จากกรณีรถบัสโดยสาร 2 ชั้นพานักเรียนพร้อมด้วยคณะครูจากโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จังหวัดอุทัยธานี เป็นนักเรียน 38 คน ครู 6 คน และคนขับรถ 1 คน รวม 45 คน มาทัศนศึกษาที่จังหวัดนนทบุรี ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าย่านรังสิตทำให้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย เป็นเหตุสลดที่สะเทือนใจคนไทยในวันนี้

นอกจากบาดแผลทางกายแล้วเหตุการณ์ลักษณะนี้ยังสร้างบาดแผลทางใจให้กับผู้ประสบเหตุซึ่งครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน หรือที่เรียกว่า “PTSD” อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังเผชิญเหตุสะเทือนใจซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

PTSD คืออะไร?

PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) คือ โรคเครียดที่เกิดขึ้นภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังเผชิญเหตุการณ์ที่คุกคามและกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง หรือการเผชิญเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งสามารถเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม หมายถึงเป็นได้ทั้งในฐานะผู้ประสบเหตุเอง เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ เป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์ เป็นญาติใกล้ชิดกับผู้ประสบเหตุ และเป็นผู้ที่รับรู้รายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

“พญ.ชนนิภา บุตรวงศ์” จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น อธิบายความแตกต่างของอาการ PTSD ที่เกิดขึ้นกับเด็กและผู้ใหญ่คือปัญหาเรื่องการสื่อสารและการแสดงออก หากผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่สามารถบอกได้อย่างตรงไปตรงมาว่ารู้สึกอย่างไรและมีอาการผิดปกติอย่างไรบ้าง แต่สำหรับผู้ป่วยเด็กแล้วแม้จะมีการแสดงอาการบางอย่างคล้ายกับผู้ใหญ่แต่กลับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะสื่อสารสิ่งที่รู้สึกออกมา ผู้ปกครองจึงต้องสังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด

อาการของผู้ป่วย PTSD

  • รู้สึกเหมือนเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นซ้ำ
  • พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ
  • อารมณ์หรือความคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ
  • ตื่นตัวมากเกินไป
  • มีอาการร่วมกับโรคอื่น เช่น โรคซึมเศร้า ติดแอลกอฮอล์

แนวทางการดูแลรักษา

การรักษาผู้ป่วย PTSD แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การบำบัดทางจิตใจ ช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายร่างกายและอารมณ์ ฝึกจัดการกับความรู้สึกกล้าที่จะเผชิญกับสิ่งที่กลัวแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจใช้วิธีวาดภาพระบายสีหรือใช้งานศิลปะเป็นสื่อให้เด็กแสดงความรู้สึกต่างๆ ออกมา และควรให้ผู้ปกครองเข้าร่วมด้วยเพื่อทำหน้าที่คอยสังเกตอาการของเด็ก ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ อีกแนวทางหนึ่งคือ การรักษาด้วยยา จิตแพทย์อาจให้ยาในกลุ่มแก้ซึมเศร้าโดยจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ยาจึงจะเริ่มออกฤทธิ์ แต่ต้องรับประทานต่อเนื่องควบคู่กับการทำจิตบำบัดไปด้วย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก