เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานผลการโหวตโพลการเมืองครั้งประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนอนาคตผลเลือกตั้ง 2566 ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของสองค่ายสื่อสารมวลชนชั้นนำระดับประเทศ “มติชน x เดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 ครั้งที่ 1” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8-14 เมษายน 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ทุกระดับอายุ อาชีพ การศึกษา และรายได้ทั่วประเทศ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 84,076 ราย และเป็นการโหวตแบบไม่ซ้ำไอพีแอดเดรส (IP Address)

จากการสำรวจโพล “มติชน x เดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 ครั้งที่ 1” ผ่านช่องทางออนไลน์และสแกนลิงก์คิวอาร์โค้ด ได้แก่ เว็บไซต์ของสื่อเครือมติชน ประกอบด้วย มติชน ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ มติชนสุดสัปดาห์ มติชนทีวี และเว็บไซต์ของเดลินิวส์ ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 84,076 ราย พบข้อมูลดังนี้

โพล "มติชน x เดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง '66 ครั้งที่ 1"
โพล “มติชน x เดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 ครั้งที่ 1”

หัวข้อคำถามที่ 1 ท่านจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้ง 2566

พบว่าในกลุ่ม 10 อันดับแรกผู้ได้รับการโหวตเป็นอันดับ 1 คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล ร้อยละ 29.42
อันดับ 2 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 23.23
อันดับ 3 นายเศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 16.69
อันดับ 4 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 13.72
อันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจ(ว่าจะเลือกใคร) ร้อยละ 2.97
อันดับ 6 นายอนุทิน ชาญวีรกูล จากพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 2.94
อันดับ 7 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส จากพรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 2.25
อันดับ 8 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.90
อันดับ 9 นายกรณ์ จาติกวณิช จากพรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 1.40
และอันดับ 10 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.24

ในส่วนของรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ​ พรรคเพื่อไทย จากผลการทำโพลในหัวข้อคำถามที่ 1 ดังกล่าว พบว่าเมื่อนำผลโหวตของน.ส.แพทองธาร นายเศรษฐา และนายชัยเกษม นิติสิริ มารวมกันจะอยู่ที่ร้อยละ 40.34

สำหรับแคนดิเดตนายกฯ คนอื่นๆ ที่ได้รับการโหวตคะแนนลดหลั่นกันไป ประกอบด้วย
อันดับ 11 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.08
อันดับ 12 นายวราวุธ ศิลปอาชา พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.96
อันดับ 13 บุคคลอื่นๆ ร้อยละ 0.49
อันดับ 14 นายชัยเกษม นิติสิริ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 0.42
อันดับ 15 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 0.26
อันดับ 16 นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม พรรคไทยภักดี ร้อยละ 0.25
อันดับ 17 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พรรคประชาชาติ ร้อยละ 0.21
อันดับ 18 นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ พรรคไทยศรีวิไลย์ ร้อยละ 0.20
อันดับ 19 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 0.11
อันดับ 20 น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 0.10
อันดับ 21 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ร้อยละ 0.08
อันดับ 22 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง พรรคประชาชาติ ร้อยละ 0.06
และอันดับ 23 นายเทวัญ ลิปตพัลลภ พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 0.01

โพล "มติชน x เดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง '66 ครั้งที่ 1"
โพล “มติชน x เดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 ครั้งที่ 1”

หัวข้อคำถามที่ 2 ท่านจะสนับสนุนพรรคการเมืองใด ในการเลือกตั้ง 2566

พบว่า ในกลุ่ม 10 อันดับแรกนั้น พรรคการเมืองได้รับการโหวตเป็นอันดับ 1 คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 38.89
อันดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 32.37
อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 12.84
อันดับ 4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.30
อันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคใด ร้อยละ 2.21
อันดับ 6 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.83
อันดับ 7 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.73
อันดับ 8 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.63
อันดับ 9 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.55
และอันดับ 10 พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 1.14

ส่วนพรรคอันดับอื่นๆ มีผลโหวตโพลดังนี้
อันดับ 11 พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.96
อันดับ 12 พรรคไทยภักดี ร้อยละ 0.41
อันดับ 13 พรรคอื่นๆ ร้อยละ 0.36
อันดับ 14 พรรคประชาชาติ ร้อยละ 0.33
อันดับ 15 พรรคเปลี่ยน ร้อยละ 0.31
และอันดับ 16 พรรคไทยศรีวิไลย์ ร้อยละ 0.14

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ร่วมโหวตออนไลน์ “มติชน x เดลินิวส์ โพลเลือกตั้ง ’66 ครั้งที่ 1” 84,076 ราย แยกเป็นกลุ่มช่วงอายุ 42-57 ปี หรือ “GEN-X” มากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวนร้อยละ 35.08 ตามด้วยกลุ่มช่วงอายุ 58-76 ปี หรือ “เบบี้บูมเมอร์” จำนวนร้อยละ 27.63, ช่วงอายุ 26-41 ปี หรือ “GEN-Y” จำนวนร้อยละ 26.50, ช่วงอายุ 18-25 ปี หรือ “GEN-Z” จำนวนร้อยละ 9.77 และช่วงอายุ 77 ปีขึ้นไป หรือ “Silent-GEN” จำนวนร้อยละ 1.02

ส่วน 10 จังหวัดแรกที่มียอดผู้ร่วมตอบโพลสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, เชียงใหม่, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, ชลบุรี, บุรีรัมย์, นครราชสีมา, ขอนแก่น และสงขลา ตามลำดับ

นอกจากนั้น เพื่อให้การวิเคราะห์ผลโพล “มติชน x เดลินิวส์ เลือกตั้ง ’66” รอบแรกมีความลึกและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น กอง บก.ทั้งมติชนและเดลินิวส์ ยังได้จับมือกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เข้ามาร่วมนำข้อมูลผลโพลดังกล่าวไปวิเคราะห์เพิ่มเติมในแง่มุมทางวิชาการเพื่อเตรียมเผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป

สำหรับการโหวตโพล “มติชน x เดลินิวส์ เลือกตั้ง ’66” รอบที่สองจะเริ่มต้นขึ้นในวันเสาร์ที่ 22 เม.ย. 2566 หลังจากนั้นเมื่อได้ผลโพลครบทั้งสองรอบแล้ว กอง บก.สื่อเครือมติชน ประกอบด้วย มติชน ,ข่าวสด ,ประชาชาติธุรกิจ ,มติชนสุดสัปดาห์ ,มติชนทีวี และเครือเดลินิวส์ ร่วมกับตัวแทนอาจารย์วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ฯ จะร่วมกันจัดเวทีวิเคราะห์เจาะลึกผลโพลทั้งสองรอบ พร้อมกับไลฟ์สตรีมถ่ายทอดสดผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของสื่อทั้งสองเครือต่อไปช่วงต้นเดือนพฤษภาคม2566

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก