อย่างที่เราทราบกันดีว่า SEO (Search Engine Optimization) เป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของคุณได้อย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ แต่การทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกอย่างจะต้องถูกปรับแต่งให้ตรงกับมาตรฐานของ Google ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ On-Page SEO, Off-Page SEO หรือ Technical SEO ก็ตาม
สำหรับใครที่ทำ SEO ด้วยตัวเองมานานแล้ว ทำยังไงเว็บไซต์ก็ยังไม่ติดอันดับบน Google สักที หรือติดแล้วแต่ยังไม่ใช่ตำแหน่งที่ต้องการ ไม่แน่ว่าบางทีคุณอาจจะกำลังทำ SEO ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องอยู่ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามลองมาเรียนรู้เทคนิคการทำ On-Page SEO ฉบับแองก้า (ANGA) และนำไปปรับใช้กันดีกว่า!
หากถามว่า แองก้าคือใคร? แองก้าเป็นดิจิทัลเอเจนซี่ด้านการตลาดออนไลน์ที่รับทำ SEO โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (SEO Specialist) ที่มากด้วยประสบการณ์ ที่อยู่เบื้องหลังการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าแรกมาแล้วกว่า 200 เว็บไซต์ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาแชร์เทคนิคลับจากเอเจนซี่เจ้าดังในการทำ On-Page SEO มาฝากกัน ถ้าคุณอยากรู้แล้วเราไปติดตามอ่านกันได้เลย”
On-Page SEO คืออะไร? (H2)
On-Page SEO คือ การปรับแต่งองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เพื่อช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหา (Search Engine Result Page – SERP) ได้ดีขึ้นตามไปด้วย และสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งานได้ หรือกล่าวง่าย ๆ ว่าเป็นการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ของคุณให้ “สวย” และ “ใช้งานง่าย” ในสายตา Google และผู้ใช้งาน อาทิ เรื่องของ เนื้อหา, โครงสร้างเว็บไซต์, คีย์เวิร์ด, รูปภาพ, ลิงก์ และความเร็วในการโหลด รวมไปถึงการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ใช้งานบนมือถือได้สะดวกด้วย
แชร์ 8 เทคนิคทำ On-Page SEO จากแองก้า
เทคนิคการทำ On-Page SEO จากเอเจนซี่จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงทำให้บทความและเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าแรกได้นับไม่ถ้วน ไปติดตามชมกันเลยดีกว่า!
1. URL friendly
URL ของหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้าจะต้องสื่อความหมายไปในทางเดียวกันกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าหน้าดังกล่าวให้ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ซึ่งองค์ประกอบของ URL friendly ที่ดีคือมีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง, สั้น, กระชับ และสื่อความหมายตรงกับเนื้อหา
2. Content
นอกจากเนื้อหาที่ดีและมีคุณภาพจะทำให้ Google ชอบและนำไปจัดอันดับในตำแหน่งดี ๆ ได้แล้ว ยังช่วยให้ธุรกิจของคุณดูน่าเชื่อถือและดูมีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ ในสายตาของกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย ซึ่งเนื้อหาที่ดีจะต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจและสินค้าของคุณ, มีการเขียนด้วยหลักการ E-E-A-T, มีการสอดแทรกคีย์เวิร์ดอย่างเหมาะสม, เขียนยาวแต่ไม่วกวน, ตอบสิ่งที่คนค้นหาอยากรู้ได้ และครอบคลุมที่สุด
3. Keyword
คีย์เวิร์ดเป็นคำหรือวลีที่คนใช้ในการค้นหาบน Google เพื่อให้ได้รู้คำตอบของสิ่งที่ต้องการ ซึ่งเจ้าคีย์เวิร์ดนี่เองที่จะทำให้ Google รู้ว่าควรนำบทความไหนไปจัดอันดับและแสดงให้คนที่ค้นหาดูบ้าง แนะนำให้เลือกคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณ, มีปริมาณการค้นหา (Search Volume) ที่เหมาะสม, เป็นคำที่กลุ่มเป้าหมายของคุณใช้ค้นหาจริง และนำไปเขียนคอนเทนต์ให้ตรงกับ Search Intent ของผู้ค้นหา
4. Image Optimization
Image Optimization เป็นการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ Google เข้าใจว่ารูปภาพนั้นสื่อถึงอะไร และยังช่วยให้รูปภาพนั้นมีโอกาสติด Google Images ได้อีกด้วย เช่น การตั้งชื่อไฟล์รูปด้วยคีย์เวิร์ดก่อนอัปโหลดลงบนเว็บไซต์, การกำหนด Alt Text และ Title Text ของรูป หรือการเปลี่ยนสกุลของภาพให้เป็น WebP เป็นต้น
5. Meta Tags
Meta Tags คือข้อความที่ฝังอยู่ในโค้ด HTML ของเว็บเพจ ทำหน้าที่อธิบายเนื้อหาของหน้าเว็บให้ Google เข้าใจ โดยจะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ Meta Title (ข้อความสั้นที่ปรากฏบนหน้าการค้นหา เปรียบเสมือนหัวข้อบทความ ควรเขียนให้ดึงดูดใจและน่าคลิกเข้าไปอ่านต่อ) และ Meta Description (ข้อความยาวที่อยู่ใต้ Meta Title ทำหน้าที่อธิบาย ขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาของหน้าเว็บ ควรเขียนให้ชัดเจน กระชับ และตรงประเด็น)
6. Heading Tag
Heading Tag คือ HTML Tag ที่ช่วยให้ Google เข้าใจโครงสร้างเนื้อหาในหน้านั้น ๆ และทำให้ผู้อ่านรู้ว่าหัวข้อไหนเป็นหัวข้อหลักและหัวข้อไหนเป็นหัวข้อรองบ้าง ซึ่ง Heading Tag มีตั้งแต่ H1 ไปจนถึง H6 ด้วยกัน โดย H1 จะมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ H2 และ Heading อื่น ๆ ตามลำดับ
7. Internal Link
Internal Link คือลิงก์ของเว็บไซต์คุณที่เชื่อมโยงหน้าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ประโยชน์ของ Internal Link คือทำให้ผู้ใช้งานสามารถเดินทางไปยังหน้าอื่น ๆ ได้โดยง่าย ส่งผลให้มีการใช้งานบนเว็บไซต์นานขึ้น และช่วยให้ Google เข้าใจความเกี่ยวข้องของหน้าต่าง ๆ บนเว็บไซต์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์บนหน้าการค้นหาด้วย ทั้งนี้ การใส่ External Link (ลิงก์เว็บไซต์อื่น) ก็จัดอยู่ในการทำ On-Page SEO เช่นกัน แต่ไม่ได้มีความสำคัญเท่ากับ Internal Link
8. Mobile-Friendly (
ผู้ใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้งานผ่านมือถือเป็นหลัก และทาง Google เองก็ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่แสดงผลได้ดีบนมือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย ดังนั้น เราจึงต้องปรับปรุงเว็บไซต์ให้ง่ายต่อการใช้งานบนมือถือตามไปด้วย เช่น การใช้ Responsive Design, CSS Grid layout, Media queries หรือ Accelerated Mobile Pages เป็นต้น
สรุป
จบไปแล้วกับเทคนิคการทำ On-Page SEO จากแองก้า เราเชื่อว่าถ้าคุณปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำเหล่านี้ เว็บไซต์ของคุณจะต้องติดอันดับบน Google ในตำแหน่งที่ดีกว่าเดิมอย่างแน่นอน! อย่างไรก็ตาม คุณควรอัปเดตเว็บไซต์และมีการทำ On-Page SEO อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรทำและปล่อยทิ้งไว้เป็นปี ๆ เพราะ Google ชอบความสดใหม่เป็นที่สุด สุดท้ายนี้ อย่าลืมทำ Off-Page SEO หรือ Backlink เสริม และหมั่นตรวจสอบเว็บไซต์อยู่เสมอ เพื่อที่จะได้รู้ทันและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที!