“ช่องคลอดอักเสบ” ปัญหาสุขภาพภายในสตรีที่พบบ่อยมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ในช่องคลอดขาดความสมดุลไม่สามารถจัดการกับจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคได้ จึงนำไปสู่การติดเชื้อในช่องคลอด ช่องคลอดอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และความซับซ้อนทางสูติเวช รวมถึงภาวะมีบุตรยากด้วย
ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ให้ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับ โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility) ว่า “ช่องคลอดอักเสบ” มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความอับชื้น การใช้แผ่นอนามัย หรือสวมกางเกงและกระโปรงที่รัดรูปจนเกินไป และปัจจัยภายใน ได้แก่ ภูมิต้านทานต่ำ แบคทีเรียชนิดดี หรือ จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ภายในช่องคลอดขาดความสมดุล เนื่องในช่องคลอดมีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ซึ่งเป็นแบคทีเรียเจ้าถิ่นไว้คอยรักษาสมดุลระบบภายในสตรี คอยจัดการกับแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค หากแบคทีเรียชนิดดี ภายในช่องคลอดลดน้อยลงและอ่อนแอกว่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคทำให้ไม่สามารถจัดการกับเชื้อแบคทีเรียตัวร้ายได้ จึงส่งผลให้ระบบภายในช่องคลอดเกิดการอักเสบได้ง่าย โดยสามารถสังเกตอาการได้จาก สีของตกขาวที่ผิดปกติ ตกขาวเป็นสีขุ่นเข้ม สีส้ม สีเขียวหรือมีฟองร่วมด้วย มีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ร่วมกับอาการตกขาว มีผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศ รู้สึกคันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอด มีอาการบวมบริเวณอวัยวะเพศ รู้สึกแสบร้อนขณะมีเพศสัมพันธ์หรือปัสสาวะ โดยมีงานวิจัยหลายฉบับได้ทำการศึกษาพบว่าการอักเสบของช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคทางสูติศาสตร์หลายโรคซึ่งส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากอย่างมีนัยสำคัญ
ครูก้อย นัชชา กล่าวด้วยว่า จากศึกษางานวิจัยมีรายงานวิจัยหลายฉบับที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการอักเสบส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากอย่างมีนัยสำคัญ อ้างอิงรายงานวิจัยเรื่อง Inflammation in Reproductive Disorders ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Reproductive Science เมื่อปี 2009 ได้ทำการศึกษาพบว่า “การอักเสบ” เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคทางสูติศาสตร์ (Gynecological disease) ซึ่งการอักเสบ (Inflammation) ส่งผลต่อการตกไข่และการสร้างฮอร์โมนรวมไปถึงเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตรนั้น การอักเสบมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะต่างๆ ดังนี้ คือ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS) ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซีสต์รังไข่ หรือ เนื้องอกในโพรงมดลูก รังไข่เสื่อม วัยทองก่อนวัย เซลล์ไข่และเซลล์สเปิร์มที่ด้อยคุณภาพ การที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือแท้งในระยะเริ่มต้น
และมีการศึกษาในผู้หญิงที่มีปัญหาช่องคลอดอักเสบ พบว่า มีแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบจำนวนมาก อ้างอิงรายงานวิจัยเรื่อง Biological control of vaginosis to improve reproductive health ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Indian Journal of Medical Research, Supplement เมื่อ ปี 2014 ได้ทำการศึกษาในผู้หญิงที่มีการอักเสบของช่องคลอดที่มีปริมาณแบคทีเรียแอนแอโรบส์ (Anaerobes) แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบจำนวนมาก ผลการศึกษาพบว่า การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดโรค bacterial vaginosis; BV เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงในวัยก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมากที่สุด โดยการติดเชื้อนี้ไม่ได้เกิดจากแบคทีเรียตัวร้ายตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากการที่ แบคทีเรียในช่องคลอดขาดสมดุล การติดเชื้อนี้มักนำไปสู่ความซับซ้อนทางสูติเวช เช่น ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ การคลอดก่อนกำหนด รวมถึงการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ และการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำลายสุขภาพการเจริญพันธุ์ และนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากได้
ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมีผลการศึกษาที่สอดคล้องกับงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยการเจริญพันธุ์ที่ส่งผลต่อจุลินทรีย์ในช่องคลอด เรื่อง Fertility factors affect the vaginal microbiome in women of reproductive age ที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Reproductive Immunology ปี 2020 โดยได้ทำการศึกษาผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จำนวน 85 คน ที่ต้องการมีบุตร เพื่อหาปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ระดับฮอร์โมนทางเพศ ท่อนำไข่ และค่า pH ในช่องคลอด ว่าส่งผลต่อระบบนิเวศในช่องคลอดอย่างไร พบว่าผู้หญิงที่มีปัญหาท่อนำไข่อุดตัน มีรอบเดือนห่าง มีจำนวนไข่ในรังไข่มากกว่า 15 ฟอง หรือมีค่าความเป็น กรด-ด่างในช่องคลอดมากกว่า 4.5 มักมีจำนวนแบคทีเรียชนิดอีโคไล (Escherichia coli) ในช่องคลอดจำนวนมากซึ่งส่งผลให้ช่องคลอดเกิดการอักเสบ
มีการศึกษาพบว่า โพรไบโอติกส์ กลุ่ม Lactobacillus สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ส่งผลให้ช่องคลอดอักเสบได้ อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Effect of Lactobacillus rhamnosus and Lactobacillus acidophilus on bacterial vaginal pathogen ที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Immunopathology and Pharmacology ปี 2017 ที่ได้ทำการศึกษาถึงสรรพคุณของโพรไบโอติกส์สองสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านจุลชีพหรือแบคทีเรียในช่องคลอด ได้แก่ สายพันธุ์ Lactobacillus rhamnosus HN001 และสายพันธุ์ Lactobacillus acidophilus La-14 โดยทำการทดสอบจากการเพาะเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลให้ช่องคลอดอักเสบทั้งชนิด E.coli และ S.aureus โดยใส่โพรไบโอติกส์ทั้งสองชนิดในการเพาะเชื้อ พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียจากการฟักตัวและเจริญเติบโตได้ 100%
อีกทั้งยังมีงานวิจัยศึกษาพบว่า โพรไบโอติกส์ สายพันธุ์ Bifidobacterium ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ อ้างอิงรายงานวิจัยเรื่อง Enhancement of Natural immune function by dietary consumption of Bifidobacterium lactis (HN019) ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร European Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2000 ได้ทำการศึกษาทดลองในกลุ่มตัวอย่างโดยให้ทาน Bifidobacterium lactis HN019 / 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ติดต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ทานมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติดีขึ้น โดยวัดจาก ระดับของ Interferon Alpha ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย โดยสำหรับสตรีที่วางแผนตั้งครรภ์ การมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น ทั้งการท้องธรรมชาติ และการทำเด็กหลอดแก้ว ขณะเดียวกันหากมีภูมิต้านทานต่ำจะส่งผลให้ร่างกายอักเสบได้ง่าย
“อย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาพภายในสตรีรวมถึงการรักษาสมดุลแบคทีเรียในช่องคลอดเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง ป้องกันช่องคลอดอักเสบ และโรคที่ซับซ้อนของโรคทางสูติเวช และภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้ที่วางแผนเตรียมตั้งครรภ์ โดยควรดูแลและป้องกันทั้งปัจจัยภายนอก เรื่องการดูแลความสะอาด และการสวมใส่กางเกงที่ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดรูปจนเกินไป และเปลี่ยนแผ่นรองอนามัยหรือผ้าอนามัยบ่อยครั้ง รวมถึงปัจจัยภายในโดยการเสริมโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่พบในระบบภายในสตรีและช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน โดยมีสายพันธุ์ที่มีการทดสอบและได้รับการรับรองผลการวิจัยมาแล้วว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพได้จริงที่โดดเด่น 2 กลุ่ม คือ โพรไบโอติกส์กลุ่ม Bifidobacterium โดยเฉพาะสายพันธุ์ Bifidobacterium lactis (HN019) ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายโดยรวม และ โพรไบโอติกส์กลุ่ม Lactobacillus โดยเฉพาะ สายพันธุ์ Lactobacillus rhamnosus HN001 และ Lactobacillus acidophilus La-14 ที่มีสรรพคุณในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบในช่องคลอดได้
อีกทั้งการเสริมโพรไบโอติกส์สำหรับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อทั้งตัวคุณแม่เอง ยังส่งผลต่อเนื่องให้ทารกในครรภ์ รวมถึงทารกที่คลอดธรรมชาติยังจะได้รับแบคทีเรียชนิดดีที่บริเวณช่องคลอดของคุณแม่อีกด้วย และช่วงให้นมลูกจะได้รับแบคทีเรียที่ดีจากน้ำนม ทำให้ลำไส้ของลูกแข็งแรงขึ้นด้วยและมีภูมิคุ้มกันที่ดีตามมา หรือแม้แต่ในคนทั่วไป การต้องเสริมโพรไบโอติกส์ยังช่วยรักษาสมดุลในระบบย่อยอาหาร ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป สร้างสารป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้ ป้องกัน และบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน ท้องร่วง ท้องผูก ด้วย Ferty Probiotics By KruKoy ที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีต่อระบบลำไส้และระบบภายในสตรี และมีพรีไบโอติกส์ช่วยเสริมการทำงานของโพรไบโอติกส์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถติดตามความรู้และเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ที่เหมาะกับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์และมีผู้บุตรยากในการดูแลสุขภาพตามหลักวิทยาศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่ BabyAndMom หรือ แอดไลน์ปรึกษาครูก้อยได้โดยตรงผ่านทางไลน์แอด @babyandmom.co.th