ไม่ใช่คิดว่าทุกคนเป็นผู้สื่อข่าว มีโทรศัพท์ปุ๊บเป็นนักข่าวแล้ว สามารถจะถ่ายตัวเอง ทำคอนเทนต์โน่นนี่นั่น อันนั้นคือไปออกในพวกโซเชียลมีเดีย แต่ถ้าเป็นโทรทัศน์แล้วมันต้องเตรียมตัว รายละเอียดเยอะ เชื่อว่าทีวีทุกช่องยังเปิดกว้าง ไม่ใช่ว่าเรื่องกีฬาอย่างเดียว อาจจะเป็นสายการเมือง สายเศรษฐกิจ สายบันเทิงอะไรอย่างนี้ แต่ว่าขอให้มีต้นทุนใจครับ ใจต้องชอบก่อน ต้องรักก่อน ไม่ใช่คิดทำเพื่อเป็นทางผ่าน

“แอ๊ดดี้” วีรศักดิ์ นิลกลัด ผู้บรรยายกีฬา ผู้ประกาศข่าวช่อง PPTVHD36

หากเอ่ยชื่อ “แอ๊ดดี้” วีรศักดิ์ นิลกลัด เชื่อว่า “แฟนกีฬา-คอบันเทิง” ก็คงรู้จักและคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี เพราะเขาคนนี้โลดแล่นอยู่ในหน้าจอโทรทัศน์เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว ทั้งในบทบาทผู้บรรยายกีฬา ผู้ประกาศข่าว รวมถึงกรรมการและคอมเมนเตเตอร์รายการยอดฮิตเรตติ้งสูงอย่าง “กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน” อันโด่งดัง ทั้งที่เคยออกอากาศทางช่อง 7 และช่อง PPTVHD36 ในเวลาต่อมา (ปัจจุบันยุติออกอากาศแล้ว)

รายการกิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน
รายการกิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน
ภาพจาก : Facebook KikDuu กิ๊กดู๋

FEED มีโอกาสพูดคุยกับ วีรศักดิ์ นิลกลัด หลากหลายแง่มุม ทั้งเรื่องฟุตบอลโลกในความทรงจำ ที่มีการเผยแพร่บทความบนเว็บไซต์ไปแล้ว ตลอดจนเส้นทางชีวิตในวงการสื่อมวลชน ซึ่งใครจะรู้บ้างว่าบุคคลสำคัญที่คอยผลักดันและชักจูงให้เจ้าตัวเข้าสู่วงการข่าวคือ พี่ชาย พิศณุ นิลกลัด กับ ระวิ โหลทอง บอสใหญ่แห่งสยามสปอร์ต

จนกระทั่งต่อมาชื่อ วีรศักดิ์ นิลกลัด กลายเป็นผู้บรรยายกีฬาระดับแถวหน้าของประเทศไทย ด้วยสไตล์การพากษ์ที่โดดเด่น และน้ำเสียงนุ่มลึกอันเป็นเอกลักษณ์

วีรศักดิ์ นิลกลัด คว้ารางวัล ผู้บรรยายกีฬาดีเด่น โทรทัศน์ทองคำ 3 สมัย ปี 2548, 2555, 2556 รางวัลกูรูกีฬา สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8
วีรศักดิ์ นิลกลัด คว้ารางวัล ผู้บรรยายกีฬาดีเด่น โทรทัศน์ทองคำ 3 สมัย ปี 2548, 2555, 2557

วีรศักดิ์ นิลกลัด : ผมเป็นคนจังหวัดเพชรบุรี เป็นชาวเพชรโดยกำเนิด พ่อแม่ก็เป็นคนเพชรบุรี มีอาชีพเป็นครู ท่านก็ให้การสนับสนุนเรื่องเรียนหนังสือ ผมเรียนชั้นประถมที่เพชรบุรี แล้วมาต่อประถมปลายกับมัธยมที่กรุงเทพฯ และสุดท้ายเรียนอุดมศึกษาที่พลศึกษา

ชีวิตในวัยเด็กก็ซนเป็นประสาเด็กต่างจังหวัด แล้วก็ชอบเล่นกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอล สมัยเด็กๆ ก็ไม่เหมือนสมัยนี้ที่มีอะคาเดมี่ มีโรงเรียนสอนฟุตบอล สมัยก่อนก็วิ่งเตะฟุตบอลกันธรรมดา สมัยก่อนเราเรียนชั้น ป.5 แต่ว่าสามารถเล่นกับรุ่นพี่อย่าง ป.7 ได้ เล่นทีมโรงเรียนได้ตั้งแต่สมัยชั้นประถมแล้ว ต่อเนื่องมาถึงมัธยมก็เล่นกีฬาฟุตบอลตลอดเลย

สุดท้ายแล้วเราก็ชอบทางนี้ ทางบ้าน พี่ พ่อ แม่ ก็แล้วแต่เราว่าจะเลือกเรียนสายไหน อย่างพี่ชาย คือคุณพิศณุ นิลกลัด ไปสายรัฐศาสตร์ แต่ก็เล่นกีฬาเหมือนกัน เป็นครอบครัวเล่นกีฬา พี่ชายถัดจากคุณพิศณุไปอีกคนหนึ่งก็ต่อยมวยไทย สุดท้ายไปเรียนที่ ม.เกษตรฯ แล้วก็เป็นนักรักบี้

ส่วนคุณพิศณุก็เป็นนักฟุตบอลของประเพณีจุฬาฯ ด้วย เล่นสโมสรด้วย สโมสรสมัยก่อนก็ถ้วย “ง” (ถ้วยฟุตบอลพระราชทาน ประเภท ง) ผมเรียนพลศึกษาทุกอย่างก็เป็นกีฬาหมด หลังจากที่จบมัธยมแล้ว ก็เรียนต่อพลศึกษาในยุคเพื่อนร่วมรุ่นคือ พิชัย คงศรี, วรวรรณ ชิตะวณิช (อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย) ก็อยู่ในรุ่นเดียวกัน เรียนพลศึกษามาด้วยกัน นักฟุตบอลเยอะสมัยนั้น

สมัยก่อนเล่นฟุตบอล ถ้าติดทีมสถาบันได้ หรือเล่นในสโมสรได้ ถือว่ายอดเยี่ยมแล้ว เพราะว่าไม่มีสโมสรมากมายเหมือนทุกวันนี้ ไม่มีฟุตบอลอาชีพ หรือทีมเยาวชน-ยุวชน ก็ไม่ได้มีมากมาย เดี๋ยวนี้อายุต่ำกว่า 10 ปี 12 ปี 14 ปี มีระดับทีมชาติหมดเลย แต่ว่าเมื่อก่อนไม่มี เราก็เลยเล่นแค่สถาบัน

คือจริงๆ แล้วการเรียนสายพลศึกษา โดยตรงจบแล้วต้องเป็นครูพละ แต่ว่าบังเอิญช่วงที่เรียนอยู่ วันหยุดเสาร์อาทิตย์ คุณพิศณุพี่ชาย ทำงานอยู่ที่สยามสปอร์ตของคุณระวิ โหลทอง เราก็ไปขลุกอยู่เสาร์อาทิตย์ แล้วคุณระวิมีนโยบายให้ลูกน้องคือนักข่าวระดับรุ่นคุณ ย.โย่ง เอกชัย นพจินดา คุณยอดทอง ยอดชาย ขันธะชวะ คุณพิศณุ และอีกหลายคน

ทีมสตาร์ซอคเก้อร์
ทีมสตาร์ซอคเก้อร์

สมัยก่อนหนังสือพิมพ์นั้นมีมากมาย ทั้ง ไทยรัฐ, เดลินิวส์ และอื่นๆ จะรวมตัวกันเล่นฟุตบอลเป็นทีมสตาร์ซอคเก้อร์ตั้งแต่ยุคก่อนอาร์เจนตินาได้แชมป์โลกปี 1978 เพราะจำได้ว่าชุดแรกๆ เป็นชุดฟ้าขาว ผมเรียนพลศึกษาศุกร์เสาร์อาทิตย์ก็ตามทีมไปด้วย แล้วก็ได้เล่น เล่นตั้งแต่ยังเรียนพลศึกษา

เพราะว่าคุณพิศณุบอกคุณระวิเจ้าของทีม เจ้าของสยามสปอร์ตว่าน้องชายเล่นฟุตบอลได้นะ ก็เลยได้เล่น เล่นต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ทุกวันนี้อายุเกิน 60 แล้วก็ยังเล่นอยู่

จุดเปลี่ยนชีวิต ระวิ โหลทอง ชักจูงเข้าวงการสื่อ

วีรศักดิ์ นิลกลัด : หลังจากที่ได้เล่นทีมสตาร์ซอคเก้อร์เป็นนักบอลอย่างเดียวไม่ได้ทำงาน เพราะยังเรียนอยู่ พอเรียนจบ ตามเส้นทางต้องไปเป็นครูพละ แต่ว่าคุณระวิ โหลทอง บอกคุณพิศณุพี่ชายว่าเอามาทำงานไหม พี่ชายก็ถามเรา เราบอกว่าก็แล้วแต่ คุณระวิก็เรียกเราไปถามอยากทำเป็นนักข่าวไหม เราก็โอเคสิ เพราะได้เตะฟุตบอลด้วย ตอนนั้นเพิ่ง 20 ต้นๆ ก็เลยได้ทำที่สยามสปอร์ตเป็นแห่งแรกเมื่อ 2523-2524 ก็ทำเรื่อยๆ มา ทำหนังสือพิมพ์นะ

พิศณุ และ วีรศักดิ์ นิลกลัด
พิศณุ และ วีรศักดิ์ นิลกลัด

จากนั้นอีกประมาณสัก 10 ปีนิดๆ คุณ ย.โย่ง เอกชัย นพจินดา คุณพิศณุ ไปทำทีวีที่ช่อง 7 เป็นผู้ประกาศข่าว เป็นผู้บรรยายกีฬา แล้วด้วยน้ำเสียงเรากับคุณพิศณุนี่เหมือนกัน คุณระวิเลยบอกว่าเฮ้ยแอ๊ดไปสิ ไปทำงานทีวีที่ช่อง 7 บ้าง ซึ่งยุคนั้นก็มีเพื่อนร่วมรุ่นที่มาทำงานหนังสือพิมพ์คือ คุณบิ๊กจ๊ะ สาธิต กรีกุล เขาไปทำช่อง 3 เราก็ไปตามที่คุณระวิแนะนำ

ระวิ โหลทอง บอสใหญ่สยามกีฬา
ระวิ โหลทอง บอสใหญ่สยามกีฬา

ปรากฏว่าทางผู้บริหารช่อง 7 เขาเมตตาให้ทำ เริ่มจากทำรายการของคุณพิศณุคือรายการยอดมวยเอก เป็นเหมือนโปรดิวเซอร์ เป็นคนทำข้อมูล ไปกับกล้อง ไปกับทีมงาน ไปถ่ายตามค่ายมวย ถ่ายที่เวทีมวย

ตอนหลังก็มีลงเสียงบ้าง ได้พากษ์บ้าง แล้วทางช่อง 7 ก็ถือว่าเป็นความเมตตาให้เราบรรยาย กีฬาสมัยก่อน กีฬาเขต กีฬาแห่งชาติ ที่ถ่ายทอดสดช่อง 7 บ่อยๆ ก็ได้พากษ์ แล้วก็มาเป็นผู้รายงานข่าวข้างสนาม ที่สนามเวลาแข่งขัน รายงานสดๆ เปิดหน้าด้วย ออกหน้าด้วย สุดท้ายก็ได้เป็นคนอ่านข่าวกีฬา แต่พากษ์มาก่อน อ่านข่าวกีฬายุคประมาณ 2535-2536 ที่ช่อง 7 ก็เกือบๆ 30 ปี แล้วก็มาที่ PPTVHD ช่อง 36

เริ่มต้นจากเป็นคอลัมนิสต์เขียนข่าวฟุตบอลไทยในสตาร์ซอคเก้อร์

วีรศักดิ์ นิลกลัด : เริ่มเป็นนักข่าวของสยามสปอร์ต ตอนนั้นยังไม่มีสยามกีฬารายวัน มีสตาร์ซอคเก้อร์ก็เป็นราย 15 วัน ราย 10 วัน หรือรายสัปดาห์ แล้วก็กีฬาสยาม คือเขาแบ่งกัน คุณระวิเขามอบให้สตาร์ซอคเก้อร์เป็นคุณ ย.โย่ง เป็น บก. กีฬาสยามเป็นแม็กกาซีน คุณพิศณุเป็น บก. คุณยอดทองเป็น บก. หนังสือชุดโกล เกี่ยวกับฟุตบอลเหมือนกัน

ผมเป็นคอลัมนิสต์เขียนข่าวฟุตบอลไทย สมัยก่อนฟุตบอลไทยซึ่งแทรกอยู่ในหน้าหนึ่งของสตาร์ซอคเก้อร์ ซึ่งเป็นฟุตบอลต่างประเทศล้วนๆ ส่วนสยามกีฬาก็ไปสัมภาษณ์เขียนเป็นบทความ เป็นเรื่อง เขียนประวัตินักกีฬา นักฟุตบอล นักวิ่ง ลงในกีฬาสยาม แล้วประมาณปี 2527-2528 มีสยามกีฬารายวัน ครั้งแรกเป็นผู้สื่อข่าวสายมวยนะ พวกยุคเขาทราย ยุคมวยไทยก็พวก ฉมวกเพชร ห้าพลัง ต้องไปเวทีมวย มวยต่อยที่ไหนก็ต้องไป มวยก่อนเลย ไม่ใช่ทำสายฟุตบอลเลย

ส่วนนามปากกา แอ๊ดดี้ มาจากพี่ชายคุณพิศณุบอกว่า แอ๊ด นามปากออกให้ดูเหมือนฝรั่งๆ อินเตอร์หน่อย แอ๊ด Ad ก็เติมตัว dy ไปอีกตัว ก็กลายเป็น Addy ชื่อเล่น แอ๊ด พี่ชายก็บอกเป็น แอ๊ดดี้ ก็ใช้อยู่นามปากกาเดียว

ขอให้ใจต้องชอบก่อน ไม่ใช่คิดทำเพื่อเป็นทางผ่าน

วีรศักดิ์ นิลกลัด : จริงๆ ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไปเยอะ แล้วเปลี่ยนเร็วมาก ไม่ใช่มีแค่สื่อออกทางหน้าจอโทรทัศน์อย่างเดียว เพราะว่ามีทั้งเพจ มีทั้งยูทูบ คือแพลตฟอร์มมันมากมาย ทุกคนสามารถจะออกจอได้ แต่ถ้าออกจอแบบเป็นทางทีวีสาธารณะก็ต้องมีการเตรียมตัวหน่อย ไม่ใช่คิดว่าทุกคนเป็นผู้สื่อข่าว มีโทรศัพท์ปุ๊บเป็นนักข่าวแล้ว สามารถจะถ่ายตัวเอง ทำคอนเทนต์โน้นนี่นั่น อันนั้นคือไปออกในพวกโซเชียลมีเดีย แต่ถ้าเป็นโทรทัศน์แล้วมันต้องเตรียมตัว รายละเอียดเยอะ

"แอ๊ดดี้" วีรศักดิ์ นิลกลัด
“แอ๊ดดี้” วีรศักดิ์ นิลกลัด ในวัย 65 ปี

เชื่อว่าทีวีทุกช่องยังเปิดกว้าง ไม่ใช่ว่าเรื่องกีฬาอย่างเดียว อาจจะเป็นสายการเมือง สายเศรษฐกิจ สายบันเทิงอะไรอย่างนี้ แต่ว่าขอให้มีต้นทุนใจครับ ใจต้องชอบก่อน ต้องรักก่อน ไม่ใช่คิดทำเพื่อเป็นทางผ่าน เพราะว่าอย่างรุ่นผม หรือรุ่นก่อน ไม่งั้นอยู่ไม่ได้นานขนาดนี้ ไม่งั้นต้องไปทำอย่างอื่น

เดี๋ยวจะบอกว่าอ้าวก็คนรุ่นนี้มันตกรุ่นตกยุคไปแล้วหรือเปล่า ถึงไม่มีคนจ้างงาน แต่เราก็อยู่ตรงนี้ มันเป็นชีวิตไปแล้ว เพราะว่าปกติงานทั่วไปไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ อายุ 60 เกษียณ แต่ว่าของเราไม่มีเกษียณ เพราะเราได้ทำงานแล้วรู้สึกมีความสุข

คือโดยปกติเป็นคนที่ไม่ค่อยคลุกคลีกับโซเชียลมาก คือไลฟ์สไตล์เป็นคนรุ่นเก่า ก็ติดตามดู แต่ว่าไม่ได้เข้าไปเคลื่อนไหวอะไร บางครั้งคิดว่าเงียบๆ ไป แต่ทุกวันนี้ก็ยังทำงานอยู่ ทำงานอยู่ทั้งเป็นผู้บรรยาย ทั้งเป็นคอลัมนิสต์อะไรต่างๆ สำหรับหลายๆ คนที่ติดตามงานอยู่ก็ช่อง 36 เป็นผู้บรรยาย เป็นพิธีกรรายการกีฬา

แล้วก็ยังมีบทความในหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวันสัปดาห์ละครั้ง รวมทั้งมีบทวิเคราะห์วิจารณ์ฟุตบอลในเพจต่างๆ บ้าง ซึ่งถือว่าก็เป็นงานของเรา ไม่ได้สนับสนุนให้ไปทายใจกันอะไรนะ แต่ก็เป็นบทวิเคราะห์วิจารณ์ว่าความน่าจะเป็นมันเป็นยังไง คิดว่าคงจะต้องอยู่ตรงนี้ไปอีกสักพักหนึ่ง เพราะว่าถ้าหยุดทำงานแล้วเดี๋ยวกลัวจะเฉา

วีรศักดิ์ นิลกลัด กล่าวทิ้งท้าย

อ่านเพิ่มเติม : ฟุตบอลโลกในความทรงจำ “แอ๊ดดี้” วีรศักดิ์ นิลกลัด

เด็กฝั่งธนฯ ที่บ้านเลี้ยงแมว 2 ตัว เชียร์ทีมชาติไทย ชอบสะสมหุ่นจำลอง แต่ยังไม่ได้แกะออกมาจากกล่องสักที!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก