“แซม” รณกฤต  หะมิชาติ วัย 30 ปี สมัคร ส.ส. ผู้ต้องการผลักดันสิทธิตามกม.และขอร้อง“อย่ามองอวัยวะเพศที่แปลงแล้ว เป็นเพียงรอยแผลเป็น”

“คุณอาจจะไม่รู้ว่า ผมมีคำนำหน้าชื่อว่า นางสาว”

นี่คือคำพูดแรกของ“แซม” รณกฤต  หะมิชาติ วัย 30 ปี หนึ่งเดียวชายข้ามเพศ ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต พรรคเพื่อชาติหมายเลข 15 เขต 7 ดุสิต-บางซื่อ (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี)  ผู้ที่ต้องการเข้าสภาเพื่อการเปลี่ยนแปลงการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ แถมประกาศดังๆ ว่างานนี้ไม่ยอมแพ้จนกว่าจะได้มาซึ่ง “ความเท่าเทียม”

ที่ผ่านมา คุณแซม เป็นผู้ร่วมเสนอร่าง พ.ร.บ. รับรองสิทธิหลังการแปลงเพศ ,พ.ร.บ. รับรองเพศสภาพ GEN-ACT , เป็นผู้ทำโครงการทุนการศึกษาแก่บุคคลข้ามเพศ และเป็นอดีตอุปนายกสมาคมบุคคลข้ามเพศแห่งประเทศไทย รวมถึงคณะกรรมการร่างกฎหมายพ.ร.บ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ

คุณแซม ลงสมัคร ส.ส.ในปีนี้ (2566) ด้วยในใบสมัครที่ต้องเขียนว่า นางสาวรณกฤต  หะมิชาติ

แต่ทว่า คุณแซมบอกว่า  “อีกสี่ปีข้างหน้า ผมจะลงสมัคร ส.ส. ด้วยคำนำหน้าว่า “นาย” ครับ”

ทีมงานเว็บไซต์ฟีดฟอร์ฟิวเจอร์ มีโอกาสพูดคุยกับคุณแซม ก่อนถึงวันเลือกตั้ง (14 พฤษภาคม) มีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจ นำเสนอดังนี้

คุณแซม เปิดบทสนทนาว่า  “จากเพศสภาพในใจ เราไม่ได้อยากเป็นนางสาว อัตลักษณ์ทางเพศเราคือผู้ชาย เรารู้ตัวเองมาตั้งแต่ 2-3 ขวบแรกว่า เราอยากเป็นผู้ชาย จะใช้คำว่าอยากก็ไม่ถูกต้อง เพราะสามัญสำนึกของเราคือผู้ชาย เราเล่นของเล่นผู้ชาย เราไม่ได้อยากใส่กระโปรง เราไม่ได้อยากถูกถักเปีย สิ่งนี้เป็นความที่เรารู้สึกทุกข์ทรมานใจ เราจึงต้องมาแก้ไข เราคิดมาตลอดตั้งแต่ป.2-ป.3 ว่าเราจะไปตัดหน้าอกที่ไหนดี  หมอที่ไหนรับตัดบ้าง ผู้หญิงยังมีเสริมหน้าอกได้ แต่ถ้าจะตัดหน้าอกล่ะจะทำยังไง ตอนนั้นวิทยาการทางการแพทย์ไม่มี แต่เราพยายามหามันมาตลอด”

“ช่วงอายุ 16-17 ปี เรามีกลุ่มทรานส์ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน ก็มาแลกเปลี่ยนความรู้กันว่ามีการใช้ฮอร์โมนในต่างประเทศนะ มีคำว่า F2M  Female to Male นะ ช่วงนั้น มีอินเตอร์เน็ต เราก็เข้าไปค้นคว้าศึกษา พบว่า ถ้าเรารับฮอร์โมนในระดับที่เหมาะสม เราสามารถเปลี่ยนเพศสภาพเราได้   ซึ่งตอนนั้น ไม่มีหมอ ไม่มีความเข้าใจ เราต้องสั่งฮอร์โมนมาจากปากีสถาน มันก็ค่อนข้างอันตราย”

ตอนนั้นเลือกที่จะเป็นผู้ชาย และต้องอยู่ในร่างผู้หญิง เราขัดข้องในใจขนาดไหน ?

“สิ่งที่เราอึดอัดใจที่สุดคือเราไม่ชอบเพศสภาพของตัวเอง เราไม่ชอบอวัยวะเพศตัวเอง เราไม่ชอบสรีสระหรือทรวดทรงของตัวเอง ถ้าคนที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง เค้าต้องอยู่กับความอึดอัด  อาจจะกลายเป็นคนไม่มีความสุข ไม่มีความภูมิใจในตัวเอง หรือบางคนกลายเป็นคนซึมเศร้าไปก็มี    กระบวนการที่แซมทำ แซมผ่าตัดหน้าอก  ใช้เงินไปหลักแสนที่เมืองไทย ถ้าเป็นคนทั่วไป  การเก็บเงินหลักแสน เอาไปเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองได้เลย”

“คือพอแซม จบม.3 แซมขอทางครอบครัวลาออกจากโรงเรียนเลย คือแซมไม่สามารถใส่ชุดเนตรนารีไปเรียนได้  แซมว่ามันเป็นชุดที่บ่งบอกความเป็นหญิงชัดเจนที่สุด เราแฮปปี้มากที่จะได้ใส่ชุดพละ  คือเราทนไม่ได้ในสภาพนั้น พอออกมาแล้ว เรามีอิสระมาก กล้าที่จะเข้าไปอยู่ในสังคมมากขึ้น”

จากบทเรียนที่ผ่านมา ถ้าเรามีโอกาสได้เข้าไปเป็น ส.ส. เราจะเข้าไปเปลี่ยนอะไร?

“เราทำ พรบ.รับรองสิทธิหลังการแปลงเพศหลายรอบ ก็โดนปัดตกไปหลายรอบ เราไปทำประชาพิจารณ์มาทั่วประเทศกับกฎหมายที่เรียกว่า Gen Act  เพื่อจะยื่นเข้าสภา  ถ้าแซมได้เข้าไปในสภา อย่างน้อย เค้าจะได้เห็นว่าเราคือผู้ชายข้ามเพศที่เราทำงานได้ เราไม่ได้มาเรียกร้องสิทธิที่มันเกินไปกว่าที่ควรจะได้ อย่างน้อยต้องมีตัวแทนที่เป็นบุคคลข้ามเพศที่จะได้เข้าไปอยู่ในสภา ให้เค้าเห็นว่า เรามีปัญหาอะไร”

แก่นของกฎหมายที่ต้องการเปลี่ยนคืออะไร?

“แก่นของ พรบ.เราต้องมีสิทธิเปลี่ยนคำนำหน้าได้ รวมไปถึงเมื่อเปลี่ยนแล้ว สิทธิทางกฎหมายของเราเป็นยังไง

เช่นถ้าแซมต้องไปติดคุก เราต้องเข้าคุกไหน ถ้าแซมเข้า รพ. เค้าจะทรีตเราเป็นหญิงหรือชาย  หรือในแง่กฎหมายแรงงาน ถ้าเราไปทำงานเราจะอยู่ในสิทธิแบบไหน  ถ้าเรามีลูก เราจะเป็นบิดาหรือมารดา

อย่างเรื่องข่มขืน นี่ชัดมาก แซมขอยกตัวอย่างผู้หญิงข้ามเพศที่แปลงเพศมาแล้ว  ศาลมองว่าการแปลงเพศนั้นเป็นเพียงรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด ศาลไม่ได้มองว่าเป็นอวัยวะเพศหญิง อันนี้ที่แซมมองว่ามันไม่เท่าเทียมอย่างแรง หรือบางคนโดนถูกโกนหัว แล้วต้องเข้าคุกชาย ซึ่งประเทศเรา ควรปรับในเรื่องกฎหมายได้แล้ว”

ตอนที่ไปแปลงเพศมา มีผลกระทบทางร่างกายขนาดไหน?

“สิวเห่อเยอะ  อารมณ์สวิงมาก มีการเปลี่ยนแปลงที่เราก็รับมือเกือบจะไม่ได้  แต่สุดท้ายเราต้องมีสติ จนผ่านมาได้ แต่มีคนที่ใช้ยาอย่างผิดๆ ก็มี เค้าไม่รู้ว่า ต้องกิน ต้องฉีดอย่างไร จริงๆคือควรเข้าไปสู่กระบวนการทางการแพทย์ แซมอยากให้รัฐเข้ามาดูแล ให้คนได้เข้าถึงจริง ทั้งวิธีการทางการแพทย์และงบประมาณ  คือถ้าแซมได้เข้าไปมีบทบาทในสภา ได้เข้าไปดูในระดับนโยบาย แซมจะเข้าไปดูแลคนกลุ่มนี้ โดยภาครัฐ ให้เอาขึ้นมาทำให้มันเป็นมาตรฐาน อยากให้คนกลุ่มนี้ เข้าไปอยู่ในที่ๆ ที่เหมาะสม เข้าไปสู่หลักประกันสุขภาพโดยรัฐ

ในต่างประเทศบางประเทศรัฐออกค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดแปลงเพศ รวมถึงการใช้ยาต่างๆ ให้ เพราะรัฐมองว่า เป็นการรักษา  แต่ของเรา เวลาไปแตะงบประมาณ ก็จะกลัวกันมาก”

“จากที่แซมทำงานตรงนี้มานาน แซมพบว่ามีงานวิจัย ว่าปัจจุบัน มีผู้หญิงข้ามเพศประมาณ 300,000 คนจากประชากรราว 70 ล้านคนของประเทศไทย   แต่ผู้ชายข้ามเพศไม่มีตัวเลขชัดเจน ในขณะที่ประเทศอื่นมีบิ๊กดาต้ากันมากมาย   เอาจริงก็ไม่ได้ถึงขนาดว่า ชายข้ามเพศทุกคนที่อยากจะแปลงเพศ  บางคนก็พอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่  รัฐควรให้มีการทำงานวิจัยมากกว่านี้ ซึ่งโยงไปถึงงบที่จะใช้ แซมมองว่า การร่างกม. ควรจะต้องร่างออกมาจากคนที่เข้าใจตรงๆ”

บทสรุป

 “ทั้งหลายทั้งปวงแซมไม่อยากให้เรียกเราว่าเราเป็นอะไร ไม่อยากให้เรียกเราว่าทอม สุดท้ายก็คือคนที่เท่ากัน

แซมอยากเข้าไป ทำงานในกระทรวงสาธารณสุข  แซมเห็นปัญหาการเบิกค่ารักษาพยาบาลบางอันเราเบิกไม่ได้ แต่ทำไมสิทธิข้าราชการเบิกได้  เรื่องนี้ คือสิ่งที่แซมอยากเข้าไปผลักดัน”  คุณแซม กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามคลิปเต็มได้ที่ https://www.facebook.com/Feedforfuture/videos/550404537008023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก