โอลิมปิก ปารีส เกมส์ 2024 (Olympic Games Paris 2024) มหกรรมกีฬาที่มนุษยชาติตั้งตารอมา 4 ปี จะเปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ (26 ก.ค.67) เวลา 19.30 น. ตามเวลาของประเทศฝรั่งเศส หรือ 00.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ทุกสายตาทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังปารีส นครแห่งความโรแมนติกอันลือเลื่อง เมืองแห่งสถาปัตยกรรมที่ราวกับต้องมนต์ ศูนย์กลางของเหล่าตัวแม่ในวงการแฟชั่น และคำยกย่องอีกมากมาย ที่ทำให้โอลิมปิก ณ ปารีสในครั้งนี้ ฝรั่งเศสในฐานะเจ้าภาพ ถูกตั้งความหวังจากผู้คน และรอชมว่า ปารีสจะนำเสนออะไรผ่านงานระดับโลกครั้งนี้ 

‘ฝรั่งเศส’ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกมาแล้ว 3 ครั้ง คือในปี 1900, 1924 และ 2024 โดยในครั้งนี้ พิธีเปิดโอลิมปิกถูกจัดที่ ‘แม่น้ำแซน’  (La Seine) แม่น้ำที่เป็นหัวใจสำคัญของกรุงปารีสและเป็นจุดแลนด์มาร์กของนักท่องเที่ยว โดยจะมีขบวนเรือกว่า 85 ลำ พานักกีฬาราว 10,500 คน  ล่องไปตามแม่น้ำแซนเพื่อผ่านแลนด์มาร์กสำคัญของกรุงปารีสเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร โดยสองข้างทางแม่น้ำจะจัดเตรียมไว้สำหรับผู้ชมกว่า 300,000 คนได้เข้าร่วม ส่วนลำดับของขบวนจะเรียกตามชื่อเรียกของแต่ละชาติในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 184 

หนึ่งในสิ่งที่คนทั้งโลกคาดหวังกับงานโอลิมปิก คือ ‘พิธีเปิดการแข่งขัน’ ของเจ้าภาพในแต่ละปี  ซึ่งเปรียบเหมือนประตูสำหรับต้อนรับนักกีฬาจากทั่วทุกมุมโลก และช่องทางโฆษณาภาพลักษณ์ของประเทศต่อชาวโลกเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจ โดยในอดีต พิธีเปิดการแข่งขันที่ตราตรึงใจและถูกกล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ คือโอลิกปิก ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี 2018 ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นพิธีเปิดที่ดีที่สุดของการจัดพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิก มีการแสดงกายกรรม การเล่นเครื่องดนตรีโบราณประจำประเทศ การจุดพลุที่ตระการตา หรือจะเป็นการจุดคบเพลิงโดยนักยิมนาสติกของประเทศจีน 

แต่ก็ใช่ว่าพิธีเปิดโอลิมปิกจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีอยู่เสมอ เพราะหลายครั้ง การทุ่มเม็ดเงินมหาศาลของบางประเทศไปกับงานนี้ กลับสร้างภาพจำที่ย่ำแย่สู่ประเทศ เช่นในปี  1988 พิธีโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เป็นครั้งสุดท้ายที่จัดพิธีในตอนกลางวัน ในพิธีเปิดการแข่งขันแต่ละครั้งจะมีการปล่อย ‘นกพิราบ’ เพื่อเป็นตัวแทนของสันติภาพ กรุงโซลก็มีการนำนกพิราบมาปล่อยในพิธีเปิดเช่นกัน แต่การปล่อยนกพิราบในครั้งนี้กลายเป็นภาพติดตาของผู้ชมที่ได้รับดูพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนี้เพราะนกพิราบได้บินไปเกาะกระถางคบเพลิงขณะที่นักกีฬากำลังจุดไฟ ทำให้เหล่าผู้ชมได้เห็นฉากที่สะเทือนใจภาพนกพิราบที่ถูกย่างสด ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากและยุติการปล่อยนกพิราบในพิธีเปิดการแข่งขันปี 1992 

สำหรับรายละเอียดพิธีการและการแสดงโชว์ต่างๆ ในโอลิมปิกเกมปีนี้ หลายเรื่องยังถือว่าเป็นความลับ แต่ก็มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะการเตรียมงาน เพลงที่ใช้ หรือรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สอดแทรกแนวคิดของเจ้าภาพไว้อย่างมีชั้นเชิง Feed จึงอยากชวนทุกคนมาดู 5 เรื่องน่ารู้ในปารีส กับโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 33 ของโลก  

ล่องประวัติศาสตร์ในสายธารแม่น้ำแซน 

    เริ่มจากพิธีเปิดการแข่งขัน ผู้ชมจะได้เห็นขบวนพาเหรดที่ล่องไปตามแม่น้ำแซน  (La Seine) ระยะทางกว่า 6 กิโลเมตร โดยเริ่มที่ สะพาน ปงต์ ดูสแตลิตซ์ (Pont D’Austerlitz) ซึ่งอยู่ใกล้กับ สวนพฤกษศาสตร์ ฌาร์แด็ง เดส์ ปล็องต์ส (Jardin des Plantes)

    จากนั้น เรือจะล่องผ่านสองเกาะกลางแม่น้ำ อีล แซ็ง-ลุยส์ (Île Saint Louis) และ อีล เดอ ลา ซีเต ( Île de la Cité) ก่อนจะผ่านสะพานที่เป็นเอกลักษณ์ของกรุงปารีส

    โดยนักกีฬาบนเรือ จะได้ชมสถานที่จัดการแข่งขัน อาทิ จัตุรัสกงกอร์ด หรือ ปลัส เดอ ลา กงกอร์ด (Parc La Concorde) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทหารของฝรั่งเศสและอนุสรณ์สถาน เอสพลานาด เดส์ แซงวาลิดส์ ( Esplanade des Invalides) กร็องด์ ปาเลส์ (Grand Palais) สถานที่จัดแสดงนิทรรศการขนาดใหญ่ และจะผ่านสะพานสุดท้าย คือ สะพาน ปงดีเยนา (Pont d’lena) และขบวนพาเหรดจะหยุดที่โทรกาเดโร (Trocadéro)

    ภายในเรือ ได้ติดตั้งกล้องและลำโพงเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้รับชมบรรยากาศผ่านโทรทัศน์และช่องทางออนไลน์ อีกทั้งตลอดเส้นทางของขบวนเรือ จะมีจอภาพและลำโพงขนาดใหญ่ ติดตั้งและจัดวางอยู่เพื่อให้ทุกคนได้รับชมบรรยากาศและการแสดงทั่วถึงทั้งกรุงปารีส 

    สำหรับ ‘แม่น้ำแซน’ ถือเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่มีประวัติมายาวนานพันปี มีความยาวถึง 776 กิโลเมตร ทอดยาวผ่านเมืองหลวงฝรั่งเศส  โดยมีต้นธารมาจากเทือกเขาแอตแลนติกที่ติดกับตอนเหนือของฝรั่งเศส ไหลยาวลงมาจนถึงกรุงปารีส และไหลลงสู่ช่องแคบอังกฤษที่เลออาฟวร์ 

    แม่น้ำแซน มีอิทธิพลลึกซึ้งต่อวิถีชีวิตของชาวปารีสมาหลายศตวรรษ ทั้งในแง่แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และเกษตรกรรม โดยครั้งหนึ่ง แม่น้ำแซนได้รับการยกย่องว่าเป็นดังแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยมีเทพีเซควานา (Sequana) เป็นผู้ปกปักรักษาผืนน้ำนี้  และเป็นสถานที่แห่งแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานศิลปะระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วินเซนต์ แวน โกะห์ (Vincent Van Gough) หรือโคลด์ โมเนต์ (Claude Monet) ซึ่งปัจจุบัน แม่น้ำแซนถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สุดแสนโรแมนติก เป็นจุดแลนด์มาร์กที่นักเดินทางต่างปรารถมาเยือนสักครั้งในชีวิต และเป็นสถานที่ๆ รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งใจจะใช้สายธารนี้ จัดแข่งกีฬา 3 ชนิด ได้แก่ ไตรกีฬา ว่ายน้ำพาราลิมปิก และการแข่งขันว่ายน้ำมาราธอน และอวดโฉมต่อสายตาชาวโลกในงานพิธีเปิดโอลิมปิก 2024 อีกด้วย

    ‘ฟรีจีส’ มาสคอตแห่งเสรีภาพ

      องค์ประกอบสำคัญของโอลิมปิกที่ขาดไม่ได้ คือ ‘มาสคอตโอลิมปิก’ โดยแต่ละครั้งที่ผ่านมา เจ้าภาพมักเลือกสัตว์หรือบุคคลมาใช้เป็นมาสคอต เช่น มาสคอตโอลิมปิกตัวแรกที่จัดขึ้นในเม็กซิโกปี 1968 คือ ‘เสือจากัวร์สีแดง’ หรือ ‘มิชา’ หมีที่เป็นมาสคอตของโอลิมปิก ณ กรุงมอสโกในปี 1980 และเจ้า ‘โคบี้’ สุนัขภูเขาพิเรเนียนที่มีนิสัย คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง อ่อนโยน ในโอลิมปิกเมืองบาเซโลนาปี 1992

      ทว่าในปีนี้ ฝรั่งเศส ได้เลือกใช้ ‘หมวกฟรีจีส’ ที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ และเป็นสัญลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์จดจำง่าย แตกต่างจากโอลิมปิกครั้งก่อนอย่างน่าสนใจ โดยคำขวัญของฟรีจีสในโอลิมปิกและพาราลิมปิกปารีส 2024 คือ “ลำพัง เราก้าวไปข้างหน้าได้เร็ว แต่เมื่อร่วมมือกัน เราก้าวไปไกลกว่า” 

      โดยมาสคอต ‘ฟีจีส’ ได้รับแรงบันดาลใจจาก Phrygian หรือหมวกฟรีเจียนสีแดง สัญลักษณ์สัญลักษณ์แห่งเสรีภาพในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ( พ.ค. 1789 ถึง พ.ย. 1799) โดยหมวก Phrygian เป็นส่วนหนึ่งของหลายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ตามที่มีการบันทึกพบว่า หมวก Phrygian ได้มีการสวมใส่ระหว่างการก่อสร้างมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสในปี 1163 ระหว่างการปฏิวัติในปี 1789 ระหว่างการสร้างหอไอเฟลและระหว่างการแข่งขันกีฬาในปี 1924 และนั่นทำให้ ฟรีเจส ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ ทั้งยังเป็นตัวแทนของชาวฝรั่งเศส โลกแห่งศิลปะ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส

      La Vie en Rose คืนชีพจิตวิญญาณแห่งปารีส 

        มาที่พิธีเปิดสุดยิ่งใหญ่ครั้งนี้ จะเต็มไปด้วยการแสดงสุดเซอไพร์สที่ตื่นตาตื่นใจผสมผสานศาสตร์ละครโอเปร่า การแสดงดนตรีหลากหลายประเภท การเต้น และละครสัตว์เข้าไว้ด้วยกัน และยังมีกระแสว่า ศิลปินชื่อดังอย่าง  Celine Dion, Lady Gaga, Aya Nakamura จะมาร่วมขึ้นแสดงในพิธีเปิดอีกด้วย ด้าน  Celine Dion และ Lady Gaga จะมาโชว์ร่วมกันในบทเพลง La Vie en Rose (ลาวีอองโรส) ของ อีดิธ เพียฟ (Edith Piaf) นักร้อง-นักแต่งเพลงระดับตำนานชาวฝรั่งเศส ส่วน Aya Nakamura (อายะ นากามูระ) นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส-มาลี มาแสดงเพลงคลาสสิกของ ชาร์ล อัสนาวูร์ นักร้องชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอาร์เมเนีย 

        สำหรับ บทเพลง La Vie en Rose (ลาวีอองโรส) หมายถึง ชีวิตสีชมพู หรืออาจแปลเป็นสำนวนไทยได้ว่า ‘ชีวิตที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ’ ผลงานโดย อีดิธ เพียฟ (Edith Piaf)  ถือเป็นบทเพลงที่สะท้อนความเป็นนครปารีสได้อย่างงดงามที่สุด โดยเจ้าของบทเพลงอย่าง อีดิธ เพียฟ นักร้องที่โดดเด่นและทรงอิทธิพลที่สุดในวงการเพลงป๊อบของประเทศฝรั่งเศส และได้รับสรรเสริญว่า ‘จิตวิญญาณแห่งปารีส’ การได้สองตัวแม่ดีว่าอย่าง Celine Dion, Lady Gaga, มาร่วมขับร้องบทเพลงนี้ จึงได้สร้างความตื่นเต้นให้กับเหล่าแฟนคลับทั่วโลก โดยเฉพาะการกลับมาแสดงบนเวทีอีกครั้งของ  Celine Dion ที่ห่างหายไปนานกว่า 2 ปี จากการพักรักษาโรค Stiff Person Syndrome

        เต้นเบรกแดนซ์ ครั้งแรกในโลกโอลิมปิก

        ในการแข่งขันโอลิมปิกปารีส 2024 ยังได้เพิ่มกีฬาที่น่าสนใจเข้าไปในการแข่งขัน นั้นก็คือ Breaking หรือ การเต้นเบรกแดนซ์ รูปแบบการเต้นที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป โดย เริ่มต้นจากความนิยมเต้นเบรกแดนซ์บนท้องถนนในย่านบรองซ์ (bronx) ในนครนิวยอร์ก ช่วงทศวรรษที่ 1970 

        การแข่งขัน Breaking จะแบ่งเป็นออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทชายและหญิง โดยจะมีทั้ง 16 B-boy และ 16 B-Girls เป็นการแข่งขันด้วยการเต้นที่ดุดันและสร้างสรรค์ โดยมีท่าบังคับเป็น  Windmills เป็นการเต้นยอดนิยมในกลุ่มนักเต้น ผู้เต้นจะหมุนลำตัวเป็นวงกลมบนพื้นอย่างต่อเนื่อง, The 6-Step เป็นพื้นฐานท่าเต้นสำหรับการเต้น B-boy (บีบอย) จะมี 6 ขั้นตอน จะกำหนดทิศทางการหมุนและสร้างโมเมนตัมไปพร้อมกับควบคุมร่างกาย  และ Freezes เป็นการเต้นที่ต้องล็อคท่าเต้น และให้ท่าเต้นลงตัวกับดนตรีที่เปิด จะแสดงถึงความดุดันของท่าเต้นรวมอยู่ด้วย

        สำหรับสนามที่ใช้แข่งขัน Breaking ทางเจ้าภาพอย่างปารีส วางแผนไว้ว่าจะใช้ La Concorde จตุรัสกลางกรุงปารีส ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนผ่านแห่งยุคของฝรั่งเศสเป็นสถานที่แข่งขันหลัก ซึ่งฉากที่เห็นในวันจริงย่อมอลังการงานสร้าง แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของสถานที่ทางประวัติศาสตร์และความรุ่มรวยทางศิลปวัฒนธรรมของฝรั่งเศสอย่างแน่นอน

        แจกมือถือ 17,000 เครื่อง

          อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของโอลิมปิกครั้งนี้ คือนอกจากนักกีฬาจะสามารถนำโทรศัพท์สมาร์ทโฟนขึ้นโพเดียมเพื่อเก็บภาพความประทับใจได้แล้ว ทาง Samsung ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของโอลิมปิกปีนี้ ได้มอบ Galaxy Z Flip6 Olympic Edition ให้นักกีฬาทุกคน รวมทั้งหมด 17,000 เครื่อง!

          Galaxy Z Flip6 Olympic Edition คือสมาร์ทโฟนที่ถูกดีไซน์ขึ้นเพื่องานนี้โดยเฉพาะ โดยตัวเครื่องจะโดดเด่นด้วยสีหลืองทอง ประดับด้วยวงแหวนโอลิมปิก (Olympic Rings) และ The Agitos ซึ่งเป็นโลโก้ของโอลิมปิกและพาราลิมปิก โดยทาง Samsung ได้ร่วมมือกับ Parisian Men’s Vluxy Maison ผู้ออกแบบชุดอย่างเป็นทางการของทีมชาติฝรั่งเศส สำหรับพิธีเปิด Paris 2024 เพื่อสร้างเคส Flipsuit รุ่นพิเศษที่จะมาพร้อมกับอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทําจากหนังเวเนเซีย โดยเคส Flipsuit แต่ละอันมีสีพิเศษ ที่มีการผสมผสานสีที่สดใส ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากแหวนโอลิมปิก ฉลองจิตวิญญาณโอลิมปิกและคุณค่าของความเป็นเลิศและความสามัคคี

          นอกจากนี้ แอพลิเคชั่นต่างๆ ในสมาร์ทโฟน ยังมาในธีม Paris 2024 และมีฟีเจอร์ที่อำนวยความสะดวกให้นักกีฬา อาทิเช่น ฟีเจอร์การสนทนาสดทันที (Interpreter) ให้นักกีฬาแชทกับนักกีฬาและอาสาสมัครคนอื่นๆ และรับการแปลสดของสิ่งที่พวกเขาพูดบนหน้าจอ ในขณะที่ยังคงพูดแบบตัวต่อตัว อีกทั้งนักกีฬายังสามารถติดตามตารางเวลาการแข่งขันล่าสุดและเดินทางรอบสถานที่โอลิมปิกได้อย่างง่ายดาย ด้วยแอปฯ ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) อย่างเป็นทางการหลายแอปฯ เช่น Athlete 3656, Olympic Shop, Paris 2024, Transport Accred App และสายด่วน IOC ที่ถูกโหลดไว้ให้แล้วในเครื่อง  รวมทั้งได้รับบัตรเข้าใช้ระบบขนส่งสาธารณะฟรีไม่จำกัด และแอปโอลิมปิกอย่างเป็นทางการหลายแอป ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักกีฬาเปิดประสบการณ์ใหม่และเชื่อมต่อกับผู้คนใหม่ๆ ขณะที่พวกเขาอยู่ในปารีสอีกด้วย 

          อ้างอิง

          เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

          ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

          คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

          ยอมรับทั้งหมด
          จัดการความเป็นส่วนตัว
          • คุกกี้ที่จำเป็น
            เปิดใช้งานตลอด

            ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
            รายละเอียดคุกกี้

          • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

            คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

          • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

            คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

          • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

            คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

          • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

            คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

          บันทึก