“มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีมชาติไทย ประกาศแต่งตั้ง มาซาทาดะ อิชิอิ อดีตกุนซือบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด นั่งแท่นประธานเทคนิคเฉพาะฟุตบอลทีมชาติไทยชุดใหญ่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 โดยจะทำงานร่วมกับ มาโน่ โพลกิ้ง หัวหน้าผู้ฝึกสอน ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน “คิงส์คัพ” ครั้งที่ 49 เป็นต้นไป

เบื้องหลังดีลการเลือก อิชิอิ มาทำงานในครั้งนี้ มาจากการสนับสนุนของ 2 ประธานสโมสรยักษ์ใหญ่ในศึกไทยลีก อย่าง นายเนวิน ชิดชอบ แห่งบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ นายปวิณ ภิรมย์ภักดี แห่งบีจี ปทุม ยูไนเต็ด

มาดามแป้ง เนวิน และ อิชิอิ

หลังจากนี้ อิชิอิ จะเฟ้นหาทีมงานชาวญี่ปุ่นให้มาร่วมทำงานด้านเทคนิค เพื่อประโยชน์สูงสุดของทีมชาติไทย และภารกิจต่อไปก็คือเดินทางไปชมเกมการแข่งขันในทุกๆ สโมสร เพื่อหาผู้เล่นที่ดีที่สุด และเรียกตัวมาติดทีมชาติไทย พร้อมกับมุ่งสู่เป้าหมายใหญ่คือการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก รอบ 2 โซนเอเชีย

ทัพช้างศึกภายใต้การคุมทีมของ มาโน่ โพลกิ้ง อยู่กลุ่มซี ร่วมกับ จีน, เกาหลีใต้ และอีก 1 ทีมจากรอบคัดเลือกรอบแรก (สิงคโปร์ หรือ กวม) มีกำหนดฟาดแข้งนัดแรกในเดือนพฤศจิกายนนี้

สำหรับรูปแบบการทำงาน อิชิอิ จะดูแลในส่วนของทีมชาติไทยเป็นหลัก ซึ่งจะแยกออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของสมาคมฟุตบอลฯ ที่มุ่งเน้นพัฒนาวงการฟุตบอลในภาพรวมทั้งระบบ

ที่ผ่านมาสมาคมฟุตบอลฯ แต่งตั้งใครมาทำหน้าที่ “ประธานเทคนิค” หรือ “ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค” กี่คนแล้ว เรารวบรวมข้อมูลมาให้ได้อ่านกัน

“โค้ชเฮง” วิทยา เลาหกุล

"โค้ชเฮง" วิทยา เลาหกุล
“โค้ชเฮง” วิทยา เลาหกุล

เมื่อปี 2559 “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ แต่งตั้ง “โค้ชเฮง” วิทยา เลาหกุล ดำรงตำแหน่ง “อุปนายกสมาคมฝ่ายพัฒนาเทคนิค” ซึ่งถือเป็นประธานเทคนิคคนแรกของสมาคมฟุตบอลฯ ในยุคใหม่

โดยสมาคมฟุตบอลฯ หวังให้ “โค้ชเฮง” นำพาทีมชาติไทยประสบความสำเร็จทุกประเภท ทั้ง ฟุตบอล, ฟุตซอล และฟุตบอลชายหาด ทุกรุ่น อายุ ทั้งชายและหญิง ภายใต้แผนพัฒนาทีมชาติไทย 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 – 2569 โดยแบ่งเป็นระยะสั้นและยาว

หลังจากที่ “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง อดีตเฮดโค้ชทีมชาติไทย ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพราะถูกกระแสกดดันอย่างหนักจากผลงานในศึกฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก รอบ 12 ทีมสุดท้าย โซนเอเชีย ซึ่งอดีตศูนย์หน้าจอมตีลังกาพาทีมเก็บได้เพียง 1 คะแนน จากการแข่งขัน 7 นัด ส่งผลให้ “ซิโก้” ตัดสินใจอำลาทีม และต่อมา “โค้ชเฮง” เป็นผู้เลือก มิโลวาน ราเยวัช กุนซือชาวเซอร์เบีย ให้เข้ามาทำหน้าที่แทนในเดือนพฤษภาคม ปี 2560

มิโลวาน ราเยวัช
มิโลวาน ราเยวัช

ต่อมาในปี 2561 หลังจากความล้มเหลวในกีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 ซึ่งทีมฟุตบอลชายตกรอบแรก ส่วนทีมหญิงตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย สมาคมฯ ได้พูดคุยกับ “โค้ชเฮง” กระทั่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่าอดีตผู้จัดการทีมชลบุรี เอฟซี จะไม่ได้ทำหน้าที่ประธานเทคนิคต่อ พร้อมกับโยก “โค้ชเฮง” ไปเป็นอุปนายกสมาคมฯ แทน

ขณะเดียวกันสมาคมฯ ได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ ตามคำแนะนำของ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) จึงทำให้ ราเยวัช ควบบทบาทเฮดโค้ชทีมชาติไทยและประธานพัฒนาเทคนิคทีมชาติไทยชุดใหญ่ ก่อนที่สมาคมฟุตบอลฯ จะทำการปลดฟ้าผ่า ราเยวัช หลังจากทีมชาติไทยแพ้อินเดีย 1-4 ในศึกเอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก เมื่อเดือนมกราคม ปี 2562

การ์เลส โรมาโกซา

การ์เลส โรมาโกซา
การ์เลส โรมาโกซา
ภาพจาก : Facebook FA Thailand

เมื่อปี 2019 สมาคมฟุตบอลฯ ประกาศแต่งตั้ง การ์เลส โรมาโกซา อดีตผู้ฝึกสอนทีมเยาวชนบาร์เซโลน่า ชาวสเปน ซึ่งเคยเป็นผู้ปลุกปั้นนักเตะดังอย่าง เชส ฟาเบรกาส, เคราร์ด ปิเก้, จอร์ดี้ อัลบา ฯลฯ ให้เข้ามารับหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคให้กับสมาคมฟุตบอลฯ

โดยมีภารกิจหลักๆ คือ ลงรายละเอียดในส่วนของการวางรากฐาน การวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล สถิติต่างๆ ของนักเตะในสนาม และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนานักฟุตบอลไทยอย่างเป็นระบบ

แต่หลังจากทำงานไปได้ประมาณ 4 ปี และเป็นช่วงที่สมาคมฟุตบอลฯ กำลังประสบปัญหาเรื่องการเงิน จึงทำให้ผู้บริหารสมาคมฯ ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายค่าจ้างให้กับ การ์เลส โรมาโกซา ในแต่ละเดือนได้ สุดท้ายทั้ง 2 ฝ่ายตกลงแยกทางกันในเดือนกรกฎาคม ปี 2566

ถึงโค้ชเฮง (วิทยา เลาหกุล) ผมอยากขอบคุณจากใจจริงสำหรับความเชี่ยวชาญและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ผมขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางอันน่าทึ่งนี้ ประเทศไทยจะเป็นสถานที่พิเศษในใจผมเสมอ

การ์เลส โรมาโกซา กล่าวหลังอำลาตำแหน่ง

“โค้ชแดง” ทรงยศ กลิ่นศรีสุข

"โค้ชแดง" ทรงยศ กลิ่นศรีสุข
“โค้ชแดง” ทรงยศ กลิ่นศรีสุข
ภาพจาก : Facebook Grow Together

หลังจาก การ์เลส โรมาโกซา หมดสัญญาลง และสมาคมฟุตบอลฯ ไม่มีเงินมากพอที่จะจ้างให้ทำงานต่อ จึงมีการแต่งตั้ง “โค้ชแดง” ทรงยศ กลิ่นศรีสุข ขึ้นรักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค

ซึ่งสมาคมฟุตบอลฯ จำเป็นจะต้องหาคนมาทำหน้าที่แทนทันที จะไม่มีไม่ได้ เพราะเป็นตำแหน่งที่ฟีฟ่าและเอเอฟซีบังคับ

“โค้ชแดง” ประเดิมงานใหญ่เป็นผู้แทนสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ประชุมร่วมกับผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค และเลขาธิการสมาคมฟุตบอลจาก 50 ประเทศ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยในเดือนสิงหาคม

สำหรับ “โค้ชแดง” เป็นกุนซือระดับโปรไลเซนส์ คอร์สแรกของเมืองไทย รวมทั้งเป็นวิทยากร (Tutor) ชาวไทยเพียงคนเดียว ที่สามารถสอนคอร์สอบรมได้ถึงระดับ AFC ‘B’ Diploma (B license)

ส่วนประสบการณ์งานด้านโค้ชก็โชกโชน เคยผ่านการทำทีมมาหลายสโมสร อาทิ ศรีราช เอฟซี, ระยอง เอฟซี, พีทีที ระยอง เอฟซี, ภูเก็ต เอฟซี, พัทยา ยูไนเต็ด, ไทย ฮอนด้า เอฟซี, ศรีสะเกษ เอฟซี, อุทัยธานี เอฟซี และ ระยอง เอฟซี

ล่าสุดเป็นทีมงานสตาฟฟ์ผู้ฝึกสอนพา ขอนแก่น ยูไนเต็ด หนีตกชั้นในศึกไทยลีกฤดูกาลที่ผ่านมาได้สำเร็จ

ประธานเทคนิคทำหน้าที่อะไรบ้าง

โดยหลักการคือบริหารจัดการและพัฒนาวงการฟุตบอลไทยทั้งระบบ ไล่ตั้งแต่ข้างบนสุด จนถึงระดับรากหญ้า (grass root) ทั้ง ฟุตบอล, ฟุตซอล และฟุตบอลชายหาด ทุกรุ่น อายุ ทั้งชายและหญิง โดยทุกๆ ทีมจะต้องเล่นให้อยู่ในปรัชญาเดียวกัน สไตล์เดียวกัน ทำงานประสานงานกับส่วนต่างๆ เพื่อสร้างผลงานที่ดี

รวมทั้งลงละเอียดในส่วนของการวางรากฐานเพื่อพัฒนานักกีฬาทีมชาติ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล สถิติของนักเตะในสนาม และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

มาซาทาดะ อิชิอิ
มาซาทาดะ อิชิอิ
ภาพจาก : Facebook BURIRAM UNITED
มาโน่ โพลกิ้ง
มาโน่ โพลกิ้ง
ภาพจาก : Facebook FA Thailand

เด็กฝั่งธนฯ ที่บ้านเลี้ยงแมว 2 ตัว เชียร์ทีมชาติไทย ชอบสะสมหุ่นจำลอง แต่ยังไม่ได้แกะออกมาจากกล่องสักที!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก