FEED ชวนไขข้อสงสัย! ทำไมเวลาเครียดจึงรู้สึกหิว “ความเครียด” เป็นภาวะทางอารมณ์ที่ทุกคนต้องพบเจอ แต่ความเครียดที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบอย่างชัดเจนผ่านพฤติกรรมหรือร่างกายของเรา หลายคนอาจมีอาการหัวใจเต้นเร็วและแรง หายใจถี่ เหงื่อออกง่าย ไม่สามารถอยู่นิ่งๆ ได้ หรือบางคนเมื่อเครียดแล้วกินข้าวไม่ลง

ในขณะที่อีกหลายคนเครียดแล้วอาจกินเยอะมากกว่าปกติ จนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพที่ยากเกินจะควบคุม

ทำไมเวลาเครียดจึงรู้สึกหิว? เพราะความสัมพันธ์ของสมองและร่างกายมีความเกี่ยวเนื่องกัน เมื่อความเครียดเกิดขึ้น จะส่งผลต่อฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย หนึ่งในนั้นคือ คอร์ติซอล (ฮอร์โมนเครียด) และเกรลิน (ฮอร์โมนหิว) ที่จะส่งสัญญาณไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกหิวมากกว่าปกติ

เมื่อเกิดความเครียด การได้กินอาหารจึงเป็นวิธีคลายเครียดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อน้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งพลังงานเดียวของสมอง และความเครียดทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ร่างกายจึงต้องการน้ำตาลมาเติมเพื่อให้เกิดความสมดุล ทำให้เรารู้สึกอยากกินของหวาน รวมไปถึงของทอด ที่ทำให้เรารู้สึกดีได้เสมอ

นอกจากนั้น ร่างกายเราใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ในการรับรู้และสัมผัสกับเท็กซ์เจอร์กรอบๆ ที่ทำให้รู้สึกพอใจ อีกทั้งการสัมผัสและบดเคี้ยวก็ทำให้รู้สึกเหมือนได้ระบายและคลายเครียดเมื่อได้กินนั่นเอง

หากใครมีความเครียดเรื้อรัง พฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลทำให้กินเยอะผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้อ้วนขึ้นและเครียดกว่าเดิมได้ การแก้เครียดด้วยการกินจึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่นั่นไม่ใช่วิธีคลายเครียดที่ดีที่สุด

นักวิชาการด้านอาหาร และโภชนาการได้แนะนำว่า “หากเราใช้ใจหรือสมองอย่างเดียว เพื่อเลือกกินในช่วงที่เครียด อาจทำให้ขาดสมดุลในการกิน เพราะอาหารที่ได้กินจะเป็นของที่ชอบและอร่อย แต่สารอาหารอาจไม่เพียงพอต่อร่างกาย เราจึงควรต้องใช้ทั้งใจและสมอง เพื่อเลือกอาหารคลายเครียดอย่างสมดุล ได้ทั้งความพึงพอใจและบาลานซ์เรื่องสุขภาพไปพร้อมกัน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การมีสติ และกินให้ฮีลกายและใจอย่างเหมาะสมด้วยเทคนิค
“บวก แบ่ง แพลน” ที่มีความยืดหยุ่น โดยสามารถกินของที่ชอบได้ ควบคู่ไปกับอาหารบำรุงสมองคลายเครียด อาหารที่ดีและมีโภชนาการเหมาะสมกับร่างกาย”

กินฮีลใจ ด้วย 3 เทคนิค “บวก แบ่ง แพลน” ส่งเสริมการกินอยู่อย่างสมดุล

  • บวก – “บวก” สารอาหารดีๆ ให้ได้ครบหมู่ตามความต้องการของร่างกาย เช่น หากกำลังเครียดและต้องการกินของอร่อยๆ ฮีลใจ ให้ลองจับคู่ของหวานกับผลไม้น้ำตาลน้อยเพื่อประโยชน์ที่เสริมกัน เพราะในของหวานจะมีทั้งน้ำตาลและไขมัน เมื่อจับคู่กับผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง จะช่วยลดการดูดซึมไขมันและน้ำตาลได้ดีขึ้น
  • แบ่ง – ควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะกับความต้องการของร่างกาย เช่น หากปกติจะแก้เครียดด้วยการดูซีรีส์มาราธอนพร้อมกับป็อปคอร์นชามใหญ่ ลองเปลี่ยนเป็นการชวนเพื่อนๆ มานั่งดูซีรีส์เพื่อแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ และขนมอร่อยๆ ไปด้วยกัน โดยสามารถดูคำแนะนำการแบ่งกินได้ตามฉลากโภชนาการ หรือเลือกทานผลิตภัณฑ์โดยสังเกตสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่เหมาะสม
  • แพลน – วางแผนมื้ออาหารแต่ละวันให้สมดุลกัน เช่น เมื่อจบการประชุมงานที่เคร่งเครียดในช่วงเช้า ต้องการเติมพลังด้วยบุฟเฟ่ต์ในมื้อเที่ยงก็สามารถทำได้ โดยวางแผนให้มื้อเย็นของวันนั้นเป็นมื้อที่เบาลง หรือเน้นกินผักผลไม้แทน นอกจากนั้น อาจใช้วิธีแพลนโดยการจัดจานแบบ 2:1:1 ที่สามารถกะได้ด้วยสายตา กำหนดให้แบ่งอาหารเป็นผัก 2 ส่วน ข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ 1 ส่วนในบางมื้อที่สะดวก

นอกจากนี้ยังมี 5 อาหารคลายเครียด ที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุข หรือช่วยลดฮอร์โมนความเครียด ฮีลใจได้แบบบาลานซ์ เมื่อบวกกับเทคนิค “บวก แบ่ง แพลน” อย่างเหมาะสม

ช็อกโกแลต – โกโก้มีส่วนประกอบของฟลาโวนอยด์ ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงสมอง และลดระดับฮอร์โมนความเครียดได้ อาจเลือกดาร์กช็อกโกแลตที่มีระดับโกโก้ 70% ขึ้นไป และควรแบ่งปริมาณการกินให้เหมาะสม

ไอศกรีม – มีผลการวิจัยที่ระบุว่า การกินอาหารที่มีอุณหภูมิต่ำจะช่วยให้คลื่นไฟฟ้าสมองเพิ่มสูงขึ้น ช่วยให้ตื่นตัวและอารมณ์ดี รวมไปถึงน้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในไอศกรีมยังเป็นพลังงานสำคัญต่อสมอง

ธัญพืชไม่ขัดสี – หรือโฮลเกรน อุดมไปด้วยกรดอะมิโนทริปโตฟาน เพื่อช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนิน ฮอร์โมนที่ช่วยให้มีความสุข อารมณ์ดี

ชาเขียว / ชาดำ – มีกรดอะมิโน แอล-ธีอะนิน ที่ช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินและโดพามีน รวมถึงลดฮอร์โมนเครียดอย่างคอร์ติซอลด้วยเช่นกัน

ไข่ – โดยเฉพาะไข่แดง มีวิตามินบีสูง ช่วยให้สมองรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า พร้อมวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน รวมไปถึงโคลีนที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้

ยังมีอีกหลายวิธีและเทคนิคที่ช่วยคลายเครียด และทำให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น

1.การทำสมาธิ สูดหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ เป็นเวลา 5 นาที

2.การออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินมากขึ้น

3.การเขียนไดอารี่ เพื่อระบายความคิด ความในใจ

4.พักผ่อนให้เพียงพอ ด้วยการนอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อเติมพลังให้กับสมองและร่างกาย ซึ่งถือเป็นวิธีคลายเครียดที่ดีที่สุด

แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ การจัดการกับสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดให้ได้นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก