โรคไส้เลื่อนขาหนีบ คือ การที่มีลำไส้ หรือส่วนใดของอวัยวะในช่องท้องยื่นออกมาผ่านทางผนังหน้าท้องที่อ่อนแอบริเวณขาหนีบ ซึ่งมีทั้งชนิดที่เลื่อนลงไปอยู่ในถุงอัณฑะ และชนิดที่เลื่อนลงมาบริเวณหัวหน่าวไม่ลงไปในถุงอัณฑะมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 25 เท่า และมักพบบริเวณข้างขวามากกว่าข้างซ้ายตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไปจนถึงวัยสูงอายุ โดยไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

“ไส้เลื่อนขาหนีบ” แม้จะดูเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงนัก แต่ก็เป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่ควรละเลยหรือ ปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยมีความเห็นทางการแพทย์ จาก นพ.สมรส พงศ์ละไม ที่ได้เผยแพร่เรื่องราวกรณีศึกษาของผู้ป่วยในประเทศดูไบ เกี่ยวกับอาการ “ไส้เลื่อนขาหนีบ-ถุงอัณฑะขนาดยักษ์” (Giant inguinoscrotal hernia) ที่มีความยาวมากกว่า 60 เซ็นติเมตร เพื่อเป็นความรู้ และเป็นอุทหรณ์แก่ผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบทั้งหลายว่าควรรักษาอย่างถูกวิธีตามทางการแพทย์

โดยในเคสนี้ นพ.สมรส พงศ์ละไม กล่าวว่า ไส้เลื่อนนี้เลื่อนมานานมากกว่า 4 ปี จนดึงรั้งกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารทะลุ ต้องรีบผ่าตัดรักษาด่วนและระหว่างฟื้นฟูหลังผ่าตัด คนไข้จะต้องใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงถุงอัณฑะเพื่อป้องกันไม่ให้ไส้เลื่อน “เลื่อนแล้ว เลื่อนอีก เลื่อนต่อ เลื่อนจนเน่า” ดึงรั้งอวัยวะอื่นๆ บาดเจ็บ

นอกจากนี้ นพ.สมรส พงศ์ละไม ยังให้ความรู้เกี่ยวกับไส้เลื่อนว่า

  • ไส้เลื่อนทุกประเภทเจอได้ถึง 1-2% ของประชากร ดังนั้นจะมีคนไทยประมาณ 1 ล้านคนเป็นภาวะนี้ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
  • ไส้เลื่อนไม่เกี่ยวกับการใส่กางเกงใน คนไม่ใส่ กางเกงใน สบายใจได้
  • ข้อคิดสำหรับเพื่อนๆ อย่ามองว่าไส้เลื่อนเป็นเรื่องเล็กๆ เพราะถ้าเลื่อนนานๆ อาจทำให้ไส้เน่า เสียเวลาเสียเงินอีกมหาศาล ถ้าสงสัยว่าตัวเองมีไส้เลื่อนควรพบแพทย์ด่วน

อ.พญ.ชลลดา ครุฑศรี สาขาวิชาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ยังเผยถึงสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไส้เลื่อนในผู้ใหญ่ เกิดจากการที่มีผนังหน้าท้องบริเวณขาหนีบหย่อนยาน ไม่แข็งแรง ร่วมกับการมีแรงดันภายในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น

  • การมีน้ำหนักตัวมาก
  • มีพฤติกรรมการเบ่งมาก ๆ เช่น มีภาวะต่อมลูกหมากโต ทำให้มีการเบ่งปัสสาวะเป็นประจำ, ท้องผูกเรื้อรังต้องเบ่งอุจจาระเป็นประจำ
  • การยกของหนักเป็นประจำ
  • การออกกำลังกายที่มีการเกร็งหน้าท้องมาก การยกน้ำหนัก ทุ่มน้ำหนัก
  • มีอาการไอเรื้อรังจากการสูบบุหรี่จัด เป็นโรคถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
    หรือวัณโรคปอด

ดังนั้น ความกลัวที่ว่า การที่ผู้ชายไม่สวมใส่กางเกงในจะทำให้เป็นไส้เลื่อนขาหนีบนั้นไม่เป็นความจริง เพราะการไม่สวมกางเกงในไม่มีผลต่อการเพิ่มความดันในช่องท้อง ส่วนการออกกำลังกายประเภทวิ่ง เตะบอล หรือกระโดดเชือก ก็ไม่มีผลต่อการเป็นไส้เลื่อนขาหนีบเช่นเดียวกัน

การสังเกตอาการของไส้เลื่อนขาหนีบนั้นมักตรวจพบได้โดยง่ายด้วยตัวคนไข้เอง โดยการคลำที่บริเวณขาหนีบ จะพบเป็นก้อนปูดขึ้นมาหรือปูดลงไปที่ถุงอัณฑะเมื่อมีการยืนหรือเดินนาน ๆ หรือไอจามแรง ๆ เบ่งหรือหลังจากการยกของหนักขนาดที่พบตั้งแต่เล็กเท่าลูกมะนาวจนใหญ่เท่าลูกมะพร้าวเลยก็มี อาจจะมีอาการปวดหน่วงร่วมด้วยได้ โดยก้อนนี้จะราบและหายกลับเข้าช่องท้องไปได้เองเมื่อคนไข้นอน เมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและทำการรักษาโดยการผ่าตัดแบบไม่ฉุกเฉิน

แต่ถ้าไม่ผ่าตัดรักษาจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นไส้เลื่อนติดคา คือ ก้อนที่ปูดออกมาไม่สามารถกลับเข้าไปได้ตามปกติ จะมีอาการเจ็บปวดตรงก้อนไส้เลื่อน และมีอาการของลำไส้อุดตันจากการที่ลำไส้เลื่อนลงมาในถุงอัณฑะแล้วกลับเข้าช่องท้องไม่ได้ คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด ไม่ถ่าย และไม่ผายลม

เมื่อมีอาการเช่นนี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากต้องพิจารณาดันกลับหรือผ่าตัดแบบกึ่งฉุกเฉิน หากปล่อยภาวะไส้เลื่อนติดคาไว้ไม่ไปทำการรักษา ลำไส้ที่ติดคานั้นจะขาดเลือดเน่าตาย และทะลุได้ คนไข้จะปวดท้องรุนแรง มีไข้สูง ติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องทำการผ่าตัดฉุกเฉินทันที ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้สูง

ส่วนการดูแลหลังผ่าตัด ต้องงดยกของหนัก งดออกกำลังกายอย่างน้อย 6 สัปดาห์ และควรป้องกันไม่ให้ไส้เลื่อนกลับเป็นซ้ำ โดยการแก้สาเหตุที่ทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น เช่น คุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน รักษาโรคต่อมลูกหมากโต งดสูบบุหรี่ รักษาโรคถุงลมโป่งพอง และรักษาท้องผูกเพื่อไม่ให้เกิดการเบ่ง

โดยสรุปแล้ว เมื่อพบว่าเป็นไส้เลื่อนขาหนีบ ไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อไม่ให้เกิดภาวะไส้เลื่อนติดคาและขาดเลือดเน่าตาย

แหล่งที่มาข้อมูล

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง : “ต่อมลูกหมากโต” โรคที่ผู้ชายห้ามมองข้าม!

Skateboarding is the soul Sugar is addictive

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก