ปัญหาการจัดการขยะ เรื่องหนักอกของคนในเมืองใหญ่ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
เชื่อว่าที่ผ่านมา หลายคนคงไม่ได้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากนัก จนช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ผู้สมัครหลายคนได้พูดถึงปัญหาการต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมากลงไปจัดการขยะที่มากขึ้นๆ ทุกวัน
ขณะที่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ก็พูดถึงเรื่องนี้หลายครั้ง หลังได้รับการเลือกตั้ง

โรงกำจัดขยะอ่อนนุช กทม.

ทุ่มงบมาก แต่การจัดการขยะไม่มีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน กทม.ใช้งบประมาณมากถึงกว่า 12,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อจัดการปัญหาขยะ ซึ่งมากกว่างบประมาณที่จัดให้กับด้านการศึกษาซึ่งอยู่ที่ 4,000 ล้านบาทต่อปี หรือมากกว่ากัน 3 เท่า ส่วนหนึ่งมาจากการจัดเก็บและการนำไปกำจัดที่ไม่เป็นระบบ โดยเฉพาะเรื่องการแยกขยะ แม้จะมีการรณรงค์กันมาต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงเวลารถขยะมาเก็บตามบ้านเรือนก็นำขยะที่แยกไว้ไปเทรวมกันอยู่ดี (ส่วนที่จะแยกชัดเจน คือ ขยะมีพิษที่มีรถแยกเข้าไปรับต่างหาก)

เจ้าหน้าที่ กทม.แยกขยะ ภาพจาก ไลฟ์ชัชชาติ
ภาพจากไลฟ์ เพจ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 15 ก.ค. 2565

ครั้งหนึ่งตอนที่ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ไปไลฟ์ติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่เก็บขยะ เราจึงได้เห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ว่าหลังจากรถไปรับขยะตามบ้านแล้ว ต้องไปจอดกลางทางเพื่อที่เจ้าหน้าที่จะลงมาแยกขยะจัดตามกลุ่มอีกครั้งหนึ่งซึ่งก็ต้องใช้เวลาไม่น้อย และเมื่อขยะเปียกและขยะแห้งปะปนกันส่วนที่น่าจะนำกลับไปรีไซเคิลได้ เช่น พวกลังกระดาษก็เสียหายเพราะเปียกน้ำขยะจากเศษอาหารไปแล้ว

รถขยะ กทม. ไม่เทรวม
ภาพ : ประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร

วันประวัติศาสตร์ วันแห่งการเริ่มต้นนับหนึ่ง “ไม่เทรวม”


4 ก.ย. 65 เป็นวันที่ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ประกาศให้เป็นวันประวัติศาสตร์ของการเริ่มแยกขยะอย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มจาก 3 เขตนำร่อง คือ ปทุมวัน พญาไท หนองแขม ซึ่งคัดเลือกให้เป็นเขตต้นแบบจากลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน คือ มีทั้งพื้นที่กลางเมือง ใกล้เมือง และไกลเมือง และมีรูปแบบที่แตกต่างกันทั้งชุมชน ตลาดสด และออฟฟิศ คอนโดมีเนียม รวมทั้งพิจารณาจาก ขนาดพื้นที่, จำนวนประชากร, ปริมาณขยะ, จำนวนชุมชน, ประเภทชุมชน และระยะทางถึงศูนย์กำจัดขยะ

โดยจะรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่นำร่องแยกขยะเปียกที่เป็นเศษอาหารใส่ถุง แยกจากขยะแห้งทั่วไป จากนั้นจะจัดรถขยะเข้าไปรับ ซึ่งมีทั้งรถขยะแบบเดิม หรือ รถเก็บขนมูลฝอยแบบอัดขนาด 5 ตัน ที่ติดตั้งถังรองรับขยะเศษอาหารที่ท้ายรถเพิ่มเติม 1 ถัง พร้อมถังสำรองติดตั้งบริเวณคอรถอีกจำนวน 2 ถัง ซึ่งรถแบบนี้จะจัดเก็บทั้งขยะทั่วไปและขยะเศษอาหารไปพร้อมกัน

กับอีกแบบคือ รถขยะเปิดข้าง ขนาด 1.5 ตัน ที่จัดเก็บขยะเศษอาหารโดยเฉพาะ ซึ่งจะวิ่งคนละเวลากับการเก็บขยะทั่วไป ส่วนขยะเศษอาหารที่จัดเก็บได้สำนักงานเขตรวบรวมส่งโรงงานกำจัดมูลฝอยด้วยเทคโนโลยีเชิงกล-ชีวภาพ อ่อนนุซ (Mechanical and Biological Waste Treatment : MBT) เพื่อหมักเป็นก๊าซผลิตไฟฟ้า

จาก 3 เขต ตั้งเป้าขยายให้ครบ 50 เขต

ในพื้นที่ 3 เขตนำร่อง เขตปทุมวัน คือตัวแทนของเขตเมืองที่มีพื้นที่น้อยแต่ขยะเกินค่าเฉลี่ย เขตพญาไท คือตัวแทนของเขตที่ต่ำกว่ามาตรฐานค่าเฉลี่ยทุกเกณฑ์ เขตหนองแขม คือตัวแทนของเขตที่เกินมาตรฐานค่าเฉลี่ยทุกเกณฑ์ ทั้ง 3 เขตจะเริ่มจากเฉพาะโซนที่กำหนด ก่อนจะขยายจนเต็มทั้งพื้นที่ โดยกำหนดแผนงานชัดเจน 3 ระยะ

ระยะที่ 1 (ก.ย.-ต.ค. 65) ช่วงนำร่อง กำหนด 1 เขต 1 เส้นทาง จากนั้น ระยะที่ 2 (พ.ย.-ธ.ค. 65) จะขยายเป็นเก็บทุกเส้นทางในระดับแขวง และระยะที่ 3 (ม.ค.- มี.ค.66) จะขยายทั่วทั้งพื้นที่ 3 เขตนำร่อง เมื่อได้ข้อมูลจากการปฏิบัติจริงแล้ว กรุงเทพมหานครจะนำไปพัฒนาและขยายผลการดำเนินการ โดยภายในปี 2566 จะเริ่ม 3 เส้นทางนำร่องและระดับแขวงในพื้นที่อีก 47 เขตที่เหลือต่อไป

ภาพ : ประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร

“ไม่เทรวม” จะสำเร็จได้ ต้องได้ประชาชนร่วมมือ

แม้โครงการจะดูน่าสนใจ และน่าจะเป็นความหวังในการนับหนึ่ง แต่คำถามสำคัญคือ ประชาชน จะเอาด้วยไหม

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวถึง การสร้างแรงจูงใจในการแยกขยะว่า มีแนวคิดว่าหากมีการแยกขยะอย่างจริงจัง เราจะลดอัตราค่าเก็บขยะให้ หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบมีปุ๋ยหมักมอบคืนผู้ที่่ร่วมแยกให้ทุกเดือน หรือวิธีการอื่น เช่น หากใครแยกขยะก็จะมีสติกเกอร์ติดหน้าบ้านว่าบ้านหลังนี้ร่วมมือในการพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น ถึงแม้จะไม่ใช่ตัวเงินหรือสิ่งของแต่เป็นความภาคภูมิใจว่าเราเป็นร่วมที่ทำให้เมืองดีขึ้น

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไม่เทรวม
ภาพ : ประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร

“หลายประเทศก็ไม่ได้มี Incentive ให้ แต่ใช้วิธีถ้าคุณไม่แยก คุณต้องเสียเงินมากขึ้น เพราะตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย Polluter pays principle หรือ PPP ใครทำมลพิษเยอะก็ต้องจ่ายเงินเยอะ อนาคตเมื่อระบบเข้าเต็มที่อาจมีคนบางกลุ่มที่ไม่ยอมแยก คุณก็ต้องจ่ายค่าเก็บขยะแพงขึ้น สุดท้าย กทม.ก็ต้องไปออกแบบแรงจูงใจให้เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้คนมาร่วมกับเราด้วย”

ส่วนเรื่องเป้าหมายรูปธรรมเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้จำนวนมากอย่างที่ตั้งต้นไว้ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ระบุว่า “ถ้าแยกขยะแล้วค่าใช้จ่ายลดลงเราก็จะสามารถนำเงินงบประมาณตรงนี้ไปช่วยเหลือเด็ก หรือผู้สูงอายุได้อีก ตอนนี้การเปลี่ยนขยะให้เป็นทรัพย์สินทั้งโลกเค้าทำกันมาแล้ว ไม่มีเวลาไหนที่จะเหมาะเท่าเวลานี้แล้ว ต้องเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ เริ่มจริงจังทั้งเอกชน รัฐและประชาชน ไม่ได้ทำแค่เอาหน้าในวันนี้ แค่จัดอีเวนต์ ต้องตามดูความก้าวหน้าทุกอาทิตย์และลงไปแก้ปัญหาอย่างจริงจัง”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก