ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชายนั้นมีหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัญหาทางกายภาพ อายุที่มากขึ้น ปัจจัยทางพันธุกรรม วิถีชีวิต และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการผลิตสเปิร์มที่น้อยลง คุณภาพสเปิร์มลดลง รวมไปถึงการเคลื่อนที่ของสเปิร์มลดลงซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ในภาวะมีบุตรยากในชาย จึงทำให้สเปิร์มไม่สามารถว่ายไปถึงเซลล์ไข่เพื่อปฏิสนธิได้
“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” กรรมการบริหาร บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) และครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ เพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์และโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ยื่นหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก เผยว่า อัตราการเคลื่อนที่ของ “อสุจิ” หรือ “สเปิร์ม” มีความสำคัญต่อการมีบุตร เพราะความสามารถในการเคลื่อนที่ของสเปิร์มไปยังไข่เพื่อทำการปฏิสนธิ เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ประเมินคุณภาพของสเปิร์ม โดยเกณฑ์อัตราการเคลื่อนที่ของตัวสเปิร์มโดยรวม (Motility) จากองค์การอนามัยโลก (WHO criteria 2021) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 42 ซึ่งการเคลื่อนที่ของสเปิร์มมักจะถูกจำแนกตามความเร็วและทิศทาง โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
- การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Progressive motility) คือ สเปิร์มเคลื่อนที่ไปข้างหน้า มีความเร็วและทิศทางที่เป็นเส้นตรง โดยจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุเกณฑ์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของสเปิร์มต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30
- การไม่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า (non-progressive motility) คือสเปิร์มเคลื่อนที่แต่ไม่ได้เดินทางไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างชัดเจน อาจหมุนเวียนอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ไปมา แต่ไม่สามารถเดินทางไปไกล ซึ่งเกณฑ์การไม่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 1
- ไม่มีการเคลื่อนที่ (Immotility) คือสเปิร์มไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เลย ซึ่งเกณฑ์การไม่มีการเคลื่อนที่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 20
ดังนั้นอัตราการเคลื่อนที่ของสเปิร์มมีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดโอกาสในการมีบุตร สเปิร์มที่มีการเคลื่อนที่ที่ดีมีโอกาสสูงที่จะสามารถผ่านเข้าไปในปากมดลูกและเดินทางไปยังท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ได้สำเร็จ ในขณะที่สเปิร์มที่มีการเคลื่อนที่น้อยหรือไม่เคลื่อนที่เลยอาจลดโอกาสในการมีบุตรได้
โดยสาเหตุที่ทำให้สเปิร์มเคลื่อนที่ช้าหรือเคลื่อนที่ไปไม่ถึงไข่มีหลายสาเหตุ ได้แก่
1.ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดยครอบคลุมทั้งภาวะโภชนาการต่ำ หรือ ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ หรือด้วยไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบจึงทำให้ทานอาหารไม่ตรงเวลา ทานอาหารแปรรูป หรืออาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) และติดหวาน โดยมีการวิจัยศึกษาพบว่า การบริโภคอาหารแปรรูปหรืออาหารที่มีสารอนุมูลอิสระสูง หรือทานเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของอสุจิที่ลดลงของชายวัยเจริญพันธุ์ และอาจทำให้อัตราการเคลื่อนที่ของสเปิร์มลดลงอ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Sugar-sweetened beverage intake in relation to semen quality and reproductive hormone levels in young men. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Human Reproduction ปี 1986
2.ขาดวิตามินดี ซิงค์ และซีลีเนียม “วิตามินดี” มีบทบาทในการควบคุมระดับแคลเซียมในเซลล์สเปิร์ม และมีผลต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มโดยตรง จากงานวิจัยเรื่อง Vitamin D is positively associated with sperm motility and increases intracellular calcium in human spermatozoa. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Human Reproduction ปี 2011 ศึกษาพบว่า อัตราการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม อัตราการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของสเปิร์ม และรูปร่างของสเปิร์มที่ผิดปกติ มีสาเหตุมาจากภาวะขาดวิตามินดีถึง 44%
“ซิงค์ ( Zinc)” หรือ “สังกะสี” เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกาย และระบบสืบพันธุ์ ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานของอวัยวะเพศชาย และช่วยให้สเปิร์มแข็งแรง จากงานวิจัยเรื่อง Impact of seminal and serum zinc on semen quality and hormonal status: A population-based cohort study of Russian young men. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Trace Elements in Medicine and Biology ปี 2021 ศึกษาพบว่าผู้ชายที่ได้รับ ซิงค์ (Zinc) เพียงพอจะมีปริมาณน้ำอสุจิมากกว่า 46.42% และมีจำนวนสเปิร์มมากกว่า 106% รวมทั้งความเข้มข้นของสเปิร์มมากกว่า 47.26% มีอัตราการเคลื่อนที่ไปข้างหน้ามากกว่า 42.55% และมีอัตราความปกติของรูปร่างของสเปิร์มมากกว่า 14.06% เมื่อเทียบกับผู้ชายที่ได้รับซิงค์ไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ “ซีลีเนียม” ยังมีส่วนสำคัญของการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ ในเซลล์สเปิร์ม ช่วยปกป้องสเปิร์มจากความเสียหายจากอนุมูลอิสระ อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง The Effect of Selenium Therapy on Semen Parameters, Antioxidant Capacity, and Sperm DNA Fragmentation in Men with Idiopathic Oligoasthenoteratospermia. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Biological Trace Element Research ปี 2023 ศึกษาพบว่าซีลีเนียมสามารถช่วยเพิ่มความหนาแน่นของสเปิร์ม เพิ่มการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม และเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยรวมในน้ำอสุจิอีในผู้ชายที่มีภาวะ Oligoasthenoteratospermia หรือภาวะที่จำนวนอสุจิน้อย การเคลื่อนไหวของอสุจิไม่ดี และรูปร่างของตัวอสุจิผิดปกติอีกด้วย
3.สูบบุหรี่ ติดกาแฟ ดื่มแอลกอฮอล์
โดยมีงานวิจัยศึกษาพบว่า ผู้ชายที่สูบบุหรี่จัดมีปริมาตรน้ำอสุจิลดลง 8.3% จำนวนอสุจิทั้งหมดลดลง 25.2% ความเข้มข้นและการเคลื่อนไหวของอสุจิลดลง 7.3% และมีการแตกหักของ DNA ของอสุจิและภาวะอสุจิรูปร่างผิดปกติสูงขึ้น อ้างอิงรายงานวิจัยจากเรื่อง Effects of cigarette smoking on semen quality, reproductive hormone levels, metabolic profile, zinc and sperm DNA fragmentation in men. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Endocrinology ปี 2010 และยังมีการศึกษาวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟมากกว่า 400 mg ส่งผลต่อความหนาแน่นของสเปิร์ม จำนวนสเปิร์มลดน้อยลง และคุณภาพแย่ลง ขณะเดียวกันการดื่มเบียร์ประมาณ 5 แก้ว/สัปดาห์ ส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์ม โดยอ้างจากงานวิจัยที่สำรวจชาวเดนมาร์กที่มีสุขภาพดี 1,221 คน ผลการทดลองสรุปว่า สเปิร์มของชายที่เพิ่งดื่มแอลกอฮอล์ก่อนที่ทดสอบ 1 อาทิตย์จะมีคุณภาพต่ำขณะที่ชายที่ดื่มอย่างหนัก 1 เดือนก่อน แต่ไม่ดื่มหรือดื่มน้อยก่อนทำการทดสอบกลับมีผลของคุณภาพสเปิร์มปกติ ซึ่งแสดงว่าคุณภาพอสุจิจะได้รับการฟื้นฟูถ้าระดับแอลกอฮอล์ลดลง
4.นอนไม่เพียงพอ การนอนหลับที่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ปรับสมดุลฮอร์โมนของร่างกายรวมไปถึงควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเพศที่เป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างสเปิร์มที่มีคุณภาพของคุณผู้ชายด้วย จากรายงานวิจัยเรื่อง Sleep Deprivation and Late Bedtime Impair Sperm Health Through Increasing Antisperm Antibody Production: A Prospective Study of 981 Healthy Men. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Medical Science Monitor ปี 1995 ศึกษาพบว่าการนอนดึกอาจลดการเคลื่อนไหวของอสุจิ ลดจำนวนอสุจิ และลดอัตราการมีชีวิตของสเปิร์มด้วย
5.ความเครียด จากงานวิจัยเรื่อง Oxidative Stress is Associated with Reduced Sperm Motility in Normal Semen. ที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Men’s Health ปี 2007 ศึกษาพบว่าการเคลื่อนไหวของอสุจิที่ลดลงในผู้ชายที่มีสุขภาพดีสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ลดลงของเอนไซม์ G6PD และระดับไซโตไคน์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้นในน้ำอสุจิ
นอกจากปัญหาการเคลื่อนที่ของสเปิร์มแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในชาย เช่น ปริมาณการหลั่งน้ำอสุจิน้อยกว่าปกติ การมีชีวิตรอดของสเปิร์มน้อย รูปร่างของสเปิร์มผิดปกติ สเปิร์มไม่มีพลังงานมากพอต่อการเจาะเข้าไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ น้ำอสุจิมีความหนืดมากเกินไปและมีการละลายตัวของน้ำอสุจิน้อย การอุดตันของท่อนำอสุจิรวมไปถึงปัจจัยทางพันธุกรรม และอายุที่มากขึ้น โรคประจำตัว และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมภายนอกอื่น ๆ เช่น อากาศร้อน การสวมกางเกงที่รัดแน่นจนเกินไป ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการผลิตสเปิร์มที่น้อยลงและคุณภาพสเปิร์มที่ลดลง
“ดังนั้นครูก้อยแนะนำคู่สมรสที่มีอายุมากเกิน 35 ขึ้นไป หากไม่ได้คุมกำเนิดเป็นระยะเวลา 6 เดือน หรือ คู่สมรสที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ไม่ได้คุมกำเนิดเป็นระยะเวลา 1 ปี แล้วไม่ตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง และควรดูแลสุขภาพทั้งคู่บำรุงทั้งชายและหญิง ปรับโภชนาการ ปรับพฤติกรรม ออกกำลังกาย และทานวิตามินเสริมโดยเฉพาะผู้ชายที่มีพฤติกรรมตามที่กล่าวมาข้างต้น มีโอกาสที่คุณภาพและการเคลื่อนที่ของสเปิร์มลดลง หากกำลังวางแผนมีบุตรและกำลังมองหาอาหารเสริมบำรุงสุขภาพ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โมทิล่าวัน บาย ครูก้อย (Motila1 By KruKoy) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ออกแบบมาเพื่อผู้ชายที่เตรียมตัวมีบุตร” ครูก้อย นัชชา กล่าว.