การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ (Olympic Games) หนึ่งในการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี มีนักกีฬาจากประเทศทั่วโลกเข้าร่วมแข่งขันมากกว่า 200 ประเทศ เพื่อชิงความเป็นหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือนจุดสูงสุดของอาชีพนักกีฬาก็ว่าได้ ล่าสุดสำหรับการแข่งขันโอลิมปิก ปารีส 2024 จะมีนักกีฬาเข้าร่วมประมาณ 14,250 คน

ตลอดระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ของการแข่งขันที่ดุเดือดเข้มข้น นอกจากสถิติใครจะเป็นเจ้าเหรียญทองแล้ว อีกหนึ่งสถิติที่ผู้คนต่างสนใจคือ จำนวนถุงยางอนามัยที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee : IOC) แจกให้กับนักกีฬาและทีมงานในแต่ละปีมีจำนวนเท่าใด และเหตุใดมหกรรมการแข่งขันกีฬาของมวลมนุษยชาติจึงกลายเป็นมหกรรมเล่นเสียวระดับโลก

ถ้าอยากรู้ให้ถึงแก่นก็ต้องฟังจากปากของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริง “Susen Tiedtke” อดีตนักกีฬากระโดดไกลทีมชาติเยอรมนีผู้เคยเข้าแข่งขันโอลิมปิก 2 ครั้ง เล่าเรื่องซุบซิบใต้เตียงที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้านนักกีฬาแบบออกรสว่า “โอลิมปิกคือการรวมตัวนักกีฬาชั้นนำจากทั่วโลกมาไว้ที่เดียวกันภายใต้สภาพแวดล้อมที่กดดันสุดขีดเต็มไปด้วยความเครียดทางร่างกายและจิตใจ”

“เมื่อการแข่งขันจบลงบรรดานักกีฬาที่อยู่ในจุดพีคสุดจึงต้องการหาที่ระบายความเครียดเหล่านั้นออกมา บางคนก็ต้องการหาที่ปลดปล่อยพลังงานที่เหลืออยู่ให้หมด บรรยากาศภายในหมู่บ้านนักกีฬาจึงเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน มีงานปาร์ตี้กินดื่มกันอย่างเต็มที่และแน่นอน Sex ก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น”

กิจกรรมเข้าจังหวะของบรรดานักกีฬาเหล่านี้ก็ถึงพริกถึงขิงเอาจริงเอาจังไม่แพ้เวลาลงแข่งในสนาม “บางครั้งคุณแทบจะนอนไม่ได้เลย เพราะเสียงจากห้องข้างๆ ดังทะลุเข้ามา” อดีตนักกีฬากระโดดไกลทิ้งท้าย

Paris 2024 Olympics
โลโก้ Paris 2024 Olympics

แต่ใช่ว่า IOC จะไม่รู้ว่ามีมหกรรมเล่นเสียวภายในหมู่บ้านนักกีฬา ผู้จัดงานจึงพยายามเข็นวิธีป้องกันต่างๆ ออกมา เช่น เตียงนอนป้องกันเล่นเสียว (anti-sex bed) ที่ทำมาจากกระดาษแข็ง หรือจะเป็นการแจกถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่งกิมมิคของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในยุคหลัง

การแจกถุงยางอนามัยในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกิดขึ้นครั้งแรกที่โอลิมปิก โซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อปี 1988 ซึ่งเป็นช่วงที่โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ (AIDS) ระบาดหนัก เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ถุงยางอนามัยป้องกันโรคติดต่อ HIV และ AIDS นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงกลายเป็นธรรมเนียมที่ IOC แจกถุงยางอนามัยมาอย่างต่อเนื่อง

สถิติที่น่าสนใจการแจกถุงยางอนามัยในกีฬาโอลิมปิกเกมส์

ปี 1988 กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 8,500 ชิ้น

ปี 1992 บาร์เซโลน่า ประเทศสเปน จำนวน 90,000 ชิ้น

ปี 1996 แอตแลนตา ประเทศสหรัฐฯ จำนวน15,000 ชิ้น

ปี 2000 ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย จำนวน 90,000 ชิ้น

ปี 2004 เอเธนส์ ประเทศกรีซ จำนวน 130,000 ชิ้น

ปี 2008 ปักกิ่ง ประเทศจีน จำนวน 100,000 ชิ้น

ปี 2012 ลอนดอน ประเทศอังกฤษ จำนวน 150,000 ชิ้น

ปี 2016 ริโอ ประเทศบราซิล จำนวน 450,000 ชิ้น

ปี 2020 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 150,000 ชิ้น

ปี 2024 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 220,000 – 300,000 ชิ้น

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก