มีคนเคยกล่าวว่าเป็นวัยรุ่นยุคนี้มันเหนื่อย แต่อันที่จริงเป็นวัยรุ่นยุคไหนก็เหนื่อยทั้งนั้น เพียงแต่วัยรุ่นยุคนี้มีโจทย์ใหญ่และยากขึ้น

การที่เด็กหลายคนเข้าสู่วัย ‘พายุบุแคม’ ได้ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน การค้นหาตัวเอง การรู้จักตัวเอง การตัดสินใจในเรื่องสำคัญของชีวิต รวมถึงข้อเรียกร้องทางสังคมที่เปลี่ยนไป ยิ่งทำให้การใช้ชีวิตยากขึ้น โดยเฉพาะการมาของโซเชียลมีเดียและสมาร์ทโฟนที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ตามติดไปทุกที่ แทนที่พวกเขาจะมีพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สำรวจตัวเอง พื้นที่ที่เป็นตัวของตัวเอง แต่กลับกลายเป็นว่าพื้นที่เหล่านั้นหายไป ดังนั้น เป็นวัยรุ่นยุคนี้มันเหนื่อย

ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดี และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำถามสำคัญ แล้วเป็นวัยรุ่นยุคนี้มันเหนื่อยอย่างไร เหนื่อยกับเรื่องอะไรบ้าง?’

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดี และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาช่วยไขคำตอบและมุมมองต่อปรากฏการณ์นี้  ดังนี้

1.การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

“ธรรมชาติของเรา มันมีการเปรียบเทียบ อย่างบางทีถ้าเราเคยได้ยินคำว่าการเห็นคุณค่าในตัวเอง ฉันรู้สึกว่าฉันมีค่า ฉันดี ถ้าเรามีความรู้สึกนั้น เราจะรู้สึกดีกับตัวเอง แต่รู้ไหมว่าด้วยธรรมชาติจริงๆของการที่รู้สึกว่าฉันจะเห็นคุณค่าในตัวเอง มันก็จะมีลึกๆที่ฉันเทียบตัวฉันเองกับคนอื่น เช่น ฉันสวยกว่า ฉันผอมกว่า ฉันเก่งกว่า เราก็จะรู้สึกดี ฉันต้องมีอะไรสักอย่างที่ดีกับตัวเอง แต่ถ้าถามว่าจริงๆแล้ว เราดีกว่าคนอื่น มีโอกาสที่เราแบบจะชนะเลิศตลอดไหม ตอบว่าไม่ สมมติพี่เป็นนักจิต (วิทยา) พี่เป็นอาจารย์ พี่น่าจะรู้สึกดีกับตัวพี่เอง แต่พอพี่มองแขนพี่เท่ากับขา แขนพี่น่าจะเท่ากับขาดาราสวยๆ เราก็จะรู้สึกอะไรบางอย่างที่ไม่ดีกับตัวเอง ดังนั้น การเปรียบเทียบเป็นธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น” อาจารย์ณัฐสุดา ว่าอย่างนั้น

2. ถ้าหากเราอยากหยุดเปรียบเทียบกับคนอื่นควรทำอย่างไร

“มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 ต้องรู้ก่อนว่าเราเทียบอยู่ บางทีเราไม่รู้ตัวว่าเราเทียบ เรามองไปแล้ว มันเป็นความรู้สึกไม่สบายใจเกิดขึ้นมาเลย แต่ไม่ทันจะรู้ตัวว่าสิ่งที่ฉันกำลังทำคือการเปรียบเทียบอยู่ แล้วพอเทียบ มันทำให้เกิดความไม่สบายใจ ถ้ารู้ตัวว่าฉันกำลังเทียบ ฉันจะยุติการเทียบ ฉันจะกลับมาสำรวจคุณค่าของตัวฉัน (Self-Esteem) แบบตัวฉัน อันนี้เป็นขั้นตอนที่ 2 ถ้าทำได้แบบนี้ เราจะรู้ว่าอันนั้นไม่ใช่ทาง ไม่ใช่ทางฉัน  ไม่ใช่แนวฉัน ฉันก็ไม่น่าต้องมองอย่างนั้น ถ้าเราทำแบบนี้ได้ เราก็จะหยุดเทียบได้ เมื่อหยุดเทียบได้มันก็จะทำให้เรามีทิศทางในการพัฒนาตัวเองในแบบของเรา”

3.การแสวงหาตัวตน  ตัวตนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการสำรวจ การสร้าง และการเรียนรู้จักตัวเอง ดังนั้น ไม่ต้องเร่งแต่ค้นหาต่อไปดีแล้ว

“ ‘Identity Crisis’ หรือวิกฤตการแสวงหาตัวตนของวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ถูกพูดกันมานานของนักจิตวิทยา แล้วก็ตอนนี้พี่ว่ามันเริ่มมีเทรนด์ที่วัยรุ่นสนใจเฉพาะ Identity มากขึ้น อย่างตัวตน พี่คงจะใช้คำที่บอกว่า Identity มันใช้เวลาในการสำรวจ มันใช้เวลาในการสร้าง ถามว่าอยู่ดีๆ สมมตินะ เป็นเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งเติบโตมาอย่างไม่เคยสำรวจตัวเอง อยู่ดีๆถึงวันที่แบบฉันต้องการที่จะเจอ Identity มันเป็นไปไม่ได้ พี่ว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ มีกิจกรรมต่างๆให้สำรวจอย่างต่อเนื่อง ถ้าเกิดจะบอกว่าวัยรุ่น Identity ของเรามันสำคัญ แต่ว่ามันก็ต้องใช้จังหวะในการที่เราต้องเรียนรู้จักตัวเอง ไม่ต้องเร่ง แต่ค้นหาต่อไปดีแล้ว”

4.ถ้าหากยิ่งแสวงตัวตนมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งพบเจอแต่ความผิดหวังและความล้มเหลว จนคุณค่าในตัวเองลดลง (Low Self-Esteem) จะรับมืออย่างไรดี

“ต้องกลับมาดูว่าเรา เข้าไปหาตัวตนด้วยโจทย์แบบไหน พอเราไปหาว่าเราต้องเป็นเช่นนั้น เราต้องเป็นแบบนั้น มันถึงพบความรู้สึกที่เราตั้งมุมของเราว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ฉันจะสำรวจ แล้วก็กลับมาดูว่าอะไรที่ตรงกับตัวฉัน อะไรที่ใช่กับตัวฉัน พร้อมกล่าวเสริมต่อว่าถ้าเกิดเราเริ่มต้นตั้งเป้าว่านี่เป็นช่วงเวลาของการสำรวจที่ฉันจะรู้ว่าอันนี้ใช่ ไม่ใช่ แล้วก็กลับมาเหมือนเก็บใส่กระเป๋าไว้ แล้วพอสักเดือนหนึ่ง เรากลับมาทบทวน สุดท้ายที่ฉันสำรวจ มันคืออะไร พี่ว่าน่าจะช่วยได้

5.ทำให้คนที่เรารักหรือคนที่สำคัญ รู้สึกผิดหวังและเสียใจ

เมื่อไหร่จังหวะที่ไปเจอความรู้สึกว่าฉันไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังของเขา มันเป็นจังหวะที่ Hurt (เจ็บปวด) ที่สุดเลยอย่างเช่น วัยรุ่นเอาสักตอนกำลังสอบ ตอนนี้เขาเรียกว่า Admission สมัยรุ่นพี่คือ Entrance กำลัง Admission มันเป็นช่วงเวลาของความเปราะบางเลยพี่ว่า เพราะมันเหมือนเป็นสนามครั้งใหญ่ เป็นจังหวะแรกที่จะรู้สึกผิดหวัง  รู้สึกถึงการที่ฉันอาจจะได้หรือไม่ได้กับสิ่งที่ฉันต้องการ และถามจริงๆได้หรือไม่ได้ตามสิ่งที่ฉันต้องการ  ลึกๆ ใช่ฉันต้องการไหม มาดูตรงนี้ก่อนนะ ใช่ฉันต้องการไหม หรือที่ฉันต้องการทำอันนี้ให้ได้ เพราะครูหวังกับฉัน ฉันเก่งขนาดนี้ในโรงเรียน ฉันก็น่าจะได้สิ พ่อแม่หวังกับฉันว่าฉันควรทำแบบี้ได้ เราแบกกราฟความคาดหวังของคนอื่น เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่จังหวะนี้ที่ไปเจอความรู้สึกว่าฉันไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังของเขาได้ มันเป็นจังหวะที่ Hurt ที่สุดเลย แล้วถ้าดูดีๆความคาดหวังของคนเหล่านี้ เราไม่ได้รับความคาดหวังของแบบป้าข้างบ้านนะ แต่เราจะรับความคาดหวังของคนที่เรารักและก็สำคัญกับเรา”

6.โรคซึมเศร้า สาเหตุของโรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน

“สาเหตุของโรคซึมเศร้ามันมองได้จากหลายมุม ทั้งทางปัจจัยชีวภาพ ปัจจัยทางสังคมวิทยา ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม บางคนเชื่อว่ามันเป็นเพราะสารเคมีในสมองอย่างเดียวเลย แต่ถ้าถามพี่ พี่เป็นสาย (นักจิตวิทยา) พี่รู้สึกว่ามันมีหลายปัจจัยขึ้นมาบางส่วน ยกตัวอย่างบางคนที่มีลักษณะว่าที่บ้านมีกรรมพันธุ์  มีความยากลำบากในการจัดการทางอารมณ์ ยากไหม ก็ตอบว่ายากขึ้น หรือว่าบางคนบอกว่า ชีวิตเขายากมากอยู่ในภาวะที่มันกดดัน เจอความผิดหวังตลอด ยากขึ้นไหม ก็ตอบว่ายากขึ้น ถ้าเกิดในต่างประเทศ อย่างเช่น แบบภาวะอากาศที่มันมัวๆ อย่างพี่มีไปเรียนหนังสือในเมืองที่ฝนตกหนักๆ ฝนตกตลอดทั้งวันทั้งคืน ภาวะอากาศที่มันมัวไม่มีแสง ก็ทำให้มันยากขึ้น ล้วนแต่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าที่มันจะมีมากขึ้น”

“มีงานวิจัยที่น่าสนใจว่าโรคซึมเศร้ามันค่อนข้างอยู่ในเมืองใหญ่ ภาษาฝรั่งคือ Westernize มีความเป็นตะวันตกมากขึ้น เมืองใหญ่มากขึ้น เมืองที่คนในสังคมอยู่ห่างออกจากกัน อย่างกรุงเทพฯตอนนี้คอนโดติดกันก็ไม่รู้แล้วว่าที่ติดกันเป็นใคร มันทำให้สังคมที่มี ใช้คำว่า Social Support Network มีแหล่งสนับสนุนเครือข่ายดูแลกันทางสภาพจิตใจน้อยลง ก็มีซึมเศร้ามากขึ้น”

7.คนเดียวที่จะวินิจฉัยได้ว่าใครเป็นหรือไม่เป็นโรคซึมเศร้า คือจิตแพทย์เท่านั้น

“บางคนบอกว่าฉันเป็น แต่ความจริง คนรอบข้างบอกใช่หรอ พี่ว่าจริงๆสำคัญที่สุด ขีดเส้นใต้หนาๆคือการที่คนจะบอกว่าการที่ใครจะบอกตัวเองว่าฉันเป็นโรคซึมเศร้า ไม่ได้ เพราะคนที่จะวินิจฉัยได้คือจิตแพทย์ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการวินิจฉัย เพราะมันมีเกณฑ์ของมัน มีอาการของมัน มีความยาวของระยะเวลาในการที่จะต้องมี อย่างน้อยกี่วันกี่สัปดาห์ อาการอะไรบ้าง”

8.คนที่ยอมรับว่าตัวเองมีปัญหาซึมเศร้า คือคนที่เข้มแข็งที่สุด

“คนที่เข้มแข็งที่สุด คือคนที่ยอมรับว่าฉันมีปัญหาอยู่ต่างหาก คือคนที่แบบยอมรับว่า นี่ถึงจังหวะที่ฉันมีปัญหา ฉันต้องจัดการหรือแสวงหา นั่นคือความเข้มแข็งมากๆเลยนะ เพราะคือการที่ฉันเข้าใจตัวเอง ยอมรับตัวเอง เห็นคุณค่าในตัวเอง และก็จะจัดการปัญหาของตัวเอง เราไม่ได้หลงเหลือความรู้สึกกลัวว่าคนอื่นจะตีตรา คนอื่นจะด้อยค่าเรายังไง นั่นคือความเข้มแข็งมากๆที่ทำให้เราสามารถก้าวออกมาแสวงหาความช่วยเหลือได้”

9.วิธีรับมือกับภาวะซึมเศร้า

“ถ้าเกิดว่าเราเริ่มรู้สึกสิ่งที่เราทำ มันทำให้วนอยู่ในอ่าง มันชี้บ่ง  มันเริ่มยกระดับ สิ่งที่ฉันเคยมีความสุข ไม่มีแล้ว มันกำลังบอกเราว่าที่ทำมาอยู่ไม่ Work ควรจะหาวิธีใหม่เพิ่ม ซึ่งวิธีใหม่ที่เพิ่ม ถ้าพี่เชียร์ พี่ก็บอกว่าแสวงหาความช่วยเหลือเถอะ ให้มีเหมือนกับตาที่สาม หูที่สาม ใจที่สาม ที่มาคอยช่วยฟังเรา ช่วยเข้าใจเรา ช่วยเป็นเพื่อนกับเรา”

10.ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเริ่มลงมือทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น และศึกษาแนวทางการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียไปมากกว่านี้

“ถ้าเราเริ่มลงมือทำงานกันวันนี้ เราหวังว่า (ไม่ได้หวังผลเดือนนี้ เดือนหน้านะ) อย่างที่เราคุยกัน มันเป็นในลักษณะการที่เราตามหลังเพื่อแก้ปัญหา ที่เราพูด Depression ทำยังไง แหล่งความช่วยเหลือคืออะไร นั่นคือการตามหลังเพื่อแก้ปัญหา แต่จริงๆเราต้องคิดถึงการวางหมากรบนะ วางแผน ส่งเสริม ป้องกันในระยะยาวมากขึ้น เราจะทำยังไง ในเมื่อตอนนี้เราเห็นแล้วแหละ มันเป็นผลกระทบ แล้วทำยังไงเพื่อไม่ให้อีก 10 ปีข้างหน้า ผลกระทบนี้มันยังคงอยู่ เราจะส่งเสริมยังไง พี่ว่าเราตอนนี้สำหรับคนในด้านสุขภาพจิต โจทย์มันใหญ่ ก็คือคนที่ต้องช่วยเหลือก็ต้องช่วยเหลือ แต่เราต้องคิดด้วยว่าถ้าไม่ช่วยเหลือมันจะเกิดอะไรขึ้น ช่วยเหลือก่อน แล้วที่นี่จะส่งเสริมได้ แล้วจะป้องกันได้ เพื่อให้มันเปลี่ยนแปลงสภาพ เราคงไม่อยากให้กราฟเรื่องแบบซึมเศร้า หรือเรื่องกราฟฆ่าตัวตายสูงขึ้น สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าคนหนึ่งคนคือทรัพยากรที่มีค่าสุด เราก็ต้องเริ่มดูแล

11.แนะนำบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตฟรี ดังนี้

1.Hear to Heal เป็นบริการของโครงการพัฒนาระบบบริการปรึกษาด้านสุขภาพจิตออนไลน์และเครือข่ายส่งต่อบริการสุขภาพจิต โดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดย สสส. โดยเป็นรูปแบบพูดคุยผ่านการพิมพ์ข้อความ (Text-Based) กับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดให้บริการทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) เวลา 10.00-20.00 น.  Add Line: https://lin.ee/P77s2bW

2.สะมาริตันส์ (Samaritan) เป็นสมาคมให้บริการเป็นเพื่อนพูดคุยทางโทรศัพท์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย อาสาสมัครจากหลากหลายอาชีพ ผลัดเปลี่ยนกันมาทำหน้าที่ โดยไม่หวังผลตอบแทบใดๆ การทำงานของสมาคมตั้งอยู่บนหลักการว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ปรัชญา หรือลิทธิการเมืองใดๆ เปิดให้บริการทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) เวลา 12.00-22.00 น. Tel. 02-113-6789 กด 1

3.สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 เป็นการให้บริการโดยนักจิตวิทยา ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งตอนนี้มี Chatbot 1323 น้องสายด่วนสุขภาพจิตช่วยประเมินความเครียด พร้อมให้คำแนะนำและส่งต่อสถานพยาบาลด้านสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องด้วย Add Line: @147nzgad (Chatbot1323)

เรียบเรียง วรินทร์ทิพย์ สายมงคลเพชร

ทาสนก เสพติดคาเฟอีน คลั่งรักป๋าแมดส์ สิ่งเดียวที่ทำให้ใจเต้นแรงได้คือวันที่ 1 และ 16

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก