คอนเสิร์ตของ 4 สาวเกิร์ลกรุ๊ปแถวหน้าของวงการเกาหลี จีซู, เจนนี่, โรเซ่ และ ลิซ่า ที่สั่นสะเทือนวงการเพลงทั่วโลกนับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2018 อย่างวง BLACKPINK กับคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า BLACKPINK Born Pink World Tour Live in Bangkok 2023  คอนเสิร์ตใหญ่ของ 4 สาวในรอบ 4 ปี ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7-8 มกราคม 2566 นี้ ณ สนามศุภชลาศัย

.

นับเป็นไอดอลเกาหลีวงแรก! ที่ประเดิมจัดคอนเสิร์ตใหญ่ต้อนรับปี 2023 ในบ้านเรา หลังจากที่ก่อนหน้านี้ช่วงปลายปี 2022  4 สาว BLACKPINK เดินสายเวิลด์ทัวร์ โดยสตาร์ทเริ่มในประเทศเกาหลีใต้ แล้วต่อด้วยประเทศแถบยุโรป อเมริกา และกำลังกลับมาที่ฝั่งเอเชีย โดยประเดิมที่ประเทศไทยเป็นที่แรก

.

Feed  จะชวนไปเจาะลึก สนามศุภชลาศัย ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานคอนเสิร์ตของสาวๆ ในครั้งนี้

นับจนถึงปัจจุบัน สนามศุภชลาศัย มีอายุ 82 ปีแล้ว มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตเดโค หรือ อลังการศิลป์ ที่เน้นการออกแบบเล่นกับเส้นสายแนวตั้งที่ชัดเจน ปัจจุบันมีความจุผู้ชมรวม 19,793 ที่นั่ง

สนามแห่งนี้ เคยจัดคอนเสิร์ตใหญ่มาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2536  นั่นคือ คอนเสิร์ตรอบโลก “Dangerous” ของ ไมเคิล แจ็คสัน ศิลปินป๊อปชื่อดัง ในช่วงทัวร์ภูมิภาคเอเชีย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1993 (พ.ศ. 2536) กับท่า “ลูบเป้า” ท่าเต้นอันเป็นเอกลักษณ์และเป็นตำนานกระทั่งทุกวันนี้

สำหรับประวัติศาสตร์คร่าวๆ ของสนามแห่งนี้   ข้อมูลจาก เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม บทความเรื่อง “วังใหม่ที่ปทุมวัน : ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม  “ความทรงจำอันเลือนราง” ที่กล่าวถึง สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ว่า  “ใน พ.ศ. ๒๔๗๗ สองปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) อธิบดีกรมพลศึกษา ผู้เป็นสมาชิกคนสำคัญในคณะราษฎร ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินที่ตำบลวังใหม่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างสนามกรีฑาสถานและโรงเรียนพลศึกษากลางขึ้นที่บริเวณวังใหม่ การก่อสร้างสนามกรีฑาสถานเริ่มขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ และเปิดใช้ได้บางส่วนใน พ.ศ. ๒๔๘๑ การก่อสร้างคงดำเนินต่อมาอีก ๓ ปีจนเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๕ สนามกรีฑาสถานได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงศุภชลาศัยสืบไป”

นอกจากนี้ ในพื้นที่ของสนามแห่งนี้  อยู่ในแขวงวังใหม่ หรือ ตำบลวังใหม่ ในอดีตซึ่ งมีที่มา จากการที่เคยเป็นสถานที่ตั้ง วังใหม่ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๒๔  เพื่อพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก อันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี หากสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นเสด็จทิวงคตเสียเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ วังใหม่จึงไม่เคยเป็นที่ประทับ และต่อมาในปลายรัชกาลจึงโปรดให้โรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการไปตั้งอยู่ที่วังนั้น

ในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย วังใหม่ที่ปทุมวันมีความสำคัญทั้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงในสถาปัตยกรรมไทยในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ และในการขยายตัวของพระนครสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงในคติธรรมเนียมการสืบราชสมบัติ จากแบบประเพณีโบราณมาเป็นระบบมกุฎราชกุมารอย่างตะวันตกอีกด้วย

อย่างไรก็ดีปัจจุบันนี้เรายังมีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมวังใหม่ เนื่องจากตัววังถูกรื้อทำลายลงโดยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ใน พ.ศ. ๒๔๗๙ เพื่อสร้างสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ คงเหลือร่องรอยของวังอยู่เพียงในชื่อตำบลวังใหม่ เขตปทุมวัน เท่านั้น

สนามศุภชลาศัย
หน้าสนามศุภชลาศัย
สนามศุภชลาศัย
บรรยากาศเตรียมคอนเสิร์ตแบลคพิ้งค์

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม บทความเรื่อง “วังใหม่ที่ปทุมวัน : ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม  “ความทรงจำอันเลือนราง”

ภาพโดย ณัฐวุฒิ วิเชียรรัมย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก