ในประเทศเกาหลี หากคุณคว้าเหรียญโอลิมปิกว่าจะเหรียญใดก็ตาม อภิสิทธิ์หนึ่งที่จะได้รับจากรัฐ คือการลดหย่อนการเข้ากรม จากที่ต้องไปเป็นทหารนาน 18-21 เดือน จะเหลือเพียง 4 สัปดาห์เท่านั้น 

ในประเทศไทย นอกจากเงินรางวัลอัดฉีดจากหน่วยงานรัฐและเอกชนที่หลั่งไหลสู่นักกีฬา พร้อมสถานะฮีโร่ผู้ทำคุณแก่ของประเทศ คือการได้รับโอกาส ‘ติดยศ’ (ไม่ใช่ทุกคนที่ได้เหรียญ) เป็นข้าราชการในสังกัดต่างๆ ไม่ว่าจะกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ หรือกรมตำรวจ 

จากจำนวนนักกีฬาไทยที่คว้าเหรียญโอลิมปิกกลับบ้านได้ทั้งสิ้น 36 คน รวม 41 เหรียญ เราพบว่า มีนักกีฬา 23 คน ได้เข้ารับการติดยศในสังกัดต่างๆ ดังนี้

กองทัพบก 

  1. สิบเอก อาคม เฉ่งไล่  เหรียญทองแดง มวยสากลสมัครเล่นรุ่นเวลเตอร์เวต ปี 1992 
  2. ร้อยเอก ปวีณา ทองสุก เหรียญทอง ยกน้ำหนัก รุ่น 75 กก.หญิง ปี 2004 (เลื่อนจากยศร้อยตรี)
  3. พันโทอุดมพร พลศักดิ์ เหรียญทอง ยกน้ำหนัก รุ่น 53 กก. หญิง ปี 2004 (เลื่อนจากยศพันตรี)
  4. ร้อยตรี วรพจน์ เพชรขุ้ม เหรียญเงิน มวยสากลสมัครเล่น รุ่นแบนตั้มเวท ปี 2004 (เลื่อนจากจ่าสิบตำรวจ)
  5. จ่าสิบเอก สุริยา ปราสาทหินพิมาย เหรียญทองแดง มวยสากลสมัครเล่น รุ่นมิดเดิ้ลเวต ปี 2004 
  6. พันตรี ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล เหรียญทอง ยกน้ำหนัก รุ่น 53 กก.หญิง ปี 2008 
  7. พันโท สมจิตร จงจอหอ เหรียญทอง มวยสากลสมัครเล่น รุ่นฟลายเวท ปี 2008  (เลื่อนจากพันตรี)
  8. ร้อยโท พิมศิริ ศิริแก้ว เหรียญเงิน ยกน้ำหนัก รุ่น 58 กก.หญิง ปี 2012 และปี 2016
  9. ร้อยโท แก้ว พงษ์ประยูร เหรียญเงิน มวยสากลสมัครเล่น รุ่นไลท์ฟลายเวท (เลื่อนจากร้อยตรี)
  10. ร้อยเอก โสภิตา ธนสาร เหรียญทอง ยกน้ำหนัก รุ่น 48 กก.หญิง ปี 2016 (เลื่อนจากร้อยตรี)

กองทัพเรือ 

  1. เรือตรี สมรักษ์ คำสิงห์ เหรียญทอง มวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท ปี 1996 (เลื่อนจากพันจ่าเอก)
  2. นาวาโท เกษราภรณ์ สุตา เหรียญทองแดง ยกน้ำหนัก ปี 2000 
  3. เรือเอก พรชัย ทองบุราณ เหรียญทองแดง มวยสากลสมัครเล่น รุ่นไลท์มิดเดิลเวท ปี 2000 
  4. นาวาโท อารีย์ วิรัฐถาวร เหรียญทองแดง ยกน้ำหนัก รุ่น 48 กก.หญิง ปี 2004 (เลื่อนจากนาวาตรี)
  5. เรือเอก วันดี คำเอี่ยม เหรียญทองแดง ยกน้ำหนัก รุ่น 58 กก.หญิง ปี 2004 และปี 2008
  6. เรือตรี สุดาพร สีสอนดี เหรียญทองแดง มวยสากล รุ่นไลต์เวท 60 กก.หญิง ปี 2020 

กองทัพอากาศ

  1. นาวาอากาศเอก วิชัย ราชานนท์ เหรียญทองแดง มวยสากลสมัครเล่น รุ่นแบนตั้มเวท ปี 1996 
  2. เรืออากาศเอก ชนาธิป ซ้อนขำ เหรียญทองแดง เทควันโด รุ่น 49 กก.หญิง ปี 2012 (ยศแรก-จ่าอากาศตรี)
  3. เรืออากาศโท พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ เหรีญทองแดง เทควันโด รุ่น 49 กก.หญิง ปี 2016 และเหรียญทองในปี 2020 และ 2024 (ยศแรก – เรืออากาศตรี)
  4. จ่าอากาศตรี จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง เหรียญทองแดง มวยสากล รุ่น 66 กก.หญิง ปี 2024 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  1. ร้อยตำรวจเอก พเยาว์ พูนธรัตน์ เหรียญทองแดง มวยสากลสมัครเล่น รุ่นไลท์ฟลายเวท ปี 1976
  2. พันตำรวจโท วิจารณ์ พลฤทธิ์ เหรียญทอง มวยสากลสมัครเล่น รุ่นฟลายเวท ปี 2000
  3. จ่าสิบตำรวจ มนัส บุญจำนงค์ เหรียญทอง มวยสากลสมัครเล่น รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท ปี 2004 (20 ปี ไม่ได้เลื่อนยศ)
  4. สิบตำรวจโท กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เหรียญเงิน แบดมินตัน ชายเดี่ยว ปี 2024 (เป็นตำรวจก่อนไปโอลิมปิก )

นอกจากยศในสังกัดต่างๆ ของกองทัพ นักกีฬาเหรียญโอลิมปิกยังมีเงินอัดฉีดในจำนวนที่ลดหลั่นกันไปตามสีของเหรียญ โดยในปี 2024 กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ การกีฬาแห่งประเทศไทย (NSDF) ได้วางเกณฑ์ไว้ดังนี้ 

เหรียญทอง

  • รับเงินรางวัล 10 ล้านบาท (จ่ายครั้งเดียว) 
  • รับเงินรางวัล 12 ล้านบาท (แบ่งจ่าย) โดยรับก่อน 50% และที่เหลืออีก 50% จะจ่ายรายเดือนในเวลา 4 ปี 

เหรียญเงิน

  • รับเงินรางวัล 6 ล้านบาท (จ่ายครั้งเดียว) 
  • รับเงินรางวัล 7.2 ล้านบาท (แบ่งจ่าย) โดยรับก่อน 50% และที่เหลืออีก 50% จะจ่ายรายเดือนในเวลา 4 ปี 

เหรียญทองแดง 

  • รับเงินรางวัล 4 ล้านบาท (จ่ายครั้งเดียว) 
  • รับเงินรางวัล 4.8 ล้านบาท (แบ่งจ่าย) โดยรับก่อน 50% และที่เหลืออีก 50% จะจ่ายรายเดือนในเวลา 4 ปี 

ยังไม่รวมเงินจากคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่มอบเงินเดือนให้กับผู้ที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิก เดือนละ 12,000 บาท ส่วนเหรียญเงิน ได้รับเดือน 10,000 บาท และเหรีญทองแดง ได้รับเงินเดือน 8,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี ตั้งแต่คว้าเหรียญอีกด้วย

นอกจากนั้น ยังมีเงินอัดฉีดจากภาคเอกชนต่างๆ ทั้งที่เปิดเผยและไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ อย่างในปี 1996 สมรักษ์ คำสิงห์ คว้าเหรียญทอง มวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท และได้รับเงินอัดฉีดจากสมาคมฯ 10 ล้านบาท หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 10 ล้าน และอื่นๆ ที่ไม่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ โดยสมรักษ์เคยให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘สะแตกแดกตับ’ เขาได้แบ่งเงินรางวัลทั้งหมดที่ได้ให้ทีมงาน 50 เปอร์เซ็นต์ โดยขณะนั้น เขามีเงินเหลือหลังแบ่งแล้วราว 21 ล้านบาท เราจึงอนุมานได้ว่า เงินรางวัลอัดทั้งสินของสมรักษ์มีมูลค่ากว่า 40 ล้านบาทเลยทีเดียว 

อย่างไรก็ดี ภาพนักกีฬาที่ทยอยติดยศหลังคว้าเหรียญในรายการระดับโลก ถือเป็นภาพที่คนไทยชินตาเป็นอย่างดี และเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่า กีฬาไทยผูกติดกับอำนาจส่วนกลางและระบบราชการมายาวนาน อีกทั้งสถานะของนักกีฬา ก็เปรียบเสมือนนักรบในยุคสมัยใหม่ที่ถูกส่งไปสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศและองค์กร ซึ่งในอีกด้าน อาชีพนักกีฬาก็ใช่ว่าจะมั่นคง แถมมีช่วงเวลาหารายได้ที่สั้น พูดง่ายๆ ว่า มีช่วงพีคไม่ยาวนานเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ อีกทั้งอาชีพนักกีฬาก็ไม่ได้มีสวัสดิการรองรับหลังเลิกเล่นมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อย่าง เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ หรือฟินแลนด์  นักกีฬาไทยส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะรับโอกาส ‘ติดยศ’ ไปจนถึง ‘ร้องขอ’ การติดยศ เพื่อการันตีเงินเดือนที่มั่นคง โดยเฉพาะกลุ่มนักกีฬาที่ไม่มีรายได้ประจำหรือเงินรายเดือนรายปีที่ชัดเจน 

แต่ถึงอย่างนั้น นักกีฬาจำนวนหนึ่งก็พบว่า แม้พวกเขาจะเป็นฮีโร่สร้างชื่อเสียงให้ปะเทศในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ชั้นยศที่ได้รับก็ไม่มีความเท่าเทียมยุติธรรม อาทิเช่น วรพจน์ เพชรขุ้ม คว้าเหรียญเงิน มวยสากลสมัครเล่น รุ่นแบนตั้มเวท ปี 2004 และได้ติดยศจ่าสิบตำรวจ (ยศตำรวจชั้นประทวน) และไม่เคยได้เลื่อนยศตลอด 23 ปี เรื่องนี้กลายเป็นกระแสจากกรณี ร.ต.อ.หญิง แคท อาทิติยา เบ็ญจะปัก ที่สามารถเลื่อนเลื่อนขั้น 8 ชั้นยศ แบบก้าวกระโดดโดยใช้เวลาแค่ 4 ปี และหลังเป็นข่าว  วรพจน์ จึงได้รับพิจารณาเลื่อนยศสัญญาบัตร ก่อนจะเป็นร้อยตรี ในปัจจุบัน 

ในปัจจุบัน ระบบอุปถัมป์นักกีฬาเช่นนี้ถูกตั้งคำถามมากขึ้นจากสังคม ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่ควรรับยศ แต่ลึกลงไปในปรากฎการณ์นี้ คือ ‘โอกาสต่างๆ’ ควรได้รับให้สมกับความเหนื่อยยากกว่าจะได้เหรียญแต่ละเหรียญมานั้น กลับอยู่ในกำมือของอำนาจส่วนกลางอย่างไม่มีทางเลือก

อ้างอิง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก