โลกร้อนส่งผลกระทบกับทะเลถึงขีดสุด เกิดสภาวะอุณหภูมิน้ำในทะเลสูงขึ้น ทำให้น้ำทะเลร้อนจี๋ ส่งผลต่อปะการัง สาหร่าย หญ้าทะเล รวมไปถึงสัตว์น้ำ พากันตายจนน่าตกใจ

เรื่องนี้ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กThon Thamrongnawasawat ระบุว่า “โลกร้อนทำให้ทะเลแปรปรวนถึงขีดสุด ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีหลายอย่างฆ่าหญ้าทะเล หลังจากลงไปสำรวจพื้นที่ที่จังหวัดตราด

สาเหตุหลักน่าจะมาจากน้ำลงต่ำผิดปกติในช่วงปี 64-65 ทุกอย่างแห้งผาก ผิดจากวันนี้ที่แม้ในตารางน้ำบอกว่าลงเท่ากัน แต่ในความเป็นจริง น้ำปีนี้ไม่ลดต่ำเท่า 2-3 ปีก่อน แต่น้ำร้อนจี๋ ในบริเวณที่เคยมีหญ้า อุณหภูมิน้ำ 40 องศา ในทรายลึก 10 เซนติเมตร บริเวณที่รากหญ้าฝังอยู่ อุณหภูมิ 36 องศา ยังอาจเกี่ยวกับลมแรงมากในทิศทางผิดปกติบางช่วง รวมถึงแนวปะการังที่เคยเป็นกำแพงกั้นคลื่น ทรุดโทรมจากปัญหาปะการังฟอกขาาวซ้ำซ้อน ทำให้ไม่สามารถลดแรงคลื่นได้เหมือนเดิม จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แหล่งหญ้าทะเล 810+ ไร่ ใหญ่สุดในแนวปะการังภาคตะวันออก เป็นที่อยู่ของปลาเกือบ 30 ชนิด ปูม้าเต็มไปหมด ตอนนี้แทบไม่เหลืออะไรสักตัว

ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศดีสุดในโลก ก็ไม่มีเหลือเช่นกัน สภาพกลับกลายเป็นพื้นทรายธรรมดา มันน่าเศร้าเมื่อคิดว่าหญ้าทะเลที่ช่วยเรากักเก็บคาร์บอนมาตลอด สุดท้ายก็สู้โลกร้อนไม่ไหว พ่ายแพ้ตายจนหมดสิ้น

นี่แหละครับคือหายนะโลกร้อนทะเลเดือดที่มาถึงเมืองไทยแล้ว ไม่ต้องรออีก 30-40 ปี มันเกิดขึ้นแล้วที่ตราด ที่ตรัง ที่กระบี่ และอีกบางที่ในทะเลไทย หญ้าทะเลของเราแย่มากแล้วครับ

หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้เราตระหนักถึงความพินาศจากโลกร้อน ผลกระทบกับทะเล ภูมิอากาศ เศรษฐกิจปากท้อง และผู้คน อาจมีสักวันที่เราจะเอาจริงเรื่องโลกร้อนให้มากขึ้น เพื่อความหวังน้อยๆ ของเราและลูกเราครับ”

เฟซบุ๊กThon Thamrongnawasawat
ขอบคุณภาพจาก : เฟซบุ๊กThon Thamrongnawasawat

นอกจากประเทศไทยแล้วเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเวียดนามก็ได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนอีกด้วย เอเอฟพี รายงานว่า ปลาหลายแสนตัวลอยตายเกลื่อนในอ่างเก็บน้ำจังหวัดด่งนาย ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ ประเทศเวียดนาม

สื่อท้องถิ่นระบุว่าพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของเวียดนามเผชิญหน้ากับการทำลายล้างของคลื่นความร้อนรุนแรง ปลาทั้งหมดในอ่างเก็บน้ำซ้องไมยตายเพราะขาดน้ำ และชาวบ้านในอำเภอจั๋งโบมกำลังประสบปัญหาอย่างหนักจากกลิ่นเน่าเหม็นของปลาตาย

ทั้งนี้ อุณหภูมิในจังหวัดด่งนายเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียสและทำลายสถิติอุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ในรอบ 26 ปี ตั้งแต่ปี 2541

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก