ท่ามกลางปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 ที่นับวันจะยิ่งรุนแรงและยาวนานมากขึ้นเรื่อยๆ กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองที่มีค่ามลพิษทางอากาศสูงติดอันดับโลกอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้

ไม่ใช่แค่มลพิษจากอากาศเท่านั้นที่คนไทยต้องเผชิญ ข้อมูลจากเวทีเสวนา “ฆาตกรที่มองไม่เห็น : คนไทยตายปีละเท่าไรจากควันบุหรี่มือสอง” พบว่าอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองของคนไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศอยู่ในระดับที่สูงมาก ข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2562) คนไทยมากถึง 70% ได้รับควันบุหรี่มือสอง ขณะที่เมื่อเทียบกับผลสำรวจชาวอังกฤษในปีเดียวกันพบว่าได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองเพียง 30% เท่านั้น

อินโฟกราฟิกผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง

หากเทียบกับประเทศอื่นๆ อีก 57 ประเทศพบว่า ผู้หญิงไทยอายุ 15-49 ปี ได้รับควันบุหรี่มือสองสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก นับเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างมากเพราะงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารมะเร็งของอังกฤษปี 2567 ชี้ว่าการสูดควันบุหรี่มือสองเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูงถึง 1.24 เท่า ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มตามปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง อีกทั้งมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย

ผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองยังคร่าชีวิตชาวไทยมากถึง 20,688 รายต่อปี เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง 9,080 ราย , โรคหัวใจขาดเลือด 4,223 ราย , โรคมะเร็งปอดและหลอมลม 1,972 ราย และโรคอื่นๆ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงไทยไม่ใช่กลุ่มเดียวที่ได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสองเพราะ “เด็ก” เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองมากที่สุดโดยเฉพาะเด็กอายุระหว่าง 1-5 ปี ที่มีผู้สูบบุหรี่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคระบบหายใจส่วนล่างเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า และเมื่อนำเส้นผมของเด็กไปตรวจยังพบว่ามีปริมาณสารนิโคตินซึ่งเป็นสารพิษในบุหรี่สูงกว่าค่ามาตรฐาน

บุหรี่ไฟฟ้า ควันบุหรี่มือสอง second hand smoking
ภาพประกอบจาก Unsplash

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ระบุว่าแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ แต่การบังคับใช้กฎหมายยังทำได้ไม่ดี องค์การอนามัยโลกให้คะแนนประเทศไทยอยู่ที่ 6 คะแนนเต็ม 10 อีกทั้งปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นที่นิยมมากขึ้น และมีการนำมาสูบในที่สาธารณะหรือเผยแพร่ในสื่อทั้งที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งควันมือสองจากบุหรี่ไฟฟ้าก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้านั้นประกอบด้วยสารนิโคติน , PM 2.5 , โลหะหนัก และสารก่อมะเร็ง

แม้จะมีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนนักสูบหน้าใหม่ให้เห็นอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง แต่จำนวนผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ากลับไม่ได้ลดลง ข้อมูลการสำรวจสถานการณ์การสูบบุหรี่ พ.ศ. 2565 โดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากถึง 709,677 คน โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 25-39 ปี มีจำนวน 345,049 คน รองลงมาคือกลุ่มอายุ 20-24 ปี จำนวน 189,460 คน และกลุ่มอายุ 40-59 ปี จำนวน 84,973 คน

สอดคล้องกับข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า ในปี พ.ศ. 2565 เด็กนักเรียนอายุ 13-15 ปี สูบบุหรี่ฟ้าอยู่ที่ 17.6% เพิ่มขึ้นถึง 5.3 เท่า จากจำนวน 3.3% ในปี พ.ศ. 2558 ส่วนหนึ่งที่ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นที่นิยมในกลุ่มคนอายุน้อยเนื่องจากหาซื้อได้ง่ายผ่านช่องทางออนไลน์ที่มาพร้อมกับโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย และความเข้าใจผิดที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่อันตราย

ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 กำหนดว่า บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสินค้าที่ห้ามขายหรือให้บริการ ซึ่งกำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้ที่กระทำผิดเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขาย ต้องรับโทษเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณีผู้ครอบครองหรือรับไว้ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้า จะมีความผิดตามมาตรา 246 วรรคหนึ่ง ของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายว่าด้วยการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
ภาพประกอบจาก Unsplash

เมื่อการบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวดและการเตือนอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ทำให้นักสูบหน้าใหม่เกิดความยั้งคิดก่อนริเริ่มเข้าสู่เส้นทางนี้ กมธ.สภาฯ เสียงข้างมากเห็นด้วยกับการเสนอให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แต่จะต้องถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้จูงใจเยาวชน นพ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎรเพื่อศึกษากฎหมายและมาตรการควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เผยว่า กมธ.วิสามัญฯ ได้เสนอ 3 แนวทางในการจัดการบุหรี่ไฟฟ้า

  1. คงมาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าในทุกประเภทอย่างเข้มงวดเหมือนปัจจุบัน พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมและรัดกุมยิ่งขึ้น
  2. การทำให้ผลิตภัณฑ์ Heated Tobacco Products ถูกกฎหมาย แนวทางนี้เสนอให้นำผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ให้ความร้อน หรือ Heated Tobacco Products ขึ้นมาถูกกฎหมาย แต่ยังคงแบนบุหรี่ไฟฟ้าประเภทไอระเหย (Vaping) ที่ได้รับความนิยมในหมู่เยาวชน
  3. การยอมรับบุหรี่ไฟฟ้าทุกประเภทให้ถูกกฎหมาย แนวทางนี้เสนอให้นำบุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ให้ความร้อนขึ้นมาบนดิน แต่จะต้องถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด โดยห้ามแต่งสีหรือกลิ่นที่อาจจูงใจเยาวชน

ผลการรวบรวมความเห็นของ กมธ. พบว่า กมธ. ส่วนใหญ่ 21 คน สนับสนุนแนวทางที่ 3 ตอนนี้รายงานได้นำส่งให้สภาผู้แทนราษฎรแล้ว และรอบรรจุเข้าสภาฯ รับทราบเพื่อลงมติเฉพาะที่เป็นข้อสังเกตต่างๆ แล้วจึงส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

ส่วนตัวเชื่อว่าการแบนบุหรี่ไฟฟ้าตลอด 10 ปีของประเทศไทยไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย ควรเอาขึ้นมาบนดิน ใช้กฎหมายควบคุม และยิ่งได้ไปศึกษาแลกเปลี่ยนกับจีน ได้เห็นกระบวนการผลิต การบังคับใช้กฎหมาย การไปศึกษาดูงานทำให้เห็นมิติต่างๆ ที่หลากหลาย จะมองในด้านมิติสุขภาพอย่างเดียวไม่ได้ มันมีหลายๆ มิติ มีมิติทางเศรษฐกิจ สังคม ทางกฎหมายอีกหลากหลายที่ต้องนำเข้ามาพิจารณาด้วย

ทศพร ทองศิริ โฆษก กมธ. วิสามัญ สภาผู้แทนราษฎรเพื่อศึกษากฎหมายและมาตรการควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย

ท้ายที่สุดประเด็นนี้กลายเป็นโจทย์ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันหาทางออกและวางแนวทางป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่มือสองโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่กลายมาเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และเมื่อถึงเวลาบรรจุวาระพิจารณาบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมายเข้าสภาฯ เชื่อว่าจะกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เปิดโอกาสให้ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

แหล่งที่มาข้อมูล

coffee lover and caffeine addict หลงใหลในการเดินทาง เรียนรู้ประสบการณ์ผ่านตัวหนังสือ มองโลกผ่านกล้องถ่ายภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก