เคยได้ยินกันไหมที่ว่า “คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด” ประโยคสุดคลาสสิกที่ได้ยินเมื่อไรก็ชวนให้อดสงสัยไม่ได้ว่าคนไทยอ่านหนังสือกันน้อยขนาดนี้จริงหรือ ?

สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไขข้อข้องใจเปิดผลสำรวจการอ่านของของประชากร 2561 จริงๆ แล้วคนไทยอ่านหนังสือกันมากถึงวันละ 80 นาที ไม่ได้อ่านแค่ปีละ 8 บรรทัดเหมือนกับประโยคข้างต้น

ผลสำรวจการอ่านของประชากรไทย 2561 พบว่า เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี อ่านหนังสือประมาณ 2.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 61.2 โดยเด็กผู้หญิงมีอัตราอ่านหนังสือเยอะกว่าเด็กผู้ชายเล็กน้อย (ร้อยละ 63.0 และ 59.5 ตามลำดับ)

สถิติการอ่านหนังสือของเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี

สำหรับผู้อ่านที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านหนังสือประมาณ 49.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 78.8 โดยเป็นการอ่านนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 20 นาทีต่อวัน (80 นาที/วัน) กลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่อ่านหนังสือนานที่สุดเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 49 นาทีต่อวัน (109 นาที/วัน) รองลงมาเป็นวัยเด็ก 83 นาที/วัน และวัยทำงาน 77 นาที/วัน ส่วนผู้สูงอายุอ่านหนังสือเฉลี่ย 47 นาที/วัน

สถิติการอ่านหนังสือของประชากรไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป
สถิติการอ่านหนังสือของประชากรไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป

กรุงเทพมหานคร มหานครแห่งการอ่าน

หากเราย้อนกลับไปไกลกว่านั้นจะพบว่าครั้งหนึ่งกรุงเทพมหานครเคยได้รับเลือกให้เป็น “เมืองหนังสือโลก” (World Book Capital) จากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) , สมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ (International Publishers Association) , สหพันธ์สถาบันและสมาคมห้องสมุดนานาชาติ (International Booksellers Federation) เมื่อปี พ.ศ. 2013 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมรักการอ่านให้กับประชาชนคนไทยทุกคน

กรุงเทพมหานครเมืองหนังสือโลก 2013
กรุงเทพมหานครเมืองหนังสือโลก 2013

จุดเริ่มต้นก่อนที่จะได้รับเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลกเกิดจาก “สมศักดิ์ จันทวัฒนา” ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (ตำแหน่งในขณะนั้น) ให้ทีมงานช่วยกันคิดว่า “รัฐบาลประกาศเลิกการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนด ‘ทศวรรษการอ่าน 2009-2018’ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า กรุงเทพฯ ควรจะทำอะไรเพื่อให้การอ่านของคนกรุงเทพฯ แข็งแรง”

ภายหลังการประชุมจึงเกิดเป็น “ภาคีการอ่านกรุงเทพฯ” (ฺBangkok Read for Life) ที่มีองค์กรทั้งเล็กและใหญ่เข้าร่วมกว่า 508 องค์กร โดยมีคอนเซ็ปต์ว่า อ่านเพื่อรัก : รักรากเหง้า รักตนเอง รักผู้อื่น รักโลก อ่านเพื่อรู้ : รู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น รู้จักโลก รักและรู้ สู่การสร้างสรรค์พัฒนาชีวิตและสังคมให้ก้าวหน้าทุกด้าน รื่นรมย์ มีสันติสุขและสันติภาพ เมื่อได้รับข้อสรุป กรุงเทพมหานครและภาคีการอ่านฯ จึงยื่นเสนอตัวเป็นเมืองหนังสือโลกในปี 2013

พันธะสัญญาสู่เมืองหนังสือโลก

  • โครงการหอสมุดกรุงเทพฯ
  • พิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทย
  • รณรงค์วัฒนธรรมการอ่านสร้างวัฒนธรรมการคิด
  • Children & Youth International Conference
  • ตามหาวรรณกรรม
  • หนังสือวิทยาศาสตร์เพื่อความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์
  • หนังสือพัฒนาจิตใจ
  • การเป็นเจ้าภาพ IPA symposium
  • กิจกรรมพื้นฐานต่างๆ ของภาคีทุกหน่วยงานที่ทำต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2011 – 2015

หนึ่งในแผนส่งเสริมการอ่านที่กรุงเทพมหานครดำเนินการคือ “Read on the Move” หรือการอ่านหนังสือขณะเดินทาง โดยร่วมกับกลุ่มสหกรณ์แท็กซี่ และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ติดตั้งแผงหนังสือและนิตยสารภายในรถโดยสารสาธารณะเพื่อให้ประชาชนสามารถหยิบอ่านได้ระหว่างการเดินทางเพราะคนกรุงเทพฯ ใช้เวลากับการเดินทางเฉลี่ย 107 นาที/คน/วัน

รวมถึงมีคำสั่งให้สำนักการศึกษาเปิดห้องสมุดโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพฯ 50 แห่ง ให้บริการประชาชนทั่วไปในช่วงหลังเลิกเรียน หรือวันเสาร์-อาทิตย์ และเพิ่มจุดอ่านบริเวณที่พักรอของผู้มาใช้บริการภายในโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพฯ สำนักงานเขตและหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพฯ พร้อมทั้งร่วมกับภาคีเครือข่ายขยายพื้นที่การอ่านและจัดทำห้องสมุดเพื่อผู้พิการเพื่อขยายโอกาสไปยังผู้ด้อยโอกาสในแต่ละกลุ่ม

มูลค่าตลาดลด ร้านหนังสือปิดตัว

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงหายสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่า คนไทยไม่ได้อ่านหนังสือแค่ปีละ 8 บรรทัดเท่านั้น แม้จะเป็นเรื่องที่น่าดีใจแต่อีกมุมหนึ่งสถานการณ์อุตสาหกรรมหนังสือในบ้านเราก็เป็นอีกหนึ่งวงการที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากทั้งปัญหาเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ข้อมูลจากสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ระบุว่า ปัจจุบันในปี 2565 สมาชิกของสมาคมฯ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์และร้านหนังสือรวม 385 ราย ลดจากปี 2560 ซึ่งมีสมาชิกอยู่ที่ 525 ราย และยังสอดคล้องกับมูลค่าภาพรวมตลาดอุตสาหกรรมหนังสือที่ลดลงเหลือเพียง 12,500 ล้านบาท จากที่เคยสูงสุดเกือบ 30,000 ล้านบาท เมื่อปี 2557

บรรดาร้านหนังสือในประเทศไทยก็ลดลงเช่นกัน จากในปี 2551 มีร้านหนังสือทั่วประเทศมากถึง 2,483 ร้าน ขณะที่ 10 ปีต่อมาลดลงเหลือเพียง 566 ร้าน และในปี 2565 สถานการณ์เริ่มดีขึ้นมีร้านหนังสืออยู่ที่ 800 ร้าน โดยรายได้ของร้านหนังสือสามร้านหลัก คือ ซีเอ็ด บีทูเอส และนายอินทร์ ก็ลดลงในช่วงโควิดเช่นกัน

ศูนย์กลางการเดินทาง แต่ไม่ตอบโจทย์งานหนังสือ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 กลับมาได้อีกครั้งที่ “สถานีกลางบางซื่อ” (เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) หลังต้องจัดในรูปแบบออนไลน์ 2 ปีเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทว่ายอดขายหนังสือและจำนวนคนเข้างานยังลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับสถิติการจัดงานครั้งก่อนหน้าเมื่อปี 2562 (เว้นปี 2563 – 2564 จัดแบบออนไลน์) โดยจำนวนผู้มางานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 ปี 2565 อยู่ที่ 715,603 คน ลดลง 49% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีผู้เข้าร่วมงาน 1,410,141 คน ขณะที่ยอดขายหนังสือในปี 2565 อยู่ที่ 199,938,889 บาท ลดลง 43% จากปี 2562 ซึ่งมียอดขาย 352,962,021 บาท

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 ณ สถานีกลางบางซื่อ
สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 ณ สถานีกลางบางซื่อ

โดยสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ที่มาออกบูธมียอดขายอยู่ที่ 100,000 – 300,000 บาท คิดเป็น 36% ยอดขาย 1,000,000 – 5,000,000 บาท คิดเป็น 16% ยอดขาย 50,000 – 100,000 บาท คิดเป็น 15% ยอดขาย 500,000 – 1,000,000 บาท คิดเป็น 12% ขณะที่บูธที่มียอดขายมากกว่า 10,000,000 บาท มีอยู่เพียง 1% ของจำนวนบูธทั้งหมด

อีกหนึ่งเสียงสะท้อนจากผู้ร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งนี้คือ “สถานที่จัดงาน” ที่แม้ปีนี้จะจัดที่สถานีกลางบางซื่อซึ่งเป็นเสมือนจุดศูนย์กลางการคมนาคมด้วยรถไฟแห่งใหม่ที่เชื่อมต่อทั้งรถไฟฟ้า BTS , MRT และรถไฟชานเมือง ทำให้การเดินทางมางานสะดวกสบายมากกว่าเมื่อเทียบสถานที่จัดงานครั้งก่อนคืออิมแพค เมืองทองธานี แต่ด้วยโครงสร้างของสถานที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการจัดงานลักษณะนี้ทำให้การออกบูธของสำนักพิมพ์ต่างๆ มีความซับซ้อนมากขึ้นส่งผลต่อความไม่สะดวกในการหาหนังสือภายในงาน

บ้านหลังเก่าในโฉมใหม่

เมื่อสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้นงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 จึงได้กลับมาจัดที่บ้านหลังเก่าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่เพิ่งปรับปรุงครั้งใหญ่ ประสบความสำเร็จอย่างมาก “นางสาวทิพย์สุดา สินชวาลวัฒน์” นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยระบุว่า “ตลอดการจัดงาน 12 วันมีผู้เข้าร่วมงานจำนวน 1,355,893 คน เพิ่มขึ้น 89% โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาวและวันเสาร์อาทิตย์ ส่งผลให้ยอดขายหนังสือภายในงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 347,331,734 ล้านบาท สูงขึ้น 74% เมื่อเทียบกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 ที่จัดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ณ สถานีกลางบางซื่อ สะท้อนถึงความนิยมการอ่านหนังสือในรูปแบบเล่มยังมีมากพอสมควร”

ความสำเร็จงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ข้อมูลจาก PUBAT
ความสำเร็จงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ข้อมูลจาก PUBAT

ส่วนประเภทหนังสือที่ขายดีได้แก่ 1.หมวดนิยายและวรรณกรรม รวมถึงนิยาย Y ที่เติบโตอย่างมากและได้รับแรงส่งจากนักแสดงวัยรุ่นที่มีกลุ่มแฟนคลับช่วยกระตุ้นยอดขายภายในงาน 2.หมวดการ์ตูนและวัยรุ่น หลายสำนักพิมพ์ประสบความสำเร็จจากการจำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกแบบลิมิเต็ดอิดิชั่น มีแฟนคลับที่ต้องการสะสมมาต่อคิวเพื่อเข้าไปซื้อในทุกรอบเวลาที่จัดจำหน่าย

นับเป็นเรื่องราวน่ายินดีทั้งในมุมของสำนักพิมพ์และผู้อ่านที่อนาคตวงการหนังสือบ้านเราเริ่มกลับมาสดใสอีกครั้งหนึ่งหลังต้องฝ่าฟันพายุครั้งใหญ่ เตรียมพบกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 30 มีนาคม-9 เมษายน 2566 ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งทางผู้จัดงานเน้นย้ำว่าจะนำข้อคิดเห็นจากผู้อ่านทุกคนไปปรับปรุงเพื่อพัฒนางานครั้งหน้าให้ดียิ่งขึ้น

แหล่งที่มาบทความ

coffee lover and caffeine addict หลงใหลในการเดินทาง เรียนรู้ประสบการณ์ผ่านตัวหนังสือ มองโลกผ่านกล้องถ่ายภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก