เมื่อไหร่จะได้นายกรัฐมนตรี ? เมื่อไหร่จะจัดตั้งรัฐบาลเสร็จ ? เมื่อไหร่นโยบายต่างๆ ที่พรรคการเมืองหาเสียงไว้จะถูกนำเข้าสภา และผลิดอกออกผลประโยชน์ให้กับประชาชนได้ ?

เชื่อว่าคำถามเหล่านี้คงอยู่ในใจใครหลายคน หลังมีการเลือกตั้งเมื่อ 14 พฤษภาคม 2566 และพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง แต่เวลาก็ล่วงเลยมาเกือบ 1 เดือนแล้ว ยังคงไร้วี่แววและบอกไม่ได้ว่ารัฐบาลก้าวไกล จะจัดตั้งสำเร็จได้เข้าสภา และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี หรือไม่และเมื่อไหร่

ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา เส้นทางของรัฐบาลก้าวไกล ยังเต็มไปด้วยขวากหนาม ตั้งแต่จำนวนเสียงของ ส.ว. จะยกมือให้หรือไม่ ต่อมาก็ประเด็นนายพิธา มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ในการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีการถือหุ้น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) 42,000 หุ้น หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้มีการยื่นไว้ 3 คำร้อง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้มีมติไม่รับคำร้องทั้ง 3 นักร้องไปแล้ว เนื่องจากเป็นคำร้องที่ยื่นเกินระยะเวลาที่จะสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

แม้คำร้องของทั้ง 3 นักร้อง จะถูกตีตกไปแล้ว แต่ประเด็นสำคัญคือ กกต. ได้พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริง พฤติการณ์ และหลักฐาน จึงดำเนินการต่อเอง เนื่องจากเห็นว่าพฤติการณ์ของนายพิธา อาจเข้าข่ายมาตรา 151 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กกต.จึงสั่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนเรื่องนี้

สำหรับรายละเอียดและอัตราโทษของมาตรา 151 มีดังนี้ “ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทำหนังสือยินยอม ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อ เพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ”

สรุปง่ายๆ คือ “รู้ว่าไม่มีสิทธิสมัคร ส.ส. ขาดคุณสมบัติ แต่ยังฝืนสมัคร” ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 151 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี

ศาสตราจารย์ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์  ขอบคุณภาพจาก มติชนสุดสัปดาห์
ศาสตราจารย์ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ขอบคุณภาพจาก มติชนสุดสัปดาห์

เรื่องนี้ ศาสตราจารย์ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอมุมมองไว้อย่างน่าสนใจ ผ่านเพจศูนย์วิจัยฯ มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง มีข้อความว่า “จดหมายถึงสังคมไทย กกต. กับการ “หาทาง” ลงโทษที่เน้นสำนึกส่วนบุคคล

น่าเศร้าใจนะครับที่กระบวนการเคลื่อนเข้าสู่ประชาธิปไตยของสังคมไทยกำลังถูกทำให้ชะงักงันและอาจจะนำไปสู่วิกฤติทางการเมืองครั้งใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

ผมกำลังจะพูดถึงเกมการเมืองของ กกต. ที่ออกมาในรูปของการเน้นให้ความผิดของคุณพิธา (ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ) นั้นกลายเป็นความผิดที่เกิดขึ้นจากสำนึกส่วนบุคคลของคุณพิธาเอง ตามมาตราที่ 151

การเลือกเน้นการพิจารณาข้อกล่าวหาคุณพิธา ในลักษณะเช่นนี้จะทำให้ดูเสมือนว่า กกต. มีความชอบธรรมในการที่จะลงโทษคุณพิธา ผมคิดว่า กกต. คงจะประเมินว่าหากออกมาในลักษณะที่เป็นความผิดส่วนบุคคลและเป็นสำนึกของคุณพิธาเพียงคนเดียว น่าจะลดกระแสต่อต้านของมวลชนลงเพราะเป็นความผิดที่ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะส่วนตัวของบุคคลโดยแท้

ผมรู้สึกตงิดๆ ใจอยู่ตั้งแต่เห็นหน้าบรรดา กกต. ที่โผล่มาทางโทรทัศน์ว่ามีลักษณะ “กระหยิ่มยิ้มย่อง” ก่อนการประกาศจะใช้มาตรา 151 และเป็นการ “รับเรื่องไว้พิจารณาเป็นความปรากฏ” ซี่งหมายความว่า กกต. จะใช้อำนาจพิจารณาเรื่องนี้ก่อนส่งต่อไปยังศาลยุติธรรม อำนาจของการพิจารณาคดีพิธานี้สังคมไทยจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะมาตรา 151 นี้กำหนดบทลงโทษไว้สูงลิ่ว คือมีทั้งโทษจำคุก ปรับ และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งนานถึง 20 ปี

การที่เลือกมาตรา 151 นี้ ก็เพราะต้องการเลี่ยงการเปรียบเทียบกับคดีการถือหุ้นสื่ออื่นๆ ที่จะทำให้ผลการตัดสินเป็นคุณแก่กรณีคุณพิธา การใช้มาตรา 151 ก็เพราะหวังว่าจะใช้คดีของคุณสิระเป็นตัวตั้งเพื่อเปรียบเทียบลงโทษ แต่ผมอยากจะบอกสังคมไทยว่าคดีของคุณสิระกับคุณพิธามันคนละเรื่องกัน หาก กกต. เทียบเคียงเช่นนี้ก็หมายความว่าต้องการเอาเรื่องคุณพิธาให้ได้นั้นเอง

การจะพิสูจน์ว่าคุณพิธารับรู้หรือไม่รับรู้ว่าตนเองมีคุณสมบัติหรือไม่ ก็ต้องดูที่การดำรงอยู่ของ ITV ด้วยว่าในสังคมขณะนั้น ITV มีสถานะอย่างไร  หาก กกต. ไม่พิสูจน์ในจุดนี้ให้ชัดเจนและสังคมยอมรับได้เสียก่อน และกระโดดไปสู่การตัดสินการรับรู้หรือไม่รับรู้ของพิธา โดยเทียบเคียงกับคดีคุณสิระ ผมเชื่อว่า กกต. ตัดสินใจผิดและต้องขอบอกว่า กกต.จะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น 

การเมืองของความหวังเรื่อง “ความเสมอภาคและยุติธรรม” ได้ถูกจุดและลามไปทุกมิติของสังคมแล้ว จะดับไฟแห่งความหวังของสังคมนี้อย่างมักง่ายไม่ได้หรอกครับ

พี่น้องทุกท่าน ขอช่วยกันจับตามองเพทุบายทั้งหลายของบรรดา “น้ำน้อย” ในสังคมไทย ที่พยายามดับไฟแห่งความหวังของพวกเรา และต้องช่วยกันเตือนสติพวกเขา (ที่คงเหลือน้อยนิด) ว่าพวกเขากำลังก่อให้เกิดวิกฤติทั้งสังคม

โศกนาฏกรรมของสังคมไทยหลีกเลี่ยงได้ หากยืนอยู่บน “ความยุติธรรม” ที่แท้จริง ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2566″

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ความว่า หวยออก 151 เป็นบวกหรือลบต่อพิธา การยกคำร้องคดีถือหุ้น แต่กลับเตรียมดำเนินคดีอาญาฐานรู้ว่าขาดคุณสมบัติแต่ยังมาสมัคร ส.ส. ของพิธา นั้น เป็นบวกหรือลบ

1. คดีอาญานั้น ต้องฟ้องศาลอาญา ซึ่งมีกระบวนการที่ยาวนาน เป็นปี และเป็นหลักประกันความยุติธรรมว่าต้องผิดจริงจึงถูกลงโทษ ไม่สามารถเอาผิดโดยง่าย แต่โทษรุนแรงกว่า เพราะมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี และตัดสิทธิทางการเมืองถึง 20 ปี

2. การที่ กกต. ฟ้องดำเนินคดีอาญา แม้ยังอยู่ในขั้นกระบวนการยังไม่เสร็จสิ้น แต่ก็เป็นวัตถุดิบเพียงพอ ต่อเหล่า ส.ว. ที่ตั้งใจไม่เลือกพิธาเป็นนายก ไม่ยกมือให้ โดยมีข้ออ้างแบบไม่ตะขิดตะขวงใจ

3. การยกคำร้องคดีถือหุ้นสื่อ ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่ตายสนิท มีโอกาสฟื้นโดย ใช้ ส.ส. 50 คน หรือ ส.ว. 25 คน หรือยื่นโดย กกต.เองในฐานะความปรากฏ หลังจากการรับรอง ส.ส. โดยใช้สิทธิ ตามมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญ

4. อาวุธหนักต่าง ๆ กำลังลำเลียงสู่สมรภูมิสนามรบ และไม่จบแค่ ปืนต่อสู้อากาศยาน 151 แต่แพ้ชนะกลับอยู่ที่ฝ่ายเสนาธิการผู้วางแผน

ชำนาญ จันทร์เรือง ขอบคุณภาพจากมติชนสุดสัปดาห์
ชำนาญ จันทร์เรือง ขอบคุณภาพจากมติชนสุดสัปดาห์

สรุปแล้วประเด็นมาตรา 151 คงใช้เวลาอีกนานเป็นปี ส่วนประเด็นครอบครองหุ้นไอทีวี ก็ยังไม่ตายและกลับมาได้อีก ซึ่งเรื่องนี้ ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านกฎหมายและการเมือง ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความว่า

“ผมขอให้ความเห็นว่ากรณีตาม ม.42(3) และม.151ตาม พรป.เลือกตั้ง ส.ส.ฯ ซึ่งมีโทษโทษจําคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น มีกำหนด 20 ปีนั้น จะต้องใช้เวลาอีกยาวนาน เพราะเรื่องที่จะอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่ง กกต.สอบสวนเสร็จจึงจะต้องไปดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งมีขั้นตอนต่อไปยังพนักงานอัยการและอีก 3 ชั้นศาล สรุปว่า เรื่องนี้อีกนานนนนนนนนนนนครับ หมดสมัยสภาชุดที่ 26 แล้วจะเสร็จหรือเปล่าก็ไม่รู้วววววววว”

ชำนาญ จันทร์เรือง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก