กยท. หนุนงบ 49(3) มอบเกษตรกรสวนยางต้นแบบฯ ติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อจัดการระบบน้ำในสวนยางแบบวนเกษตร ลดต้นทุน สร้างรายได้เสริมจากพืชแซมและปศุสัตว์

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย นายเกียรตินันท์ ยิ้นซ้อน ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย นำคณะเจ้าหน้าที่ กยท.จ.เชียงราย และสื่อมวลชน ลงพื้นที่สวนยางพาราของเกษตรกรที่ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรต้นแบบระดับสาขาและระดับจังหวัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 ปีซ้อน ในโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางต้นแบบด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยมีนางสาวชรินทร์ทิพย์ เชื้อเมืองพาน เจ้าของสวนยางพาราต้นแบบ และนายจัตุรัส กั้นสกุล เกษตรกรชาวสวนยาง ให้การต้อนรับ

การยางแห่งประเทศไทย

นายจัตุรัส กั้นสกุล เกษตรกรชาวสวนยาง ให้ข้อมูลว่า พื้นที่สวนยางมีประมาณ 30 ไร่ เป็นสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง และได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรฯ กับ กยท. ตั้งแต่ปี 2558 โดย กยท. ได้จัดทำข้อมูลพื้นที่สวนยาง สามารถค้นหาพิกัดผ่านระบบ GIS รองรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่ง กยท. มีนโยบายให้เกษตรกรชาวสวนยางทำการเกษตรแบบเกษตรกรรมยั่งยืน และสวนยางพาราแห่งนี้ ได้จัดการพื้นที่สวนยางพาราแบบวนเกษตร มีการขุดสระกักเก็บน้ำ และปลูกพืชแซมยางหลายชนิด เช่น โกโก้ กาแฟ ขิง ลองกอง เงาะ และกลุ่มพืชสมุนไพร รวมถึงการทำปศุสัตว์ ทั้งการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ และเลี้ยงสัตว์น้ำ

“ผมได้รับการสนับสนุนระบบปั๊มโซล่าเซลล์สูบน้ำ มูลค่ารวม 100,000 บาท จาก กยท. เมื่อปี 2565 เพื่อใช้ในการทำการเกษตรภายในสวนยาง โซล่าเซลล์ที่ผมได้รับมา ผมประเมินว่าความคุ้มทุนอยู่ที่ 5 ปี และยังใช้งานต่อเนื่องได้ถึง 20 ปีข้างหน้า”

การยางแห่งประเทศไทย

นายจัตุรัส เล่าว่า ระบบโซล่าเซลล์สามารถนำไปใช้ในพื้นที่สวนยางพาราได้ครบทุกมิติ ทั้งระบบปั๊มสูบน้ำ เพื่อใช้สำหรับยางพาราและพืชแซมยาง รวมถึงการปศุสัตว์ภายในสวนยาง เมื่อเพิ่มแบตเตอรี่บางส่วนแล้วสามารถใช้ปั๊มน้ำในการเติมน้ำในบ่อปลา 5-10 คิวบิกเมตร ได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องเชื่อม และสามารถใช้เครื่องปรับอากาศ ขนาด 12,000 บีทียู ก่อนเวลา 24.00 น. ซึ่งตั้งแต่เริ่มใช้ระบบโซล่าเซลล์ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กยท.มา ทำให้ค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน ลดลงมาก จากเดิมที่เคยจ่าย 1,500 บาทต่อเดือน เหลือเพียง 200 บาทต่อเดือน

การยางแห่งประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาสวนยางพารา ทาง กยท. ยังได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาสวนยาง ของนางสาวชรินทร์ทิพย์ รวมทั้งสิ้น 400,000 บาท เพื่อจัดการสวนยางให้เกิดประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. ปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์เป็นศูนย์เรียนรู้ 2. ขุดลอกสระน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำและเลี้ยงสัตว์น้ำ 3. สร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ด-ไก่ไข่และจัดหาแม่พันธุ์ 4. อุปกรณ์ระบบเจาะแก๊ส/ติดหมวกต้นยาง 500 ชุด 5.แบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์ 6.ถังเก็บน้ำขนาด 3,000 ลิตร 7. กิจกรรมเลี้ยงกบ เลี้ยงผึ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงแหนแดงพันธุ์กรมวิชาการเกษตร 8. ปลูกผักสมุนไพรและผักพื้นบ้านในสวนยาง ซึ่งปัจจุบันสวนยางต้นแบบของนางสาวชรินทร์ทิพย์ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรรายอื่น กลุ่มนักเรียนนักศึกษา และผู้ที่สนใจ ซึ่งมีบุคคลภายนอกเข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่สวนยางแห่งนี้เป็นประจำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก