โดย ศิวกร ชูโยธิน

ในช่วงเวลานี้ เรามักเห็นภาพยนตร์ที่คุ้นเคยในช่วงยุค 80s และ 90s กลับมารีเมกกันใหม่หลายเรื่อง ทั้ง The Karate Kids ที่รวมเอาจักรวาลของไตรภาคออริจินอลและภาคของเฉินหลงเข้าไว้ด้วยกัน หรือ I know what you did Last Summer หนังสยองขวัญเลือดสาดที่สร้างภาคล่าสุดตามไทม์ไลน์ที่เกิดขึ้นจากภาคแรกถึง 28 ปี ไม่รวมถึงบรรดาหนังก่อนหน้านี้ ที่ดิสนีย์รีเมกแอนิเมชั่นตัวเองเป็น Live Action ทั้ง Cruella, The Lion King, The Little Mermaid และ Snow White

สิ่งเหล่านี้ชวนตั้งคำถามว่า ‘หรือฮอลลีวูดหมดมุขในการสร้างหนังใหม่ๆ กันแล้ว’

ดร.แมทธิว โจนส์ แห่งภาควิชาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยเดอมองฟอร์ดกล่าวว่า “การรีเมกหรือรีบู๊ตหนังไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้ว่าเราจะมีเรื่องเล่ามากมายในยุคโพสต์โมเดิร์น แต่เรามักคุ้นกับเรื่องราวเก่าๆ มากกว่า แม้ผู้คนจะตั้งคำถามถึงหนังรีเมกเหล่านี้ว่า ‘หรือว่าฮอลลีวูดจะหมดมุขในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แล้ว’ หรือบ่นว่า ‘ฉันเบื่อพวกหนังรีเมกกับหนังรีบู๊ต’ แต่เชื่อเถอะว่าคนส่วนใหญ่ก็พร้อมเปิดรับประสบการณ์เก่าๆ เหล่านั้นอีกครั้งอยู่ดี

อย่างที่เราทราบว่าภาพยนตร์เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดเงินและเวลามหาศาล เราจึงต้องมั่นใจว่า ‘หน้าหนัง’ จะต้องขายได้ หมายความว่าตั้งแต่เริ่มลงทุน ทีมงานที่เกี่ยวข้องต้องมั่นใจว่าสิ่งที่ตนสร้างต้องเป็นที่รับรู้ของผู้คนและต้องการันตีได้ว่าจะทำให้คนเหล่านั้นเดินทางมาโรงหนังเพื่อดูหนังที่พวกเขาสร้างให้ได้ และการสร้างหนังที่ผู้คนเคยรับรู้เรื่องราวมาก่อนย่อมมีกลุ่มแฟนๆ ที่เคยดูอยู่แล้วแน่นอน จะเป็นหนังรีเมก หนังรีบู๊ต หรือหนังภาคต่อ ก็ให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน เพราะคนดูจะรู้ได้ว่าตนกำลังจะเจอกับอะไรบนจอภาพยนตร์

มันไม่ใช่ความขี้เกียจของทีมงานในการทำงานอย่างเพลย์เซฟ แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบโปรดักชัน และดูจะปลอดภัยต่อรายรับที่จะตามมา”

ดิสนีย์ เจ้าแห่งการรีเมก และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่แบบ Squid Game

ด้วยวัตถุดิบที่มีมากมาย เราจะเห็นว่าดิสนีย์กลายเป็นเจ้าแห่งการรีเมกการ์ตูนเก่าสู่ Live Action บนจอภาพยนตร์ แม้จะต้องตุ้บเรื่องรายได้จากภัยความมั่นและความโว้กไม่ดูตาม้าตาเรือ แต่ดิสนีย์ยังมีวัตุดิบเหลือใช้อีกมากในการสร้างหนัง Live Action รีเมคอีกบานตะไท ที่จะรอฉายบนจอภาพยนตร์และแอปพลิเคชัน Disney+ แบบไม่ต้องง้อ Netflix หรือ Apple TV แต่อย่างใด แต่กรณีของดิสนีย์ก็เป็นตัวอย่างที่ดีว่า การรีเมกภาพยนตร์ไม่อาจเป็นการการันตีรายได้เสมอไป ถ้าทำหนังไม่ถูกใจตลาดหรือผิดไปจากสิ่งที่ผู้ชมคาดหวัง

ลองดูตัวอย่างจาก Squid Game ซีรีส์เกาหลีที่โด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งทำลายสถิติผู้ชมสูงสุดของ Netflix ได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายบนโซเชียลมีเดีย ซีรีส์นี้เคยถูกปฏิเสธไอเดียจากหลายสตูดิโอติดต่อกันนานกว่าสิบปีจนดูไม่น่าเชื่อ แต่หากมองย้อนกลับไป คำถามก็คือ ถ้าไม่มีรายได้จากโครงการที่การันตีผลตอบแทน สตูดิโอจะกล้าเสี่ยงลงทุนกับไอเดียใหม่ๆ ที่ยังไม่มีฐานแฟนคลับหรือไม่ 

นั่นหมายความว่าซีรีส์หรือหนังรีเมกที่ผู้คนคุ้นเคยและบ่นว่าเบื่อ แท้จริงแล้วอาจเป็นกระเป๋าสตางค์ใบใหญ่หรือทุนรอนชั้นดีให้กับสตูดิโอในการผลักดันเรื่องราวสร้างสรรค์ใหม่ๆ ด้วยหรือไม่

การรีเมกจะพาภาพยนตร์ไปทางไหน

แม้จะมีคำถามตัวโตๆ ว่าสถานการณ์เช่นนี้จะพาเราไปทิศทางไหน? ความจริงก็คือ หนังรีเมกยังคงอยู่คู่กับวงการฮอลลีวูด และจะยังคงมีอยู่ต่อไป และตามที่ ดร.โจนส์ อธิบาย กระบวนการนี้เป็นวัฏจักรที่ค่อนข้างคาดการณ์ได้ล่วงหน้า

“เรามองเห็นวัฏจักรแบบนี้เกิดขึ้นหลายครั้งตลอดช่วงร้อยปีที่ผ่านมา ซึ่งภาพยนตร์สามประเภท ทั้งหนังรีเมก หนังภาคต่อ และหนังที่ดัดแปลงมาจากสื่ออื่น ต่างก็ได้รับความนิยมพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก เช่น ช่วงต้นทศวรรษที่แล้ว หรือช่วงปลายยุค 90s ถึงต้นยุค 2000s ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่

ช่วงเวลาเหล่านั้นเป็นสัญญาณสำคัญที่บอกเราว่า ฮอลลีวูดมักหันกลับไปพึ่งพาหนังทั้ง 3 ประเภทนี้บ่อยครั้งมากขึ้น ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจสำคัญๆ เช่น หลังการล่มสลายของธุรกิจประเภทดอทคอม เหตุวินาศกรรม 9/11 ไล่มาจนถึงหลังวิกฤตการเงินปี 2008 และตอนนี้ก็ในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกถูกผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19

ในช่วงเวลาเหล่านี้ ผู้ชมมีรายได้ที่สามารถใช้จ่ายได้ลดลง ซึ่งฮอลลีวูดเองก็รู้ดีว่าจำนวนตั๋วหนังที่ขายได้จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้น ความต้องการเสี่ยงของสตูดิโอจึงแทบไม่เหลือ และพวกเขาจึงหันไปเลือกทำแต่หนังที่มั่นใจได้ว่าจะดึงดูดคนดูให้เข้าโรงได้แน่นอน”

และการสร้างหนังที่ผู้ชมคุ้นเคยย่อมเป็นการเชิญชวนให้คนกลับมาเข้าโรงภาพยนตร์อีกครั้ง เพราะคนรุ่นใหม่แทบจะไม่สนใจการชมภาพยนตร์กันแล้ว

คนรุ่นใหม่ไม่ดูหนัง 

เป็นอีกครั้งที่ Gen Z ต้องรับบทนางจบและชี้นิ้วถามตัวเองว่า ‘นี่ฉันผิดอีกแล้วหรือไง’

สิ่งหนึ่งที่กำลังเป็นปัญหาสำหรับฮอลลีวูด คือการเผชิญหน้าอย่างหนักจากอุตสาหกรรมเกม รวมถึงแอปโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะหากคุณเกิดระหว่างช่วงปลายทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2010 ช่วงเวลาการเติบโตของคุณก็แตกต่างจากรุ่นก่อนอย่างสิ้นเชิง คุณเติบโตมาท่ามกลางการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและสื่อ อินเทอร์เน็ตทำให้คุณสามารถเข้าถึงเนื้อหาเกือบทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว

การกักตัวในช่วงโควิด-19 ทำให้การบริโภคสื่อแบบคนเดียวกลายเป็นเรื่องปกติ น่าเสียดายที่นั่นทำให้ Gen Z อาจพลาดประสบการณ์ทางสังคม เช่น การนั่งในโรงหนังมืดๆ ร่วมกับผู้ชมหลายสิบหรือหลายร้อยคน ที่หัวเราะ ร้องไห้ หรือร้องอุทานพร้อมกัน ซึ่งเคยเป็นเรื่องปกติในยุคที่โทรทัศน์มีเพียงไม่กี่ช่อง ที่คนรุ่นก่อนหน้าพวกเขาเคยได้รับประสบการณ์เหล่านั้น

ริกกี้ คอบบ์ ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยากล่าวว่า “ยุคสมัยที่เรามีตัวเลือกเพียงไม่กี่อย่าง ทำให้เราบริโภคสื่อแบบเดียวกัน และมีกรอบอ้างอิงทางวัฒนธรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบัน มีเนื้อหามากมาย มีหลายแพลตฟอร์ม และมีตัวเลือกนับไม่ถ้วน ความหลากหลายทำให้มีช่วงเวลาที่เราจะมารวมตัวกันน้อยลงมาก แม้การดูหนังยังคงมีบทบาทอยู่ แต่มันไม่ใช่ตัวเลือกหลักเวลาอยู่คนเดียวสำหรับคน Gen Z เพราะเป็นเหมือนภาระและกิจกรรมทางสังคมสำหรับพวกเขามากกว่าการผ่อนคลายและการเปิดรับประสบการณ์”

ภาพยนตร์ยังตอบโจทย์การหลีกหนีจากความจริง แต่ราคาก็อาจสูงเกินไป

ในเมื่อบทบาทของภาพยนตร์คือการเป็นการหลีกหนีจากความจริง แล้วทำไมคน Gen Z ถึงไม่ต้องการประสบการณ์เช่นนั้น? นอกจากการที่พวกเขาอาจเติมเต็มความต้องการนี้ผ่านวิดีโอเกมแล้ว ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประสบการณ์ในโรงภาพยนตร์ที่เสื่อมคุณค่าไป

ริกกี้ คอบบ์ กล่าวว่า การไปดูหนัง “ไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์เหมือนสมัยก่อน” ด้วยความก้าวหน้าของโทรทัศน์จอใหญ่และบริการสตรีมมิ่ง ความพิเศษของจอใหญ่ในโรงภาพยนตร์จึงลดลง และแน่นอนว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือเรื่องเงิน

“เรากำลังพูดถึงคนรุ่นหนึ่งที่อาจยังไม่มีความมั่นคงทางการเงิน พวกเขาไม่สามารถหาเหตุผลมาสนับสนุนการใช้จ่าย $18 หรือ $20 กับตั๋วและอาหารได้ พวกเขาจะไม่ใช้เงินขนาดนั้นได้ง่ายๆ ในเมื่อพวกเขายังซื้อหนังสือเรียนไม่ได้เลย โดยเฉพาะในยุคที่เงินเฟ้อสูงเช่นนี้”

ฮอลลีวูดจะดึงดูด Gen Z กลับสู่โรงภาพยนตร์ได้อย่างไร? แม้หนังรีเมกเป็นเรื่องของการชักชวนคนแก่เข้าโรงหนัง และหนังใหม่ๆ ยังไม่ถูกใจชาว Gen Z แต่ทั้งหมดนั้นดูจะยังไม่สิ้นหวังเสมอไป

ศ.ไมค์ แชนนอน ระบุว่า “โครงเรื่อง” เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการทำภาพยนตร์ โดย “งานภาพและสไตล์การถ่ายทำ” ก็มีความสำคัญไม่น้อย บริษัทโปรดักชันอย่าง A24 ยังคงประสบความสำเร็จกับผู้ชม Gen Z เพราะพวกเขา “กล้าแหกกฎฮอลลีวูดแบบเดิม ๆ”

“ผมคิดว่าลักษณะงานภาพของ A24 ดีกว่าแบบเดิมๆ มาก ผมไม่รู้จะอธิบายยังไง แต่มันมีความรู้สึกและรูปลักษณ์ที่แตกต่างออกไป พวกเขาชัดเจนในแนวทางของตัวเอง และมันได้ผล” ในขณะเดียวกัน บริษัทอินดี้อื่นๆ อย่าง NEON, IFC Films และ SHUDDER ก็มอบสิ่งที่ Gen Z ต้องการ

ตามบทความของ YR Media ที่อ้างถึงผลสำรวจโดย Tubi พบว่า 74% ของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลและ Gen Z ชื่นชอบการดูเนื้อหาใหม่ๆ มากกว่าภาพยนตร์แฟรนไชส์หรืองานรีเมก และ 71% ต้องการสนับสนุนคอนเทนต์ที่ผลิตโดยครีเอเตอร์อิสระขนาดเล็ก เพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงโดยตรงกับผู้สร้าง

ผู้บริโภค Gen Z ดูเหมือนจะกระหายในความแปลกใหม่ และต้องการค้นพบสิ่งที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน เพราะเมื่อคุณเติบโตมาโดยมีวัฒนธรรมป๊อปและสื่ออยู่ที่ปลายนิ้ว การได้พบสิ่งใหม่จริงๆ จึงยิ่งมีคุณค่า 

เหล่านี้เป็นสิ่งที่ฮอลลีวูดต้องพยายามสร้างสรรค์และผลักดันต่อไป ควบคู่กับการสร้างหนังรีเมค อันเป็นทางเลือก ทางรอด เพื่อดึงดูดคนเข้าโรงภาพยนตร์เหมือนอย่างที่ทำกันอยู่ตลอดมา

อ้างอิง : thewrap , mvccvelocity


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก