ตามที่ กรมสรรพากร ได้เผยแพร่แจ้งข่าวสารผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรเรื่อง การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อพระราชกำหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2526 เพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ระหว่างวันที่ 3-17 พ.ค.66 นั้น

 อันเนื่องมาจาก กรมสรรพากร เตรียมจะเก็บภาษีเดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยเก็บครั้งละ 1,000 บาทต่อคน สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารไปต่างประเทศ และคนละ 500 บาท เมื่อเดินทางด้วยรถยนต์หรือเรือ

โดยมีข้อความเกริ่นนำ ใน “สรุปสาระสำคัญของพระราชกำหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2526”  ดังนี้

พระราชกําหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2526 ได้กําหนดให้ กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากภาษีอื่น ๆ ที่กรมสรรพากรเคยจัดเก็บมา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บที่สําคัญคือ เพื่อเป็นการหารายได้ ให้แก่รัฐบาล และป้องกันมิให้คนไทยนําเงินตราต่างประเทศออกนอกราชอาณาจักรเกินสมควร ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลการค้า และรักษาดุลการชําระเงินของประเทศ

มีอัตราภาษีที่กำหนดไว้ ดังนี้

พระราชกําหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้กําหนดอัตราภาษีการเดินทาง ไว้ไม่เกินครั้งละ 5,000 บาท (มาตรา 8) แต่ได้มีการออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราภาษีการ

เดินทางไว้ดังนี้

การเดินทางโดยทางอากาศ ครั้งละ 1,000 บาท

การเดินทางโดยทางบกหรือทางน้ํา ครั้งละ 500 บาท

 หลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าวออกไป  และประชาชนต่างสงสัยและวิพากษ์วิจารณ์กัน

นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ได้เปิดเผยเมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม 2566

ว่า “กรมสรรพากรเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชกำหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2526 เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย อันเป็นการตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวในด้านต่างๆ เท่านั้น

ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2564 ที่ได้รับทราบและเห็นชอบ การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ไม่ได้เป็นการเตรียมการที่จะจัดเก็บภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรแต่อย่างใด”

“ถึงแม้กฎหมายดังกล่าว จะไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2534 (อ้างอิง กฎกระทรวงเพื่อยกเว้นภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 กำหนดให้กรมสรรพากรยังคงมีหน้าที่ ที่ต้องดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายโดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในระบบกลางตามมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว” นายวินิจ กล่าว

โฆษกกรมสรรพากร กล่าวอีกว่า “ภายในปีพ.ศ.2567 กรมสรรพากรต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทํา ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายอีก 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก”

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก