมือนในอดีตอีกต่อไป ซีรีส์ Y ไทยไปไกลเกินกว่าที่คาดคิดและสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้อีกมาก นอกจากบรรดานักแสดง Y ที่โกอินเตอร์กันไปหลายคู่แล้ว แต่ยังมีคนเบื้องหลังที่มองข้ามไปไม่ได้ FEED จึงชักชวนบรรดาผู้อยู่ในอุตสาหกรรม Y มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองการพัฒนาซีรีส์ Y ไทยให้ไปได้ไกลกว่าเดิม

พิธีเปิดงาน FEED Y CAPITAL
พิธีเปิดงาน FEED Y CAPITAL
เสวนาซีรีส์ Y ไทยในงาน FEED Y CAPITAL
บรรยากาศการเสวนางาน FEED Y CAPITAL

เริ่มที่มุมมองด้านวิชาการ รศ.ดร. นัทธนัย ประสานนาม อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ศึกษาประเด็นซีรีส์ Y ไทยฉายภาพอุตสาหกรรมนี้ว่า โมเดลของอุตสาหกรรมพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่การกลับมาของวัฒนธรรม Y ที่เรียกว่าเป็น “Y Boom” หรือ “Yaoi Boom” โดยหมุดหมายสำคัญในช่วงที่ “Love Sick The Series” ออกอากาศ ถือเป็นโมเดลของอุตสาหกรรมเนื่องจากเป็นซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงจากนวนิยาย มีการปั้นนักแสดง ทำเพลงประกอบ การจัดงานแฟนมีตต่างๆ ถือเป็นต้นแบบให้แก่วงการซีรีส์ Y จนถึงปัจจุบัน

รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม
รศ.ดร. นัทธนัย ประสานนาม

ส่วนสาเหตุที่ซีรีส์ Y ไทยถูกใจชาวต่างชาติเนื่องจากคุณภาพการผลิต วัฒนธรรมไทยมีความยืดหยุ่น ไม่มีกำแพงด้านศาสนาและวัฒนธรรมที่ตีกรอบห้ามผลิตและเผยแพร่ซีรีส์ Y และจุดแข็งอีกอย่างคือนักแสดงไทยมีสเน่ห์และเคมีที่เข้ากัน สามารถใช้โซเชียลมีเดียอย่างเข้มข้นเพื่อสื่อสารกับกลุ่มแฟนคลับด้วย

เชื่อว่าในอนาคตซีรีส์ Y ไทยจะไปได้ไกลกว่านี้ เนื่องจากปัจจุบันภาครัฐเอง ก็เห็นถึงศักยภาพของซีรีส์ Y ไทยที่ดังไกลถึงต่างแดน จึงเริ่มมีการเชิญผู้จัดเข้าไปพูดคุย และคาดว่าจะมีการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากภาครัฐในเร็วๆ นี้

ฟากมุมของผู้จัด อย่าง เมย์ อรวรรณ วิชญวรรณกุล แห่ง บริษัท มี มายด์ วาย จำกัด ผู้อยู่ในวงการ Y มากว่า 10 ปี เริ่มจากการเป็นผู้อ่าน สู่นักเขียน ก่อนจะผันตัวมาเป็นผู้จัดซีรีส์ Y ที่มีผลงานสร้างชื่อและได้รับความนิยมมากมาย ทั้ง TharnType The Series , Don’ t Say No The Series และ บรรยากาศรัก

เล่าถึงวงการสาย Y ว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากการอ่านนิยายในเว็บไซต์และหนังสือเล่มซึ่งในอดีตถือเป็นเรื่องที่ต้องปกปิด กระทั่งปัจจุบันนิยาย Y ได้รับการยอมรับเมื่อไปที่ร้านจำหน่ายหนังสือก็พบหนังสือนิยาย Y จำหน่ายเป็นหมวดหมู่ไม่ต่างจากหนังสือทั่วไป

เมย์ อรวรรณ วิชญวรรณกุล นักเขียนซีรีส์ Y
มย์ อรวรรณ วิชญวรรณกุล แห่ง บริษัท มี มายด์ วาย จำกัด

ขณะที่ซีรีส์เองก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ มีการพัฒนาบทละคร โดยเฉพาะมุมมองต่อเรื่องเพศตามยุค ตามสมัย และช่วยทำให้สังคมเปิดกว้างยอมรับความแตกต่างหลายทางเพศมากขึ้น ปัจจุบันซีรีส์ Y เป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่หากได้รับการสนับสนุนมากกว่านี้ ก็จะยิ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่แข็งแกร่งมาก สามารถดึงดูดเม็ดเงินเข้าประเทศได้อีกมาก

เช่นเดียวกับ ออฟ นพณัช ชัยวิมล ผู้กำกับซีรีส์ชื่อดัง อาทิ นิทานพันดาว และแค่เพื่อนครับเพื่อน ที่เพิ่งคว้ารางวัลผู้กำกับซีรีส์ Y ยอดเยี่ยมจากงาน FEED Y Capital ที่สะท้อนอีกมุมมองต่อวงการผลิตซีรีส์ Y ว่า อยากให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ มีองค์กรและความร่วมมือเพื่อพัฒนาการผลิตคอนเทนต์ให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์อย่างชัดเจน อีกสิ่งที่อยากให้ภาครัฐสนับสนุนคือเรื่องสวัสดิการและชั่วโมงการทำงานของคนในกองถ่าย ที่มักมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน อยากให้ภาครัฐพิจารณาในการแก้ไขประเด็นดังกล่าวเช่นกัน

ออฟ นพณัช ชัยวิมล ผู้กำกับซีรีส์ Y
ออฟ นพณัช ชัยวิมล ผู้กำกับซีรีส์ Y ยอดเยี่ยม จากงาน FEED Y Capital

ด้าน ชีวิน ธนะมินทร์ วงษ์สกุลพัชร์ ผู้กำกับซีรีส์ Y คนแรกๆ ของประเทศไทย ที่มีผลงานสร้างชื่อมากมาย อาทิ LOVE SICK THE SERIES , WATER BOYY The Series และ War of Y The Series กล่าวว่าในปี 2565 นี้ จะเห็นว่าวงการซีรีส์ Y เติบโตอย่างก้าวกระโดดทั้งในแง่คุณภาพการผลิตและบทประพันธ์ที่มีเนื้อหาเรื่องประเด็นทางสังคม ความหลากหลายทางเพศ และการสมรสเท่าเทียมมากขึ้น

ชีวิน ธนะมินทร์ ผู้กำกับซีรีส์ Y
ชีวิน ธนะมินทร์ วงษ์สกุลพัชร์ ผู้กำกับซีรีส์ Y

ในมุมผู้อยู่เบื้องหลังได้มีการพูดคุยกับผู้ที่อยู่วงการซีรีส์ Y ว่าอยากจะยกบาร์ให้สูงขึ้น ทั้งในแง่บทประพันธ์และคุณภาพการผลิต รวมถึงอยากให้ภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตซีรีส์ Y ให้มากขึ้น

“ถ้าภาครัฐสนับสนุน เชื่อว่าซีรีส์ Y จะไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง จะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ได้จริง ฝากเอ็นดูพวกเราด้วย ตอนนี้ก็เริ่มเห็นมีหลายฝ่ายสนับสนุนแล้ว ในฐานะคนเบื้องหลังก็ขอบคุณจริงๆ แต่ถ้ายิ่งช่วยกันซัพพอร์ต ช่วยกันส่งเสริม การที่ประเทศไทยจะเป็นเมืองหลวงซีรีส์ Y ก็จะเป็นคำพูดที่ไม่เกินจริง”

ชีวิน ธนะมินทร์ วงษ์สกุลพัชร์ ผู้กำกับซีรีส์ Y

Student of the world.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก