เป็นประเด็นถกเถียงกันมาสักพัก สำหรับค่าเซอร์วิสชาร์จในร้านอาหาร หรือร้านบุฟเฟ่ต์ทั่วไป ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ว่าร้านอาหารรูปแบบไหนก็มีการคิดเซอร์วิสชาร์จเกือบทุกร้าน (ร้านจำนวนมากคิดที่ 10% ของค่าอาหาร)

หลายคนมองเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางคนก็มองว่าการบริการที่ได้รับ ไม่สอดคล้องกับเซอร์วิสชาร์จที่ต้องจ่าย (เช่น มาเสิร์ฟครั้งเดียวแล้วหายไปเลย) แต่ด้วยกฎของร้านถูกวางมาแบบนี้ ก็คิดว่าไม่สามารถโต้แย้งหรือขัดข้องได้ นอกจากเลือกใช้บริการร้านที่ไม่คิดเซอร์วิสชาร์จเท่านั้น 

หรือเรามีทางที่จะปฏิเสธไม่จ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จได้

ภาพประกอบ pixabay

เรื่องนี้เป็นกระแสมากขึ้น เมื่อเฟซบุ๊ก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้อ้างอิงข้อมูลจากเฟซบุ๊กคุณ Chakaraht Phromchittikhun ที่โพสต์เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 65 เล่าประสบการณ์ ใจความสำคัญว่าได้ปรึกษาทนายว่าร้านอาหารสามารถเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จลูกค้าได้ไหม และพบว่า ลูกค้ามีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่า เซอร์วิสชาร์จและทางร้านไม่มีสิทธิในการเรียกเก็บ

“ผมพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เราไปร้านอาหาร เราไปซื้ออาหาร หลังจากที่เราสั่งอาหาร ถือว่าการตกลงซื้อขายได้เกิดขึ้นแล้ว และกระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการกินอาหาร ก็มีแค่พนักงานนำอาหารมาเสิร์ฟให้เรา การเรียกเก็บค่า service charge 10% จึงไม่มีความเป็นธรรม เพราะไม่ได้มีบริการเสริมใดๆ ขึ้นมาจากการเสิร์ฟอาหารปกติ และต่อให้มีบริการอะไรที่เพิ่มเป็นพิเศษ ลูกค้าก็ต้องมีสิทธิเลือกว่าจะซื้อบริการนั้นหรือไม่”

หลังจากนั้นผู้โพสต์เล่าว่าได้ปฏิเสธการจ่ายค่า service charge มาโดยตลอด และได้คุยกับผู้จัดการร้านทุกร้านว่าไม่ขอจ่าย และพร้อมให้ทางร้านฟ้อง เพื่อให้ศาลตัดสินเป็นคดีตัวอย่าง และระบุด้วยว่า การไม่ต้องจ่ายค่า service charge ทำให้มีเงินเหลือมากขึ้น ถ้าคิดตลอดชีวิตที่เสียไปจะคิดเป็นเงินจำนวนมากเทียบเท่ากับซื้อรถยนต์ได้ 1 คัน หรือ หากนำไปลงทุนในกองทุนรวม คงกลายเป็นล้านไปแล้ว

ผู้ช่วยศาตราจารย์เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม (ภาพ : คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์)

ด้านเว็บไซต์ ประชาคมศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เผยแพร่อินโฟกราฟิก ความเห็นทางกฎหมายของ ผู้ช่วยศาตราจารย์เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเนื้อหา ดังนี้

จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เซอร์วิสชาร์จ (service charge) หมายถึง ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ

การที่จะต้องจ่าย หรือไม่จ่ายเซอร์วิสชาร์จนั้นมีพื้นฐานมาจาก “ข้อตกลงหรือสัญญา” ที่เกิดขึ้นระหว่างลูกค้ากับผู้ประกอบการ ภายใต้หลักกฎหมายแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)

ในขั้นตอนการก่อสัญญา หากมีการประกาศหรือแจ้งเงื่อนไขเกี่ยวกับการจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จก่อนให้บริการ ในบริบทของการทำสัญญา มันก็คือคำเสนอจากทางฝั่งผู้ประกอบการว่าจะให้บริการขายสินค้า/บริการโดยมีค่าเซอร์วิสชาร์จ หากลูกค้าไม่แสดงเจตนาโต้แย้งหรือปฏิเสธก็ถือว่ายอมรับคำเสนอดังกล่าวโดยปริยาย กรณีนี้มันก็เป็นหนี้ผูกพันให้ลูกค้าต้องจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จ เมื่อมีการเรียกเก็บค่าสินค้าหรือบริการ ฉะนั้นในขั้นตอนก่อนทำสัญญานี้

หากลูกค้าไม่ต้องจ่ายเซอร์วิสชาร์จผมก็แนะนำให้แสดงเจตนาว่าไม่ต้องการจ่ายเซอร์วิสชาร์จ เพื่อให้ถือว่าเป็นการบอกปัดคำเสนอเดิมและทำคำเสนอขึ้นมาใหม่ หากผู้ประกอบการยังประสงค์จะให้บริการอยู่ก็ถือว่ายอมรับคำเสนอ (ใหม่) จากทางฝั่งลูกค้า ทำให้การให้บริการขายสินค้า/บริการนั้นไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับการจ่ายเซอร์วิสชาร์จอยู่เลย เมื่อไม่มีข้อตกลงก็ไม่มีหนี้ที่ลูกค้าต้องจ่าย

ในกรณีที่เกิดหนี้ผูกพันที่ลูกค้าต้องจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จ มันก็ไม่ได้หมายความว่า ลูกค้ามีความผูกพันฝ่ายเดียวในการจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จ ส่วนตัวผมเห็นว่า ข้อตกลงการจ่ายเกี่ยวกับเซอร์วิสชาร์จ เป็นข้อตกลงที่ก่อให้เกิดการชำระหนี้ต่างตอบแทน (ผ่านการตีความอุดช่องว่าง ป.พ.พ. มาตรา 368) หมายความว่าลูกค้าผูกพันต้องจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จบนเงื่อนไขของการได้รับบริการเพิ่มเติมเป็นพิเศษจากการให้บริการขายสินค้า/บริการตามปกติของผู้ประกอบการ ดังนั้น

หากลูกค้าไม่ได้รับบริการเพิ่มเติมเป็นพิเศษ หรือได้มาแบบไม่ได้สัดส่วนอย่างมากกับเงินที่ต้องจ่ายในส่วนนี้ ผมเห็นว่า ลูกค้าสามารถปฏิเสธไม่ชำระค่าเซอร์วิสชาร์จได้ตามหลักที่ปรากฎใน ป.พ.พ. มาตรา 369 เพราะไม่ได้รับบริการเพิ่มเติมอันเป็นการชำระหนี้ตอบแทนค่าเซอร์วิสชาร์จจากฝั่งผู้ประกอบการ ยกตัวอย่าง ไปทานอาหารที่ร้านอาหาร การที่พนักงานมาเสิร์ฟอาหารเพียงอย่างเดียวอาจถือว่าเป็นการชำระหนี้ส่งมอบสินค้าตามปกติเท่านั้น ไม่มีอะไรเพิ่มเติมเป็นพิเศษ เมื่อถึงเวลาเก็บค่าอาหาร ลูกค้าปฏิเสธไม่จ่ายสัดส่วนที่เป็นค่าเซอร์วิสชาร์จได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


มาตรา 368 “สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย”
มาตรา 369 “ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด”

ภาพประกอบ pixabay

FEED สรุปแนวทางเป็นภาษาไม่เป็นทางการได้ว่า

1.แจ้งทางร้านก่อนใช้บริการว่าไม่ต้องการจ่ายเซอร์วิสชาร์จ โดยหากทางร้านยังให้บริการต่อ เท่ากับเป็นการทำข้อตกลงกันใหม่ว่า บริการขายสินค้า/บริการโดยไม่มีค่าเซอร์วิสชาร์จ

2.กรณีลูกค้าไม่แสดงเจตนาโต้แย้งหรือปฏิเสธการจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จ ตามที่ทางร้านระบุ ถือว่ายอมรับคำเสนอดังกล่าวโดยปริยาย แต่หากลูกค้าไม่ได้รับบริการเพิ่มเติมเป็นพิเศษหรือหรือได้มาแบบไม่ได้สัดส่วนอย่างมากกับเงินที่ต้องจ่ายค่าลูกค้าสามารถปฏิเสธไม่ชำระค่าเซอร์วิสชาร์จได้


โดย ผู้ช่วยศาตราจารย์เฉลิมวุฒิ ยกประเด็นว่า การที่พนักงานมาเสิร์ฟอาหารเพียงอย่างเดียวอาจถือว่าเป็นการชำระหนี้ส่งมอบสินค้าตามปกติเท่านั้น ไม่มีอะไรเพิ่มเติมเป็นพิเศษ เมื่อถึงเวลาเก็บค่าอาหาร ลูกค้าปฏิเสธไม่จ่ายสัดส่วนที่เป็นค่าเซอร์วิสชาร์จได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369

สั่งชาเขียวหวานน้อย ทำไมได้น้ำเปล่ากลับมา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก