“ทรงอย่างแบด” ณ ปี 2565-66
จากปลายปี 2565 จนถึงวันเด็กในเดือนมกราคม 2566 ได้เกิดปรากฏการณ์ที่หลายคนคาดไม่ถึง หรือหาคำอธิบายไม่ได้
เมื่อเพลง “ทรงอย่างแบด” ของวงดนตรีแนวป๊อป-พังก์ ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็น “วัยรุ่นบุคลิกขบถนิดๆ” อย่าง “Paper Planes” กลายเป็นเพลงฮิตในหมู่น้องๆ หนูๆ เด็กเล็กวัยอนุบาล-ประถม
จนได้รับการขนานนามให้เป็น “เพลงชาติของวัยรุ่นฟันน้ำนม” ในยุคปัจจุบัน ชนิดที่ทางวงเองก็ไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้
หลายคนวิเคราะห์ว่าสาเหตุที่ทำให้น้องๆ วัยไม่เกินมัธยมชื่นชอบเพลง “ทรงอย่างแบด” นั้นเป็นเพราะเนื้อร้องที่ใช้ถ้อยคำไม่ยาก จดจำได้ง่าย ส่วนทำนองเพลงและโครงสร้างการเรียบเรียงก็ไม่ได้มีความสลับซับซ้อน
เด็กๆ จึงจูนติดกับเพลงเพลงนี้ได้อย่างรวดเร็ว
“เพลงเด็ก” กับ “เพลงป๊อป-ร็อกวัยรุ่น” ไม่ได้อยู่กันคนละโลก
อย่างไรก็ตาม แม้ปรากฏการณ์ที่เพลง ซึ่งถูกออกแบบมาเป็น “เพลงวัยรุ่น” ได้กลับกลายเป็น “เพลงฮิตของเด็กๆ” แบบที่คนแต่งคนร้องไม่คาดคิด นั้นอาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
แต่ถ้ามองย้อนไปในประวัติศาสตร์เพลงป๊อปไทย เราก็จะพบว่า “เพลงเด็ก” กับ “เพลงวัยรุ่น” หรือ “เพลงตลาด” สำหรับผู้ใหญ่ นั้นไม่ได้มีขอบเขตหรือเส้นแบ่งที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน
แถมในยุคสมัยหนึ่ง “นักแต่งเพลงเด็กชั้นยอด” ยังสามารถปรับเปลี่ยนหมวดการทำงานของตนเองมาเป็น “นักแต่งเพลงป๊อป-ร็อกสำหรับผู้ใหญ่” ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง และสร้างผลงานฮิตมากมายหลายเพลง พร้อมด้วย “เอกลักษณ์ในการเขียนเพลงเด็ก” ที่ยังมีกลิ่นอายแฝงอยู่ใน “เพลงวัยรุ่น-เพลงผู้ใหญ่”
นักแต่งเพลงผู้นั้น ก็คือ “ประชา พงศ์สุพัฒน์” หรือที่คนในวงการเพลงไทยยุค 90 เรียกขานกันว่า “น้าประชา”
คนแต่งเพลงชื่อ “ประชา พงศ์สุพัฒน์”
“น้าประชา” เป็นชายไทยผู้เกิดเมื่อ พ.ศ.2496 เขาคืออดีตครูสอนวิชาศิลปะ ดนตรี และภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัด กทม. ที่เริ่มต้นทำงานในวงการโทรทัศน์ ด้วยการเป็นฝ่ายศิลปกรรม แต่งเพลงเด็ก เขียนบทละคร กำกับการร้อง-แสดง และร่วมแสดงเป็นตัวละครชื่อ “นายแห้ว” ในรายการ “สโมสรผึ้งน้อย” รายการทีวีสำหรับเด็กที่โด่งดังเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษ 2520 ถึงต้น 2530
ต่อมา ขอบเขตการเขียนเพลงเด็กของ “น้าประชา” ก็เริ่มขยับขยายเข้าสู่อุตสาหกรรมดนตรีหรือวงการเพลงป๊อป เมื่อเขาได้ร่วมแต่งเพลงให้แก่วง “เอ็กซ์วายแซด” (ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ถือกำเนิดจากรายการ “สโมสรผึ้งน้อย”) รวมถึงวง “นกแล”
ถัดจากนั้น “น้าประชา” จึงก้าวเข้าสู่วงการเพลงป๊อป-ร็อกอย่างเต็มตัว ด้วยการเข้าร่วมเป็นทีมเขียนเพลงของค่ายแกรมมี่ยุคแรกเริ่ม โดยจะอยู่ในฝั่งของทีมเขียน “คำร้อง”
ภายหลังการเสียชีวิตของ “เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์” “น้าประชา” เป็นหนึ่งในคนทำงานเบื้องหลังยุคก่อตั้งบริษัทที่ลาออกจากแกรมมี่ ด้วยเหตุนี้ ในช่วงต้นทศวรรษ 2540 เราจึงได้เห็นชื่อ “ประชา พงศ์สุพัฒน์” ปรากฏตามเครดิตผลงานของศิลปินค่ายอื่นๆ (ซึ่งมักเป็นอดีตคนเบื้องหลังของแกรมมี่เช่นกัน) อาทิ “จิรศักดิ์ ปานพุ่ม” และ “เดอะ มัสต์”
ถ้าใครได้รับฟังเพลงเร็วที่ “น้าประชา” แต่งให้ศิลปินป๊อป-ร็อกยุค 90 ก็อาจจะพอจับจุดเด่นได้ว่า แม้เพลงเหล่านั้นอาจมีลีลายียวนกวนโอ๊ย, แข็งแกร่งดุดัน หรือติดลูกสองแง่สามง่าม เพื่อตอบสนองกลุ่มคนฟังที่มีวุฒิภาวะแล้ว
นอกจากนี้ “น้าประชา” ยังได้กลับมาแต่ง “เพลงเด็กจริงๆ” อีกครั้ง ด้วยการรับหน้าที่เขียนเนื้อร้องภาคภาษาไทยที่ยอดเยี่ยมและติดหู ให้แก่เพลงประกอบการ์ตูน “ชินจัง จอมแก่น” และ “หนูน้อยจอมซ่า มารูโกะจัง”
ทั้งนี้ แม้จะแต่งเนื้อเพลงช้าไม่มากเท่าเพลงเร็ว แต่ผลงานในส่วนนี้ของ “น้าประชา” ก็ขึ้นชื่อเรื่องการใช้ภาษาที่สละสลวย และการวางโครงสร้างเนื้อหาที่ลึกซึ้งกินใจ กระทั่งบางเพลงได้กลายมาเป็นผลงานคลาสสิกจนถึงปัจจุบัน ผ่านการถ่ายทอดของ “เอ็กซ์วายแซด” “นันทิดา แก้วบัวสาย” และ “สุรสีห์ อิทธิกุล” เป็นต้น
ไม่ต่างอะไรกับเพลงช้าอีกหลายเพลงในยุค “สโมสรผึ้งน้อย” ซึ่งอาจไม่ได้เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางแล้วในยุคปัจจุบัน แต่กลับมีเนื้อหาที่คมคายทันสมัยอยู่เสมอ
ยิ่งกว่านั้น “น้าประชา” ยังเคยข้ามพรมแดนดนตรีไปแต่ง “เพลงลูกทุ่ง” มาแล้ว โดยหนึ่งในผลงานประเภทนี้ก็คือเพลงที่ใช้ประกอบละครยอดฮิต “สะใภ้ไร้ศักดินา” เมื่อปี 2544
“น้าประชา” ทำงานเขียนเพลงมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทศวรรษ 2550 ก่อนจะตัดสินใจ “แขวนปากกา”
ปี 2561 เมื่อบรรดาอดีตสมาชิกของ “สโมสรผึ้งน้อย” ได้เอ่ยเชิญชวนให้ “น้าประชา” แต่งเพลงใหม่เพื่อใช้ประกอบในงาน “ผึ้งน้อยคืนรัง” ที่จะจัดขึ้นในปี 2562
อดีตนักแต่งเพลงเด็ก-เพลงวัยรุ่นคนสำคัญในยุค 80-90 ซึ่งเวลานั้นมีอายุ 65 ปี ได้ตอบกลับมาว่า
ณ โอกาสนี้ จึงขออนุญาตคัดสรรบทเพลงน่าจดจำจำนวนหนึ่งของ “ประชา พงศ์สุพัฒน์” มานำเสนอ ดังต่อไปนี้
รวมเพลงดี (บางส่วน) ของ “ประชา พงศ์สุพัฒน์”
“มด” (หรือที่รู้จักกันในชื่อ “มดตัวน้อยตัวนิด”) คำร้อง-ทำนอง ประชา พงศ์สุพัฒน์
“สบายดีหรือเปล่า” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง กริช ทอมมัส และ ประชา พงศ์สุพัฒน์
(แม้ในปัจจุบันเพลงดังที่สุดของวง “เอ็กซ์วายแซด” จะถูกตั้งคำถามเรื่องท่วงทำนองที่คล้ายคลึงกับเพลง “Last Christmas” อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เพลงป๊อปไทยเพียงเพลงเดียวในยุคปลาย 80 ที่น่าจะได้รับแรงบันดาลใจด้านทำนองมาจากเพลงต่างประเทศ ทั้งยังไม่อาจปฏิเสธว่าคำร้องของ “น้าประชา” นั้นมีเนื้อหาซาบซึ้งกินใจมากๆ)
“แอบเจ็บ” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ และ กริช ทอมมัส ทำนอง กริช ทอมมัส
“คอนเสิร์ตคนจน” คำร้อง-ทำนอง ประชา พงศ์สุพัฒน์
“บังเอิญติดดิน” คำร้อง ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) ประชา พงศ์สุพัฒน์ และ อัสนี โชติกุล ทำนอง อัสนี โชติกุล
“บังอรเอาแต่นอน” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ และ อัสนี โชติกุล ทำนอง อัสนี โชติกุล
“ยินดีไม่มีปัญหา” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง อัสนี โชติกุล
“กุ้มใจ” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ และ อัสนี โชติกุล ทำนอง อัสนี โชติกุล
“I LOVE YOU” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
“อ่อนซ้อม” คำร้อง-ทำนอง ประชา พงศ์สุพัฒน์
“หย่อนเป็นธรรมดา” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง กริช ทอมมัส
“อารมณ์ดี” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง กริช ทอมมัส
“เจ็บกระดองใจ” คำร้อง ประมวล พร้อมพงษ์ (ด้านหนึ่งมีข้อมูลว่า “ประมวล พร้อมพงษ์” คือนามปากการ่วมของทีมเขียนเนื้อร้องค่ายแกรมมี่ยุคแรก แต่อีกด้าน ในอัลบั้ม “Playlist By ประชา พงศ์สุพัฒน์” ก็ระบุว่าเพลงนี้เขียนคำร้องโดยประชา) ทำนอง จาตุรนต์ เอมซ์บุตร
“ขออภัยไว้ก่อน” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
“ความดัน (ทุรัง) สูง” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง อภิไชย เย็นพูนสุข
“ดับเครื่องชน” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง สมชาย กฤษณะเศรณี
“ม้าเหล็ก” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง ไพฑูรย์ วาทยะกร
“ค่อยค่อยพูด” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง โสฬส ปุณกะบุตร
“เจ้าทุยอยู่ไหน” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง รุ่งโรจน์ ผลหว้า
“ขอใจเธอคืน” คำร้อง ต้นสน (ประชา พงศ์สุพัฒน์) ทำนอง ท.อาภรณ์ศิริ (ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ)
“ไม่รักได้ไง” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ
“โอ๊ะ…โอ๊ย” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง ธนา ลวสุต
“ซักกะนิด” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ
“หัวใจลัดฟ้า” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง วิชัย อึ้งอัมพร
“จริงไม่กลัว” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง อภิไชย เย็นพูนสุข
“ร.ฟ.ร. (Love Train)” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง ชุมพล สุปัญโญ
“อาการน่าเป็นห่วง” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง อภิไชย เย็นพูนสุข
“สะมะรส สะมะรัก” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง อนุรักษ์ แซ่ลี้
“ชิน โนะ สุ เกะ” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง ต้นฉบับเพลงภาษาญี่ปุ่น
“เก็บฝัน” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง ต้นฉบับเพลงภาษาญี่ปุ่น
“ตลอด” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง จิรศักดิ์ ปานพุ่ม
“อัศวินม้าไม้” คำร้อง คุณครูประชาบาล (ประชา พงศ์สุพัฒน์) ทำนอง เดอะ มัสต์ (กฤชยศ เลิศประไพ)
“เขียนไว้ข้างเตียง” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง จาตุรนต์ เอมซ์บุตร
“เธอหรือเปล่า” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง สมชัย ขำเลิศกุล
“เด็กผู้เติบโต” คำร้อง-ทำนอง ประชา พงศ์สุพัฒน์
“นายพลน้อย” คำร้อง ประชา พงศ์สุพัฒน์ ทำนอง เพลง Dominique
“กินจุ๊บจิ๊บ” คำร้อง-ทำนอง ประชา พงศ์สุพัฒน์