คำถามที่ว่าซัก ผ้าปูที่นอน บ่อยแค่ไหนดูเหมือนจะไม่มีคำตอบที่เป็นมาตรฐานอย่างแน่ชัด แต่จริง ๆ แล้ว ความถี่ในการทำความสะอาดผ้าปูที่นอนมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของทางเดินหายใจและผิวหนัง หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าควรซักผ้าปูที่นอนบ่อยแค่ไหน? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ซักทำความสะอาดบ่อยครั้งมั นอกจากนี้ ยังควรซักผ้านวมและปลอกหมอนบ่อยแค่ไหน? วันนี้ทาง FEED จะมาไขคำตอบ

ผ้าปูที่นอน

คนสมัยใหม่ยุ่งกับงาน บางคนอาจจะเหนื่อยจากงานมาก กลับถึงบ้านมักจะหลับไปโดยไม่ได้อาบน้ำ หลาย ๆ คนคงคิดว่า การเข้านอนหลังจากอาบน้ำเสร็จและผ้าปูที่นอนดูไม่สกปรกจะไม่ต้องซักผ้าปูที่นอนบ่อยก็ได้ แต่ในความเป็นจริง แม้ว่าจะเข้านอนหลังจากอาบน้ำแล้วก็ตาม ผ้าปูที่นอนก็ยังสะสมสิ่งสกปรกไว้มากมายอย่างสุดลูกหูลูกตา ได้แก่

ผ้าปูที่นอน

รังแค เหงื่อ และเมแทบอไลต์ของร่างกาย ซึ่งผู้คนใช้เวลาอยู่บนเตียงประมาณ 7 – 8 ชั่วโมงต่อวัน แม้ในยามหลับ ร่างกายมนุษย์จะยังคงขับเหงื่อ รังแคออกจากหนังศีรษะและผิวหนัง รวมถึงขี้หูและขี้ตา เป็นเหตุให้ที่นอนสะสมไว้ไม่รู้ตัว

ตัวไรฝุ่น: ตัวไรฝุ่นชอบกินรังแคและชอบอาศัยอยู่ตามผ้าฝ้าย โดยเฉพาะผ้าปูที่นอนและผ้านวมที่มีแหล่งอาหารมากมาย ซึ่งอุจจาระและซากของไรฝุ่นเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ทางจมูกและโรคหอบหืด

ฝุ่น: ตราบใดที่ไม่เช็ดเฟอร์นิเจอร์ในร่ม ฝุ่นบาง ๆ อาจสะสมภายในสองสามวัน ไม่ต้องพูดถึงเตียงขนาดใหญ่ที่ไม่ได้ใช้งานถึง 2/3 ของเวลาทุกวัน แน่นอนว่าผ้าปูที่นอนจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อมฝุ่น การตกค้างของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและยา: หลายคนคุ้นเคยกับการทาโลชั่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หรือยาก่อนนอน ดังนั้น อาจมีสารต่าง ๆ ตกค้างภายในที่นอนได้

ผ้าปูที่นอนซักบ่อยแค่ไหน? : ตามรายงานของ ฮัลโหลคุณหมอ ควรซักผ้าปูที่นอนสัปดาห์ละครั้ง และไม่ควรปล่อยไว้นานเกิน 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับทารก เด็ก หรือผู้ที่มีผิวหนังบอบบางและมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

ผ้าปูที่นอน

ถ้าไม่ซักทำความสะอาดผ้าปูที่นอนเป็นเวลานานจะเกิดอะไรขึ้น โดยทั่วไป สิ่งสกปรกที่กล่าวถึงข้างต้นจะยังคงสะสมอยู่บนเตียง กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย ตราบใดที่ไม่ได้ซักผ้าปูที่นอนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จำนวนแบคทีเรียบนผ้าปูที่นอนก็มีมากกว่าในชักโครก ถ้าผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และเครื่องนอนอื่น ๆ ไม่ได้ซักเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อผิวหนังและทางเดินหายใจ ได้แก่

  • 1.โรคภูมิแพ้ที่อาจเกิดอาการแพ้ที่ตาทั้งอาการคันแห้ง, แดง, สารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น, ความรู้สึกของสิ่งแปลกปลอม รวมถึงอาการแพ้บริเวณจมูทั้งคัดจมูก น้ำมูกไหล และคันจมูก
  • 2. หายใจไม่ออก โดยผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกมักเป็นโรคหอบหืดหากทำความสะอาดผ้าปูที่นอนอย่างหละหลวมหรือถ้าเปิดแอร์ในฤดูร้อนอากาศในห้องจะแห้งและเย็น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืดได้ง่าย
  • 3. รูขุมขนอักเสบทั้งใบหน้า, หลัง, ทวารหนัก, ขา และส่วนอื่น ๆ ที่สัมผัสกับผ้าปูที่นอนบ่อย ๆ อาจระคายเคืองจากความสกปรกของผ้าปูที่นอน หรือติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้รูขุมขนอักเสบ ผดผื่น และมีหนอง
  • 4. อาจเกิดโรคกลาก โรคผิวหนังภูมิแพ้หรือภูมิแพ้ผิวหนัง, ผิวหนังอักเสบ และโรคเริมจากเหงื่อ เตียงที่สกปรกและเต็มไปด้วยแบคทีเรียสามารถทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น รอยแดง บวม และคัน
ผ้าปูที่นอน

อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ คนคงเกิดคำถามว่าควรซักผ้านวม ผ้าปูที่นอน และปลอกหมอนบ่อยแค่ไหน? ดีที่สุดคือซักผ้านวม ปลอกผ้านวม และปลอกหมอนพร้อม ๆ กับผ้าปูที่นอน ความถี่ในการทำความสะอาดที่เหมาะสมคือสัปดาห์ละครั้ง และนานที่สุดคือไม่เกิน 2 สัปดาห์

นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ซักผ้านวมทุก ๆ 2 ถึง 3 เดือน ซึ่งควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากการซักสำหรับวิธีทำความสะอาด ทั้งนี้เครื่องนอน เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้านวม ส่วนใหญ่เป็นผ้าฝ้าย การอบแห้งอาจทำให้หดตัวได้ หากแห้งยากเนื่องจากสภาพอากาศชื้นหรือไม่มีที่ตากผ้าที่บ้าน ขอแนะนำให้การอบแห้งด้วยอุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศา เวลาในการอบแห้งครั้งเดียวไม่เกิน 15 นาที

แหล่งที่มาและข้อมูล : helloyishi

Straight roads are for fast cars, turns are for fast drivers.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก