“คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าส่งไป 10 คนมันจะได้ 10 คน อะไรเป็นตัวชี้วัด คุณไม่ได้เป็นคนกำหนดเกม รัฐบาลไม่ได้เป็นคนกำหนดเกมตลาดโมเดลลิ่ง คนกำหนดเกมตัวจริงคือ แฟชั่นดีไซน์ระดับโลก โมเดลลิ่งระดับโลก หรือแม้แต่แบรนด์ระดับโลกเป็นผู้กำหนด เสื้อผ้าที่เราใส่กันทุกวันนี้แบรนด์ระดับโลกเป็นผู้กำหนดทั้งนั้น”

“รัฐบาลควรสร้าง Ecosystem ขึ้นมาแล้วดึงผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้เรื่องนี้ไปทำ โดยมีรัฐบาลทำหน้าที่สนับสนุน ต้องทำจริงจังกว่านี้เหมือนกับที่อยากจะผลักดันซอฟต์พาวเวอร์วงการภาพยนตร์ ไปดูว่าธุรกิจแฟชั่นขาดอะไรที่รัฐบาลควรไปเติม หรือขาดอะไรที่รัฐบาลจะช่วยเชื่อมต่อให้ไปสู่ระดับโลกได้ อันนี้เป็นหน้าที่ที่สำคัญของรัฐบาล”

แมว-ประกิต กอบกิจวัฒนา ศิลปินและครีเอทีฟโฆษณา ให้สัมภาษณ์ในรายการ The Politics ทางช่องมติชนทีวี ถึงกรณีที่รัฐบาลไทยเชิญ นาโอมิ แคมป์เบลล์ นางแบบระดับโลก มาหารือเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ แนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่น และเป็นที่ปรึกษาปั้นเด็กไทยเป็นนางแบบระดับโลก เห็นว่าการเชิญนาโอมิ แคมป์เบลล์ อาจจะผิดฝาผิดฝั่งเพราะหากต้องการจะผลักดันแฟชั่นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และมันยังไม่ได้ถูกพูดถึงว่าวันนี้อุตสาหกรรมแฟชั่นพวกสินค้าหรู (luxury) ในโลกนี้ตอนนี้เป็นธุรกิจขาลง ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะทำเรื่องแฟชั่นมันต้องมาตั้งโจทย์ก่อนว่าธุรกิจแฟชั่นเราจะไปอยู่ตรงไหนในโลกใบนี้

เทรนด์การเลือกนางแบบโลก

แมว-ประกิต กอบกิจวัฒนา

ส่วนตลาดนางแบบมันไม่ได้ถูกกำหนดโดยรัฐ มันต้องมีดีมานด์หรือเทรนด์การเลือกนางแบบในโลกว่าเขากำลังไปทางไหน แล้วเราตอบสนองเทรนด์นั้นได้หรือเปล่า สินค้าแบรนด์เนมต่างๆ เขาเป็นคนกำหนดสเปคนางแบบและเป็นผู้กำหนดเทรนด์เอง เขารู้ว่าปีหน้าเขาจะใช้นางแบบประเภทไหน เทรนด์ไปทางเอเชียหรือไปทางผิวสี ถ้าเราดูท็อปโมเดลลิ่งส่วนใหญ่เขาจะเป็นคนกำหนดเทรนด์ สิ่งสำคัญอีกข้อคือเรื่องทางกายภาพ (physical) เวลาที่คุณจะไปเป็นนางแบบระดับโลกมันมีกฎเกณฑ์อะไรอีกเยอะแยะ เช่น ความสูง การสื่อสารและภาษา การที่คุณจะแบ่งตลาดนี้จึงไม่แน่ใจว่าเราในฐานะของรัฐควรไปทำหรือไม่? และคิดว่ามีผู้ประกอบการหลายเจ้าในประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้ เราควรดึงเขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งหรือไม่ หรือลองเรียกผู้ประกอบการมาพูดคุยถ้าอยากจะผลักดันเรื่องนี้ แล้วมาดูว่าธุรกิจโมเดลลิ่งไทยมีขนาดเท่าไร เราแข่งขันในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้หรือไม่ แล้วเราจะไประดับโลกอย่างไร ในตลาดโลกใครเป็นเจ้าตลาด เราจะส่งคนไปอยู่ในโมเดลลิ่งเอเจนซี่ระดับโลกเพื่อเรียนรู้งานอย่างไร นาโอมิ แคมป์เบลล์ คนเดียวจะช่วยเราได้ไหม รัฐควรจะสนับสนุนผู้ประกอบของไทยเหล่านี้ สร้าง Ecosystem ของมันหรือไปดูว่ายังขาดอะไรต้องการแรงสนับสนุนตรงไหน

ปัจจุบันการหานางแบบเท่าที่รู้คือโมเดลลิ่งจะไปหานางแบบตามอินสตาแกรม เขาเรียก instagirls ซูเปอร์โมเดลทั้งหลายส่วนหนึ่งเกิดมาจากโลกโซเชียล เมื่อก่อนโมเดลลิ่งเอเจนอาจจะมีอิทธิพลต่อการเลือกนางแบบ แต่ปัจจุบันนางแบบ instagirls มีผู้ติดตามเป็นล้านคน เพราะฉะนั้นเขาจะมีอิทธิพลต่อแบรนด์สินค้ามากๆ จะเห็นว่าโมเดลการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่เหมือนกัน แต่ก่อนแบรนด์สินค้าเป็นผู้เลือกนางแบบ แต่ปัจจุบันนางแบบมีสิทธิ์จะเลือกได้เพราะมีฐานผู้ติดตามอยู่ในมือ เพราะฉะนั้นแบรนด์สินค้าเองจึงต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน

อย่างที่เราเห็นแบรนด์สินค้าหันไปใช้นักดนตรีมาเป็นพรีเซนเตอร์ เช่น ลิซ่า , จีซู หรือแม้แต่ศิลปินบางคนที่ดังมากๆ ก็สร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาด้วยซ้ำ เพราะโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว วันนี้อาจต้องทบทวนใหม่ว่าธุรกิจแฟชั่นของไทยอยู่ตรงไหน เรามีส่วนแบ่งในตลาดโลกตรงไหน เรามีแบรนด์ของคนไทยในระดับโลกหรือยัง สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่รัฐบาลต้องผลักดันเยอะมากๆ ถ้าจะใช้ ‘นาโอมิ แคมป์เบลล์’ ในการตีปี๊บหรือคิกออฟอะไรก็แล้วแต่ ความจริงแล้วยังต้องคุยกับอีกหลายคนเลย อาจต้องไปเชิญอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอิทธิพลต่อโลกแฟชั่นมาเป็นที่ปรึกษามากกว่าที่จะมีแค่ นาโอมิ แคมป์เบลล์

นาโอมิ แคมป์เบลล์ พบนายกรัฐมนตรี
นาโอมิ แคมป์เบลล์ พบนายกรัฐมนตรี

มุมมืดวงการนางแบบ

แมว-ประกิต ยังยกตัวอย่างกรณี ‘รจนา เพชรกันหา’ หรือ ‘เมทินี กิ่งโพยม’ ที่เคยขึ้นเวทีนางแบบระดับโลก ว่าถ้าใครรู้ประวัติความเป็นมาจริงๆ รจนา ได้รับการทาบทามจากโมเดลลิ่งต่างชาติ ตอนนั้นนั่งกินส้มตำอยู่แล้วโมเดลลิ่งต่างชาติมาเห็นแล้วชวนไป แต่ว่าก็เป็น sad story เพราะว่าเป็นซูเปอร์สตาร์ในชั่วข้ามคืนเงินทองไหลมา และการใช้ชีวิตนางแบบไม่ใช่เรื่องง่าย เหมือนกับคุณเป็นนักฟุตบอลอาชีพ มันต้องมีความเป็นมืออาชีพ ต้องรู้จักดูแลตัวเองให้ดี ถ้าพูดกันตรงๆ วงการนางแบบจริงๆ เป็นวงการที่มีเรื่องเสื่อมเสียการใช้แรงงานกดขี่ มันมีมุมมืดของมันอีกหลายเรื่อง มันไม่ใช่แค่ฉากที่เห็นข้างหน้า การต้องอดอาหาร การกดขี่ สิ่งเหล่านี้เราไม่ได้พูดถึง ถ้าพูดว่าเพราะได้เงินดีจึงส่งไป มันไม่ได้เป็นแบบนั้นทุกคน

“คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าส่งไป 10 คนมันจะได้ 10 คน อะไรเป็นตัวชี้วัด คุณไม่ได้เป็นคนกำหนดเกม รัฐบาลไม่ได้เป็นคนกำหนดเกมตลาดโมเดลลิ่ง คนกำหนดเกมตัวจริงคือ แฟชั่นดีไซน์ระดับโลก โมเดลลิ่งระดับโลก หรือแม้แต่แบรนด์ระดับโลกเป็นผู้กำหนด เสื้อผ้าที่เราใส่กันทุกวันนี้แบรนด์ระดับโลกเป็นผู้กำหนดทั้งนั้น ปีนี้น่าจะเป็นแบบนี้นะ ต้องหน้าเก๋ๆ ผิวสีแบบนี้ แม้กระทั่งเสื้อผ้าที่เราใส่ทำไมปีนี้ต้องพลาสติกมากขึ้นเพราะทุกอย่างมาจากมาร์เก็ตติ้ง มันพูดลอยไม่ได้ๆ คุณต้องมีโจทย์ให้ชัดก่อนว่าสิ่งที่รัฐบาลนี้จะขับเคลื่อนในเรื่องธุรกิจแฟชั่นหรือโมเดลลิ่งต้องมาดูว่าเราจะอยู่ตรงไหน คุณต้องมีธงปักในโลกนี้ว่าจะไปยืนตรงไหนของตลาด จากนั้นค่อยมาหาทางไปเพราะต่อให้คุณส่งไปแล้วมันตอบสนองกับโลกไหม”

แมว-ประกิต เห็นว่ารัฐบาลควรสร้าง Ecosystem ขึ้นมาแล้วดึงผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้เรื่องนี้ไปทำ โดยมีรัฐบาลทำหน้าที่สนับสนุน ต้องทำจริงจังกว่านี้เหมือนกับที่อยากจะผลักดันซอฟต์พาวเวอร์วงการภาพยนตร์ ไปดูว่าธุรกิจแฟชั่นขาดอะไรที่รัฐบาลควรไปเติม หรือขาดอะไรที่รัฐบาลจะช่วยเชื่อมต่อให้ไปสู่ระดับโลกได้ อันนี้เป็นหน้าที่ที่สำคัญของรัฐบาล สามารถพาผู้ประกอบการไทยตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ตั้งแต่วัตถุดิบ ไปถึงแฟชั่นดีไซน์เนอร์ หรือจะมีนางแบบพ่วงไปด้วย มันต้องไปพร้อมกันทั้งหมด ผลสุดท้ายมันจะนำมาสู่เรื่องเศรษฐกิจของประเทศไม่ว่าจะการจ้างงาน หรือการไปสร้างชื่อเสียงระดับโลกมันถึงจะเกิด อีกอย่างคือเราต้องลดความเป็นไทยลงบ้าง เราติดกับดักเรื่องผ้าไหมกันเยอะ ถ้าเราจะไประดับโลกต้องมีความคิดที่เป็นสากลร่วมสมัยไปกับเขาด้วย การที่ยึดติดกับตัวตนของเรามันก็เป็นกับดักของเราอันหนึ่ง ถ้าเราปรับตัวเองคนไทยสามารถขึ้นไปแข่งขันได้ในเชิงความคิด ซึ่งมันสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างงานจำนวนมากให้คนไทย

FEED พาย้อนกลับไปในปี 2544 กระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร มีแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ 5 ด้าน ได้แก่ อาหาร แฟชั่น ยานยนตร์ ซอฟต์แวร์ และ ท่องเที่ยว แต่ที่โดดเด่นน่าจับตามองมีอยู่ 3 โครงการ คือ ศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งเอเชีย (ดีทรอยต์แห่งเอเชีย), โครงการครัวไทยสู่โลก และ โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น

หัวใจของโครงการ กรุงเทพเมืองแฟชั่น

1. สร้างบุคลากร พัฒนากิจการด้านแฟชั่น สร้างไทยดีไซน์เนอร์ให้มีศักยภาพระดับโลก

2. สร้างธุรกิจ ยกระดับความสามารถในการผลิต เชื่อมต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านแฟชั่นในระยะยาว

3. สร้างเมือง สร้างภาพพจน์ ว่ากรุงเทพฯ อยู่ในระนาบเดียวกันกับ มิลาน โตเกียว และฮ่องกง ในเวลานั้น เป็นหนึ่งในผู้นำแฟชั่นของภูมิภาค มีการจัดแฟชั่นโชว์ให้เป็นเทศกาลประจำปี

ในวันที่ 12 และ 15 กุมภาพันธ์ 2544 รัฐบาลได้จัดงานใหญ่ถึง 2 งาน เพื่อเป็นการประกาศจุดเริ่มต้นของกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น มีการตั้งงบประมาณไว้กว่า 1,800 ล้านบาท แต่ในที่สุดโครงการดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จ โดยทางเพื่อไทยให้เหตุไว้ว่ามันเกิดจากการรัฐประหารเมื่อปี 2549 ทำให้โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นถูกทำลายลง แต่อีกด้านหนึ่งก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเป็นได้ของโครงการและความคุ้มค่า

ต่อมาในปี 2555 ในสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นเมืองแฟชั่นในระดับสากลเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยที่กำลังประสบปัญหาต้นทุนสูงโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ได้นำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น มาสานต่อ ก่อนที่โครงการเงียบหายไปอีกครั้งหนึ่ง

ทำความรู้จัก นาโอมิ แคมป์เบลล์

นาโอมิ แคมป์เบลล์
นาโอมิ แคมป์เบลล์

สำหรับ นาโอมิ แคมป์เบลล์ ซูเปอร์โมเดลระดับโลก อนาคตว่าที่ที่ปรึกษารัฐบาลไทยด้านซอฟต์พาวเวอร์ เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม 1970 เธอเป็นลูกครึ่งอังกฤษ-จาเมกา เริ่มต้นวงการด้วยอายุ 8 ขวบ ปรากฏตัวครั้งแรกในมิวสิกวิดีโอเพลง “Is This Love” ของบ็อบ มาร์เลย์ ในปี 1978 และเข้าสู่วงการเต้นตั้งแต่อายุ 3-16 ปี ก่อนจะถูกพบโดยเบท โบลด์ แมวมองจาก Synchro Model Agency เป็นที่มาของการขึ้นปก British Elle และเป็นจุดเริ่มต้นของความโด่งดังในวงการนางแบบ ก่อนที่จะมีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะนางแบบ เป็นไอดอลของเด็กสาวแทบทุกคน และเป็นนางแบบที่ทุกแบรนด์ต้องการ

จนในปี 1998 นาโอมิ แคมป์เบลล์ ปลดระวางตัวเองจากการเดินแบบ และกลับมาเฉิดฉายในวงการนางแบบอีกครั้งในปี 2007 ในงานเดินแบบให้ครบรอบ 16 ปีของ Dior รวมถึงถ่ายแบบให้กับ Vanity Fair นิตยสารรายเดือนของอเมริกาเกี่ยวกับวัฒนธรรมสมัยนิยม แฟชั่นและเหตุการณ์ปัจจุบัน ในฉบับตำนานซูเปอร์โมเดล

ที่ผ่านมา นาโอมิ แคมป์เบลล์ มีผลงานมากมาย ขึ้นปกนิตยสารมากกว่า 500 เล่ม และร่วมแคมเปญกับแบรนด์ดังระดับโลก และยังเป็นหนึ่งในผู้สร้างและ Executive Producer ของรายการ “The Face UK” ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นต้นฉบับที่ออกอากาศครั้งแรกในปี 2013 ทางช่อง Sky Living ในประเทศอังกฤษ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก