ความคืบหน้าศึกชิงเก้าอี้ประธานสภาฯ หลังยืดเยื้อมานาน ระหว่างพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ล่าสุดเมื่อเวลา 19.50 น. (3 กรกฎาคม 2566) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้แถลงข่าวร่วมถึงข้อยุติการเสนอชื่อประธานสภา ว่าทั้ง 8 พรรค ได้ประชุมหารือร่วมกันกรณีตำแหน่งประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ แล้ว

“ตามที่พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคเพื่อไทยรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่ ได้ประชุมหารือร่วมกันกรณีตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมอบหมายให้พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยไปเจรจาตกลงร่วมกันนั้น บัดนี้พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยได้ตกลงร่วมกัน ดังนี้

1.เสนอชื่อ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภาคนที่ 2 โดยพรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคเพื่อไทยรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่ พร้อมให้การสนับสนุนตามข้อตกลงนี้

2.บุคคลที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมผลักดันวาระที่ทำให้รัฐสภาไทยก้าวหน้า ให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเป็นของประชาชน

3.ข้อตกลงเรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพระหว่าง 8 พรรคในการจัดตั้งรัฐบาล เสนอและสนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี อย่างสุดความสามารถ โดยดำเนินการตามข้อตกลง MOU ที่ได้แถลงร่วมกันเมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2566

4.พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยยืนยันร่วมกันให้ความเห็นชอบกฎหมายสำคัญเพื่อประชาชน ซึ่งรวมถึงการนิรโทษกรรมคดีแสดงออกทางการเมือง และการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปกองทัพ ได้แก่ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ร่างพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก และร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามที่พรรคก้าวไกลเสนอ

พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย เชื่อมั่นว่าข้อตกลงเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานร่วมกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเข้าไปบริหารประเทศ ตามเจตนารมณ์ที่ประชาชนได้แสดงออกอย่างชัดเจนผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566″

ภาพการแถลงข่าวข้อสรุปตำแหน่งประธานสภา และรองประธานสภา วันที่ 3 กรกฎาคม 2566

ประวัติ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

สำหรับประวัติของ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2487 ที่จังหวัดยะลา จบมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และจบมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยทุนของกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ.2512 ต่อมาสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2517

ประวัติการทำงาน

พ.ศ.2507 เป็นครูใหญ่โรงเรียนอัตรกียะห์ อิสลามมียะห์ จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ.2512 เป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยครูสงขลา (ในปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา)
พ.ศ.2518 อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ.2521 รองอธิการบดี สถาบันราชภัฏสงขลาการเมือง

นายวันมูหะมัดนอร์ เข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกในสังกัดพรรคกิจสังคม เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นแกนนำกลุ่มวาดะห์ เข้าสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาย้ายไปร่วมก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ โดยมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค และเป็นผู้นำกลุ่มวาดะห์ แทนนายเด่น โต๊ะมีนา ที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ก่อนจะย้ายไปเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย จากการยุบรวมพรรคความหวังใหม่เข้ากับพรรคไทยรักไทย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2545 ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และมีตำแหน่งเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรี

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

พ.ศ.2522 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา สมัยแรกในสังกัดพรรคกิจสังคม
พ.ศ.2523 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
พ.ศ.2524 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ.2526 มีการยุบสภา ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
พ.ศ.2527 ได้ร่วมกับนายวีระ มุสิกพงศ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้ง “กลุ่มเอกภาพ” (กลุ่มวาดะห์) และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 2 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
พ.ศ.2531 ได้นำกลุ่มวาดะห์ ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับ “กลุ่ม 10 มกรา” ร่วมกันจัดตั้งพรรคประชาชน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคประชาชน และได้รับเลือกตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
พ.ศ.2532 นำพรรคประชาชนยุบรวมกับพรรคก้าวหน้า พรรคกิจประชาคม และพรรครวมไทย เป็นพรรคเอกภาพ
พ.ศ.2533 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ)
พ.ศ.2535 ได้นำกลุ่มวาดะห์ เข้าร่วมก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร สมัยที่ 4 (จากการเลือกตั้ง 2535/1) และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 5 (จากการเลือกตั้ง 2535/2) รวมทั้งดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
พ.ศ.2537 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (กำกับดูแล กรมที่ดิน) การเคหะแห่งชาติ การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค)
พ.ศ.2538 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา สมัยที่ 6 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดูแลการแก้ไขปัญหาการจราจร
พ.ศ.2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 7 และได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร/ประธานรัฐสภา (24 พฤศจิกายน 2539-27 มิถุนายน 2543) ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นมุสลิมคนแรกของประเทศที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้
พ.ศ.2540 วันที่ 11 ตุลาคม 2540 วันสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ประธานรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้ทูลเกล้าถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นได้นำไปประกาศราชกิจจานุเบกษาในวันเดียวนั้น จึงมีผลให้รัฐธรรมนูญบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป
พ.ศ.2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 8 พรรคความหวังใหม่ และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พ.ศ.2545 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.2547 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.2548 ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 9
พ.ศ.2562 รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 10 (แบบบัญชีรายชื่อ) ก่อนจะลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563
พ.ศ.2566 รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 11

ข้อมูลประวัติ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา : มติชน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก