การนอนหลับ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เกิดการฟื้นฟูการทำงานของร่างกาย, สารเคมีในร่างกาย, สารสื่อประสาท ให้เกิดสมดุลที่ปกติ ดังนั้นคนที่นอนหลับง่าย ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง ทว่าอย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ นี่อาจไม่ใช่ความโชคดีอย่างที่คิด เพราะหากนอนมากไป อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกาย

รู้จัก โรคนอนเกิน” (Hypersomnia) ภาวะนอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา พร้อมวิธีปรับพฤติกรรม ให้นอนหลับอย่างสุขภาพดี

โรคนอนเกิน คืออะไร ?

โรคนอนเกิน (Hypersomnia) คือ โรคที่หลับเกินพอดี ขี้เซา นอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา งีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง แม้แต่ในเวลากินข้าว หรือพูดคุยกับคนอื่นก็ยังหลับได้ มีการนอนที่นานเกิน 8 ชั่วโมง

ที่สำคัญโรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกาย หรือทางใจ ต้องรีบพบแพทย์

สัญญาณอันตราย ของ “โรคนอนเกิน”

  • ตื่นนอนยาก ขี้เซามาก
  • นอนเท่าไรก็ไม่พอ รู้สึกง่วงเพลียตลอดเวลา
  • ต้องการงีบนอนวันละหลาย ๆ ครั้ง
  • หากมีอาการหนักมาก อาจงีบหลับได้ในสถานการณ์ที่ไม่ควรหลับ เช่น ทานข้าว อยู่ในวงสนทนาที่เสียงดัง ระหว่างทำงาน
  • หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายกับเรื่องเล็กน้อย
  • ความจำไม่ค่อยดี สมองไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือคิดช้าทำช้า
  • วิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้า

ต้นเหตุการนอนไม่พอ

  • อดนอนมาเป็นเวลานาน และบ่อย ๆ จนร่างกายพักผ่อนไม่พอ ทำให้นอนเท่าไรก็ไม่รู้จักพอสักที
  • นาฬิกาชีวภาพในร่างกายแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น เดินทางข้ามประเทศที่ต่างช่วงเวลากันมาก
  • ฮอร์โมนในร่างกาย หรือสารเคมีในสมองไม่ปกติ ทำให้ร่างกานนอนมากผิดปกติ
  • นอนกรน มีภาวะการหยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่พอ
  • เนื้องอกในสมอง และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้อยากนอนตลอดเวลา

ผลเสียจากการนอนมากเกินไป

  • สมองทำงานช้า’ เมื่อสมองทำงานช้า ความคิดความอ่านก็จะช้า รู้สึกเฉื่อยชา กลายเป็นคนไร้เรี่ยวแรง ไม่มีชีวิตชีวา ไม่อยากขยับร่างกาย ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อไม่ค่อยถูกใช้งาน ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกได้
  • อ้วนง่าย’ การนอนจะทำให้ระบบอาหารไม่ย่อย แม้จะกินน้อยแต่ระบบเผาผลาญไม่ทำงาน ร่างกายเริ่มสะสมไขมัน ซึ่งก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน
  • มีบุตรยาก’ ผลจากการศึกษาผู้หญิงเกาหลีใต้ ในปี 2013 พบว่าผู้ที่นอนนานเกินวันละ 9 ชั่วโมงต่อวัน จะเกิด ‘ภาวะมีบุตรยาก’ กว่าคนที่นอน 7-8 ชั่วโมง ถึง 650 คน เพราะฮอร์โมนและรอบเดือนของผู้หญิงจะเป็นปกติก็ต่อเมื่อได้รับการพักผ่อนอย่างพอดี
  • ตายเร็ว’ คนที่หลับง่ายและนอนนาน ๆ จะไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ส่งผลให้ออกซิเจนไม่ไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่นอนอย่างพอดีถึง 1.3%
  • ‘โรคซึมเศร้า’ ในปี 2012 ได้มีการศึกษาผู้หญิงสูงวัยที่นอนมากกว่า 9 ชั่วโมง นั้นจะมีอารมณ์แปรปรวน สมองทำงานแย่ลงเพราะสารแห่งความสุขจะผลิตน้อยลง ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่นอนปกติถึง 49%

วิธีแก้อาการนอนมากเกินไปก็มีหลายวิธี เช่น

  • เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน เมื่อตื่นแล้วให้ลุกจากเตียงเลย อย่าต่อเวลานอนออกไปอีก
  • หากิจกรรมก่อนนอนง่าย ๆ เช่น อ่านหนังสือดี ๆ สักเล่ม หวีผมเพื่อให้คุณได้ปรับตัว
  • หาอะไรรองท้องก่อนนอน เพราะกินอิ่มก็จะนอนหลับสบายขึ้น เช่น นมอุ่น ๆ สักแก้ว เพราะถ้าคุณหลับสบาย ตื่นขึ้นมาก็จะสดชื่น
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และงดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนทุกชนิด
  • อย่ากลัวนอนไม่กล้านอน เพราะอาจทำให้คุณเครียด และกังวลจนนอนไม่หลับ และอาจทำให้นอนนานกว่าเดิม ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพทั้งคู่

การที่จะห่างไกลจากโรคนอนเกินนั้น นอกจากวิธีแก้แล้วก็ควรจะหาวิธีการนอนที่ดีและปรับให้ร่างกายชินกับการนอนที่ถูกต้อง เพื่อผลที่ดีในระยะยาว

โดย การนอนที่ดี มีดังนี้

  • นอนวันละ 6-8 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ควรมากหรือน้อยกว่านี้ ควรนอนและตื่นให้ตรงเวลา ไม่ควรเข้านอนเกิน 4 ทุ่ม และตื่นตี 5-6 โมงเช้า จะทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
  • อาบน้ำก่อนนอนทุกครั้ง ไม่ว่าจะเหนื่อยแสนเหนื่อยแค่ไหนก็ควรทำให้ร่างกายสะอาดก่อนนอน เพราะมันจะทำให้เรานอนสบายเนื้อสบายตัวขึ้น
  • นอนตอนกลางคืน อย่าเป็นนกฮูกที่กลางคืนตื่น กลางวันหลับ หรือถ้าอยากงีบกลางวันก็ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้กลางคืนเรานอนไม่หลับ และจบลงด้วยการนอนนานขึ้นกว่าเดิม
  • ทำนาฬิกาชีวิตให้เป็นระเบียบ ทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันให้เป็นแบบเป็นแผน ตรงเวลาและสม่ำเสมอ เพราะเมื่อทุกอย่างเป็นระบบระเบียบ สุขภาพกายและสุขภาพใจก็จะดีขึ้น
  • ไม่ควรใช้ยานอนหลับ หากมีอาการนอนไม่หลับควรปรับวิธีการนอนด้วยตัวเอง เพราะการใช้ยาเป็นประจำจะทำให้เกิดการดื้อยา และเมื่อกินไปมาก ๆ เข้าก็จะส่งผลถึงตับได้ และในรายที่นอนมากเกินก็เช่นกัน เพราะยาจะไปกระตุ้นประสาทให้คุณไม่หลับ ทำให้อาจเกิดประสาทหลอนได้

ที่มา : กรมสุขภาพจิต

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก