หากใครมีประสบการณ์การลุ้นประเทศเจ้าภาพโอลิมปิก ซึ่งจัดทุกๆ 4 ปี เวียนไปทั่วโลก

การลุ้นการเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo 2027/2028 ก็คงให้ความรู้สึกเดียวกัน

ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทย ได้เข้ารอบในโค้งสุดท้าย ในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ภายใต้ชื่องาน เอ็กซ์โป 2028 ภูเก็ต ประเทศไทย หรือ Expo 2028 Phuket Thailand

 โดยกำหนดจัดในช่วงระหว่างวันที่ 20 มีนาคม – 17 มิถุนายน พ.ศ. 2571

 ใช้พื้นที่ในการจัดงานรวม 141 ไร่ บริเวณตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

อีก 4 ประเทศคู่แข่งที่เข้ารอบ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เซอร์เบีย สเปน และอาร์เจนติน่า ซึ่งจะประกาศผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 มิถุนายนนี้    ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เร่งรณรงค์ร่วมภาครัฐและเอกชนโค้งสุดท้าย เพื่อร่วมขอแรงสนับสนุนจากทุกภาคส่วนรวมทั้งสื่อมวลชนและประชาชนทั่วประเทศ ร่วมใจส่งแรงเชียร์แสดงพลังความพร้อมในการสนับสนุนให้ประเทศไทยคว้าชัยชนะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานนี้

หากประเทศไทยได้รับโอกาสในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน Expo 2028 Phuket Thailand  จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยในทุกระดับ คือ

1.การหมุนเวียนเม็ดเงินทางเศรษฐกิจในประเทศจากนักเดินทางทั้งคนไทยและต่างชาติรวมกว่า 4.92 ล้านคน มีเงินสะพัดกว่า 49,231 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มากกว่า 39,357 ล้านบาท เกิดรายได้จากการจัดเก็บภาษีกว่า 9,512 ล้านบาท เกิดการจ้างงานมากกว่า 113,439 ตำแหน่ง

2.การพัฒนาเมืองของจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดในกลุ่มอันดามันคลัสเตอร์ ได้แก่ กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสการกระจายรายได้ของนักเดินทางต่างชาติในการใช้จ่ายไปยังทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

3.ประเทศไทยจะเป็นจุดหมายปลายทางด้าน “ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ Medical Hub ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้” โดยจะก้าวสู่การเป็น “ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก” ช่วยยกระดับทุกพื้นที่ทั่วประเทศให้เป็นเมืองด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

และ 4.การใช้พื้นที่หลังจากการจัดงาน ซึ่งจะพัฒนาเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับนานาชาติครบวงจร ศูนย์อภิบาลผู้สูงอายุนานาชาติ ศูนย์ใจรักษ์ และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูครบวงจร ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการแพทย์ สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต อีกทั้งยังพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติ และ Ecological Park ด้วย

ทีเส็บ จึงขอเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมส่งแรงเชียร์แสดงพลังความพร้อมในโค้งสุดท้าย สนับสนุนประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน Expo 2028 Phuket Thailand ผ่านลิงก์ https://support.expo2028thailand.com

ทั้งนี้ เรามาทำความรู้จักกับ​การจัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษ (Specialised Expo) เป็นงานมหกรรมระดับโลก กันสักนิดนึง

งานนี้ อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ขององค์การนิทรรศการนานาชาติ (Bureau International des Expositions หรือ BIE) ประเทศที่เป็นเจ้าภาพจะได้รับประโยชน์ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรม และด้านการท่องเที่ยว โดยรัฐบาลจะต้องรับเป็นเจ้าภาพการจัดงาน

​การจัดงาน Specialised Expo 2027/2028 ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน ภายใต้ชื่องาน เอ็กซ์โป 2028 ภูเก็ต ประเทศไทย หรือ Expo 2028 Phuket Thailand โดยกำหนดจัดในช่วงระหว่างวันที่ 20 มีนาคม – 17 มิถุนายน พ.ศ. 2571 ใช้พื้นที่ในการจัดงานรวม 141 ไร่ บริเวณตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

แนวคิดการจัดงานของประเทศไทย

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน Expo 2028 Phuket Thailand ได้เสนอวิสัยทัศน์ ในการที่จะเป็นเวทีสำหรับการหาทางออกสำหรับชีวิตในอนาคต เน้นการบูรณาการและใช้นวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อชีวิตในอนาคตที่สมดุลและยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2573 และต่อ ๆ ไป ซึ่งสะท้อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และเป็นไปตาม UNSDGs (Sustainable Development Goal หรือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ)

Expo 2028 Phuket Thailand จึงเป็นเวทีที่ประเทศไทยจะได้แสดงจุดยืนและจุดเด่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลัก Sustainable Development ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้แนวคิด Future of Life: living in harmony, sharing prosperity หรือ ภาษาไทยคือ ชีวิตแห่งอนาคต แบ่งปันความรุ่งเรือง อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว

แนวทางในการพัฒนาแนวคิด Future of Life เน้นสื่อสารถึงการพัฒนาปัจจัยที่จะส่งผลต่ออนาคตที่ยั่งยืนใน 3 ด้าน คือ People, Planet และ Prosperity ซึ่งเป็นที่มาของการออกแบบ Subtheme ที่จะเป็นแกนให้ประเทศต่าง ๆ สามารถออกแบบนิทรรศการของประเทศตนเองได้ ได้แก่

Subtheme ที่ 1 คือ Life & Wellbeing เน้นการนำเสนอการพัฒนาในมิติของมนุษย์ (People) โดยนำเสนอผ่านแนวทาง integration of technology and wisdom คือ การผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก

Subtheme ที่ 2 คือ Human & Nature เน้นเรื่องการอยู่อย่างสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ นำเสนอผ่านรูปแบบการสร้างความร่วมมือในทุกระดับ (Partnership and Collaboration) ร่วมกันหาทางออกเพื่อหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและร่วมสร้างการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

Subtheme ที่ 3 คือ Mutual Prosperity เน้นการกระจายโอกาส สนับสนุนการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน พลังงานที่ยั่งยืน นำเสนอผ่านแนวทางในการลดช่องว่าง (Bridge the gap) เพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเอง เพื่อสร้างสังคมที่เปิดกว้างและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ หากได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพการจัดงาน

ด้านสาธารณสุข

● สร้างภาพลักษณ์เชิงการแพทย์ระดับโลก และเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพนานาชาติ

● เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรมในอนาคต

● ส่งเสริมองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

● เกิดชุมชนการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ความเข้มแข็งในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ และศูนย์ดูแลผู้ป่วยที่มีความทันสมัยในจังหวัดภูเก็ต

● ส่งเสริมความพร้อมของระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ในจังหวัดภูเก็ต

ด้านเศรษฐกิจ

● กระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ เกิดการขยายตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง และเพิ่มอัตราการจ้างงาน

● คาดการณ์จำนวนผู้เข้าร่วมงาน (Visitors) 4.92 ล้านคน ผู้เข้าชมหมุนเวียน (Visitation) ประมาณ 7 ล้านคน จาก 106 ประเทศ ก่อให้เกิดเงินสะพัดระหว่างการจัดงาน 49,231 ล้านบาท มีมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP มากกว่า 39,357 ล้านบาท เกิดรายได้จากการจัดเก็บภาษีกว่า 9,512 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานมากกว่า 113,439 ตำแหน่ง

ด้านท่องเที่ยว

● สร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ

● เพิ่มศักยภาพและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมถึงส่งเสริมภาพลักษณ์ผู้นำการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงการแพทย์

● เพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวช่วงนอกฤดูกาลในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

ด้านสังคม

● ผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพแบรนด์ของไทยเป็นที่รู้จักระดับโลก และเกิดการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

● เกิดความร่วมมือทุกภาคส่วนในกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน

● การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาบุคลากรที่ยั่งยืนของคนในพื้นที่

● การกระจายความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเมือง

ด้านสิ่งแวดล้อม

● การพัฒนาระบบกำจัดขยะที่ได้มาตรฐานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

การใช้พื้นที่หลังจากการจัดงาน

การบริหารจัดการพื้นที่หลังการจัดงาน หรือ Legacy Planning เป็นเรื่องที่ BIE ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก พื้นที่จัดงานจะต้องมีการต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ภายหลังการจัดงานเสร็จสิ้นลง ซึ่งจังหวัดภูเก็ตได้วางแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็น “ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก” ดำเนินการโดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย ศูนย์บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับนานาชาติครบวงจร ศูนย์อภิบาลผู้สูงอายุนานาชาติ ศูนย์ใจรักษ์ และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูครบวงจร รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ Ecological Park นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ เช่น ศูนย์ประชุมนานาชาติ

ประเทศที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน Specialised Expo 2027/2028

1. จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย

ภายใต้แนวคิด Future of Life: Living in Harmony, Sharing Prosperity

เสนอจัดงานระหว่างวันที่ 20 มีนาคม – 17 มิถุนายน พ.ศ. 2571 (2028)

2. มลรัฐมินิโซตา สหรัฐอเมริกา

ภายใต้แนวคิด Healthy People, Healthy Planet: Wellness and Well-Being for All

เสนอจัดงานระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2570 (2027)

3. เมืองเบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย

ภายใต้แนวคิด Play for Humanity – Sport and Music for All

เสนอจัดงานระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2570 (2027)

4. เมืองมาลาก้า ประเทศสเปน

ภายใต้แนวคิด The Urban Era: towards the sustainable city

เสนอจัดงานระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 5 กันยายน พ.ศ. 2570 (2027)

5. เมืองซาน คาร์ลอส เดอ บาริโลเช่ ประเทศอาร์เจนตินา

ภายใต้แนวคิด Nature + Technology = Sustainable Energy. A viable future for humanity

เสนอจัดงานระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน พ.ศ. 2570 (2027)

การคัดเลือกประเทศเจ้าภาพการจัดงาน

​หลังการนำเสนอความพร้อมประเทศ ครั้งที่ 2 (2nd Country Presentation) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ตอนนี้ประเทศไทยได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายร่วมกับอีก 4 ประเทศ ​

​ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการคัดเลือกประเทศเจ้าภาพการจัดงานโดยผู้แทนจากประเทศสมาชิก BIE ซึ่งจะประกาศผลประเทศที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพในวันที่ 21 เดือนมิถุนายน 2566

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก