แฟนวายรวมตัวเทรนด์เอ็กซ์พุ่ง กรี๊ดลั่นสนั่นฮอลล์ 10 คู่จิ้น 20 นักแสดงซีรีส์วายร่วมเสิร์ฟโมเมนต์หวานชวนจิ้น แก๊ง T-POP บุกสเตจร้องเต้นไฟลุก “บิวกิ้น-พีพี” จัดเต็มดุเดือด FEED Y CAPITAL 2nd ด้อมฉ่ำ “ทฤษฎีสีชมพู” โหวตพุ่ง “ฟรีนเบค” คว้าโทรฟี่คู่จิ้นยอดนิยม “เจมีไนน์-โฟร์ท” คู่ Y แห่งปี “พระจันทร์มันไก่” ซีรีส์แห่งปี “นิว ศิวัจน์” ผู้กำกับแห่งปี รองผู้ว่าฯ กทม. ดัน “วายไทย” สู่ตลาดโลก “น้ำ-จิราพร” ลั่นรัฐเร่งลุยสร้างคน-ซอฟต์ พาวเวอร์ FEED ยืนยันปีหน้าเจอกันใหม่

FEED Y CAPITAL 2nd
FEED Y CAPITAL 2nd

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566 ที่ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ ฮอลล์ สามย่านมิตรทาวน์ FEED สื่อผู้ผลิตคอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ภายใต้เครือมติชน ร่วมสร้างกฏการณ์ความฟินความสนุกกับงาน FEED Y CAPITAL 2nd เมืองหลวงซีรีส์วาย ครั้งที่ 2 หลังประสบความสำเร็จแบบเปรี้ยงในครั้งก่อน ด้วยการขนทัพนักแสดงซีรีส์วายสุดฮอต 10 คู่ 20 ชีวิต พร้อมด้วยศิลปิน T-POP และศิลปินนักร้องอีกมากมายร่วมโชว์เสียงร้อง เล่น เต้น แบทเทิลความสามารถ อาทิ บิวกิ้น-พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล พีพี-กฤษฏ์ อำนวยเดชกร บอย-สมภพ โภคพูล งานครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครร่วมเปิดงาน

บิวกิ้น พุฒิพงศ์
พีพี กฤษฏ์

นายศานนท์ กล่าวว่า ดีใจและเป็นเกียรติที่ FEED Y CAPITAL 2nd จัดงานอย่างยิ่งใหญ่กว่าครั้งที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมซีรีส์วาย และอุตสาหกรรมเพลง T-POP ของประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ตนมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพียงสิ่งสันทนาการและความบันเทิง แต่คือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับโลก สำหรับกรุงเทพมหานครมีความยินดีพร้อมสนับสนุนทั้งเรื่องนโยบายส่งเสริมการเปิดพื้นที่แสดงความสามารถ อาทิ โครงการ BANGKOK STREET PERFORMER สวนสาธารณะต่างๆ รวมถึงการเปิดตัวศูนย์ถ่ายทำภาพยนตร์ของกทม. ที่จะเกิดขึ้นในเทศกาลหนังกลางแปลงเดือนตุลาคม 2566

กทม. พร้อมสนับสนุนทุกอุตสาหกรรม ทั้งซีรีส์ ภาพยนตร์ กิจกรรม อย่างเต็มที่ และอยากให้อุตสาหกรรมนี่เติบโตไม่ใช่ในประเทศไทยหรืออาเซียน แต่ให้ไปไกลถึงระดับโลก

นายศานนท์ กล่าว
พิธีเปิดงาน FEED Y CAPITAL 2nd เมืองหลวงซีรีส์วาย ครั้งที่ 2
MONICA
ALALA

สำหรับ FEED Y CAPITAL 2nd ประเดิมเวทีด้วยศิลปินบอยกรุ๊ป ALALA, MONICA และ PRIMETIME ที่มาโชว์พลังเสียงและออกสเต็ปให้แฟนๆ ได้ร้องและโยกไปพร้อมๆ กัน หลังจากนั้นเป็นช่วงสเปเชียลทอล์กประเด็น “พลังของซีรีส์วายในสังคมวัฒนธรรมไทย และโอกาสในอุตสาหกรรมความบันเทิงโลก” นำโดย น้ำ-จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย

จิราพร สินธุไพร กล่าวว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมซีรีส์วายไทยที่โตเพิ่มถึง 270 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นเรื่องที่ชี้ชัดว่าอุตสาหกรรมนี้มีศักยภาพมากเพียงพอที่จะเป็นพลังซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นโอกาสต่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและเพิ่มมูลค่าทางการตลาด นำไปสู่การต่อยอดเป็นทั้งคอนเสิร์ต แฟนมีต และพรีเซนเตอร์แบรนด์ระดับโลก

ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงผลักดันซอฟต์พาวเวอร์พร้อมพัฒนาคนและอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งเรื่องการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ การผลักดันตั้งหน่วยงาน THACCA เป็นต้น

ที่ผ่านมาความสำเร็จของซีรีส์วายเป็นพลังเชิงบวกที่ทำให้คนไทย ประเทศไทย มองความรักของ LGBTQIA+ เป็นเรื่องปกติ ไม่ผิดบาปเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งการผลักดันนโยบายซอฟต์พาวเวอร์เป็นวาระของคนไทยทั้งประเทศ จึงอยากชวนทุกคนมาร่วมเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน

วันนี้ดีใจที่ได้เห็นน้องๆ หลายคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างซีรีส์วายให้เติบโตมากขึ้นในอนาคต และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้

ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าว

ขณะที่ ช่อ-พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยให้ความเห็นบางช่วงบางตอนว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านซอฟต์พาวเวอร์ ลำดับที่ 35 ซึ่งเป็นการประเมินจากความคุ้นเคย ชื่อเสียง ปัจจัยดึงดูดและอิทธิพลที่ประเทศนั้นมีผลต่อประเทศอื่น รวมถึงการโต้ตอบต่อวิกฤตโควิด-19

นอกจากนี้ยังมีการประเมินซอฟต์พาวเวอร์อีก 7 เสาหลัก ซึ่งหากรัฐจะผลักดันพลังซอฟต์พาวเวอร์ ตนมองว่าควรรู้จักวิธีหรือการดำเนินการเพื่อก้าวสู่ระดับโลก เช่น การสร้างจุดเริ่มต้นด้วยการทำให้เป็นวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ เพื่อสร้างความงอกงามทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกระดับ

วันนี้ถ้าจะก้าวเข้าไปอยู่ในประเทศที่มีศักยภาพด้านซอฟต์ พาวเวอร์ลำดับต้นๆ ของโลก อุตสาหกรรมซีรีส์หรือภาพยนตร์วายไทย ควรหันมาพูดคุยเรื่องนโยบายหรือกฎเพื่อคนเบื้องหลังของวงการอุตสาหกรรมบันเทิงไทยให้มีประสิทธิภาพรอบด้าน และครบทุกมิติ

รวมถึงการจะก้าวไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สังคมไทยควรหยุดปิดกั้นเสรีภาพการแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรม แล้วหันมาสนับสนุนทั้งซีรีส์ ภาพยนตร์ T-POP

ช่อ พรรณิการ์ กล่าว

ภายในงานยังจัดเวที Talk Session สุดพิเศษ ที่เชิญตัวจริงเสียงจริงทั้งผู้ผลิต ผู้สร้างสรรค์ซีรีส์วายไทย และนักวิชาการผู้ศึกษาซีรีส์วายอย่างจริงจัง มาร่วมสนทนากันในหัวข้อ “อุตสาหกรรมซีรีส์วายไทย ในยุค 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ และโอกาสในตลาดโลก” นำโดย โอ๋-ยชญ กรณ์หิรัญ ประธานกรรมการ บริษัท สตาร์ ฮันเตอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด กอล์ฟ-ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ตัวแทนผู้กำกับซีรีส์ และ รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ คณะมนุษยศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยตัวแทนภาควิชาการให้ความเห็นว่า ประเทศไทยควรถอดบทเรียนจากเกาหลีอย่าง เรื่องแดจังกึม กล่าวคือไม่เร่งรีบผลิต ภาครัฐควรสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อให้ภาคเอกชนนำไปสานต่อและต่อยอดซอฟต์พาวเวอร์ได้

ขณะที่ตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรม 2 ท่านต่างให้ความเห็นช่วงท้ายในทิศทางเดียวกันว่า ตลอด 9-10 ปีที่ผ่านมาตลาดซีรีส์วายเติบโตขึ้นมากมุมมองผู้ผลิตวงการภาพยนตร์ไทยต้องมีการวางแผน โดยปลูกฝังความคิดผ่านหลายภาคส่วนเพื่อบูรณาการความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนให้เท่าเทียมกันในการเตรียมพร้อมสู่เวทีในระดับโลก

ตลอดช่วงเวทีเสวนาพูดคุยต่างๆ ได้รับความสนใจจากแฟนๆ ทั้งที่มารอชมความสนุกจากศิลปินและแฟนคลับของสปีกเกอร์แต่ละท่าน ก่อนที่งาน FEED Y CAPITAL 2nd ในช่วงบ่ายจะเปลี่ยนโหมดยกเวทีเป็นการแสดงความสามารถทั้งการร้อง เล่น เต้น และพูดคุยกันกับแฟนๆ นำโดย บิวกิ้น พุฒิพงศ์, พีพี กฤษฏ์, 7 Moment, FIRZTER, THE7, THI-O & TUTOR, Berry Berry, คชา นนทนันท์, Tigger, VIIS และ PERSES

บอสโนอึล
ทีมนักแสดงจาก Be On Cloud
ต้า-บอม

ช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ยังมีทัพนักแสดงซีรีส์ชื่อดังจากค่ายต่างๆ นับร้อยชีวิตร่วมกันเดินพรมม่วง พบปะแฟนคลับเรียกเสียงกรี๊ดดังสนั่นสามย่านมิตรทาวน์ อาทิ ซันนี่-วรรณรัตน์ วัฒดาลิมมา, ปลั๊ก-ณภัทร ลีฬหาทร, โฟร์ท-ภัทรชนน วงษ์แสนดี, ท็อป-สุรเชษฐ์ เลิศวัฒนาสกุล, พัตเตอร์-ภูเบศ ประทุมรัตน์, บุ๋น นพณัฐ, ทีมนักแสดงจาก Be On Cloud, ทีมนักแสดงจากซีรีส์ dream ปิดหัวใจไม่ให้ฝัน, มอส-แบงค์ นักแสดงจากซีรีส์ Big Dragon The Series, ธัญญ่า ธัญญาเรศ พร้อมด้วยทีมนักแสดงจาก Deep Night The Series, ไกด์ กันตพล และ อาหลี อัฐริญญา นักแสดงจากซีรีส์หอมกลิ่นความรัก ฯลฯ

ก่อนนำไปพบกับโชว์สุดเอ็กซ์คลูซีฟจากนักแสดงซีรีส์สุดปังแห่งปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น ต้า อธิวัตน์-บอม ธนวัฒน์, จา พชร-เฟริสท์ ฉลองรัฐ, หล่งซื่อ ลี-แฟรงค์ ธนัตถ์ศรันย์, พี พีรวิชญ์-ไตเติ้ล ธนธร-เสือ กฤษณะพงศ์-คอปเตอร์ นันทพงศ์, ซันนี่ วรรณรัตน์-ปลั๊ก ณภัทร, บอส ชัยกมล-โนอึล ณัฐรัชต์, ฟอร์ด ฐิติพงศ์-พีท วสุธร, ฟรีน สโรชา-เบ็คกี้ รีเบคก้า, ต้าห์อู๋ พิทยา-ออฟโรด กันตภณ โดยเสิร์ฟความสุขความฟินยาวไปจนถึงช่วงค่ำของวัน

ความพิเศษของงานครั้งนี้นอกจากจัดเต็มความสนุกที่ขนทัพนักแสดงและศิลปินมากกว่าร้อยชีวิตแล้ว FEED Y CAPITAL 2nd ยังได้มีการจัดมอบรางวัลสุดพิเศษที่มอบให้ทั้งบุคคลที่อยู่เบื้องหน้าที่คอยมอบความสุขให้ผู้ชม และผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของซีรีส์แต่ละเรื่อง ซึ่งใช้ชื่อรางวัลว่า “FEED Y CAPITAL AWARDS 2023” นับเป็นการมอบรางวัลอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว

โดยช่วงนี้ได้เจ้าพ่อเพลงซีรีส์วาย บอย สมภพ ขับร้องเพลงเปิดเวที ก่อนเข้าสู่การประกาศรางวัลอย่างยิ่งใหญ่ สำหรับรางวัล FEED Y CAPITAL AWARDS 2023 ประกอบด้วย 2 ชุด คือ รางวัลจากการโหวตผ่านช่องทาง SMS ที่ FEED เปิดให้โหวตตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม – 20 กันยายน 2566 และผลรางวัลจากการคัดเลือกของกองบรรณาธิการ FEED

ซึ่งผลรางวัล FEED Y Capital Awards 2023 ที่แฟนคลับพร้อมใจกันส่งมอบรางวัลให้กับนักแสดง มีดังนี้

  • รางวัลคู่จิ้นยอดนิยม ได้แก่ ฟรีน-สโรชา จันทร์กิมฮะ, เบ็คกี้-รีเบคก้า แพทรีเซีย อาร์มสตรอง
  • รางวัลนักแสดงยอดนิยม ได้แก่ เบ็คกี้-รีเบคก้า แพทรีเซีย อาร์มสตรอง
  • รางวัลซีรีส์ยอดนิยม ได้แก่ ทฤษฎีสีชมพู GAP The series

ปิดท้ายด้วยรางวัลทรงคุณค่าที่คณะกรรมการ FEED มอบเป็นกำลังใจแก่บุคลากรผู้มีส่วนขับเคลื่อนซีรีส์วายไทยไปสู่ตลาดโลก นับเป็นการสร้างทั้งชื่อเสียง และมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม รางวัลดังกล่าวประกอบด้วย

  • รางวัลผู้กำกับซีรีส์ Y แห่งปี ได้แก่ นิว-ศิวัจน์ สวัสดิ์มณีกุล
  • รางวัลนักแสดงคู่ Y แห่งปี ได้แก่ เจมีไนน์-นรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์, โฟร์ท-ณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุล
  • รางวัลซีรีส์ Y แห่งปี ได้แก่ พระจันทร์มันไก่ Moonlight Chicken
ฟรีนเบค
ศิวัจน์ สวัสดิ์มณีกุล
นพณัช ชัยวิมล

เด็กฝั่งธนฯ ที่บ้านเลี้ยงแมว 2 ตัว เชียร์ทีมชาติไทย ชอบสะสมหุ่นจำลอง แต่ยังไม่ได้แกะออกมาจากกล่องสักที!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก